หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีเซเลนสกีของรัสเซีย ลงนามอย่างเป็นทางการขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู เขาได้เข้าร่วมประชุมฉุกเฉินของอียูเมื่อวานนี้ ผ่านทางวิดีโอลิ้งค์ โดยผู้นำยูเครนได้เรียกร้องให้อียูพิสูจน์ให้เห็นว่า อียูไม่ได้ปล่อยให้ยูเครนอยู่อย่างโดดเดี่ยว
การประชุมฉุกเฉินดังกล่าวมีขึ้น หลังเมื่อวานนี้ ผู้นำของ 8 ชาติ สมาชิกสหภาพยุโรป ประกอบไปด้วย สโลวะเกีย สโลวีเนีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เชค บัลแกเรีย และโปแลนด์
EU อายัดทรัพย์บอร์ดเอฟเวอร์ตันชาวรัสเซีย
ผู้เชี่ยวชาญมองเจรจาไร้ข้อสรุปไม่เกินคาด
ยื่นจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้เริ่มการพิจารณารับยูเครนเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยทันที
ด้านนางเออร์ซูลา วอน เดอ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า การตัดสินใจของประธานาธิบดีปูตินที่บุกยูเครนนั้น ส่งผลทำให้ประเทศต่างๆสามัคคีกันและต่อต้านรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายูเครนจะได้รับการยอมรับถ้าดูจากการประชุมครั้งนี้ เพราะบรรดาสมาชิกได้นำธงชาติยูเครนมาชู และสวมเสื้อที่มีข้อความว่า #standwithUkraine และบางคนก็ติดผ้าพันคอ หรือโบว์สีเหลือง น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีธงชาติของยูเครน แต่กระบวนการรับสมาชิกของอียูนั้นค่อนข้างใช้เวลายาวนานและยากพอสมควรเลยทีเดียว
สถานการณ์การสู้รบในยูเครนในเวลานี้ ทำให้มีประชาชนจำนวนมากต้องอพยพออกจากยูเครน สหประชาชาติคาดการณ์ว่า ตัวเลขผู้อพยพอาจเกินกว่าห้าแสนคนไปแล้ว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ ทางสหประชาชาติได้เรียกร้องนานาประเทศร่วมกันจัดสรรเงินทุนฉุกเฉิน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือชาวยูเครนที่ได้รับผลกระทบจากการรุกรานโดยรัสเซีย
มาร์ติน กริฟฟิธส์ รักษาการเลขาธิการสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการระดมทุนฉุกเฉิน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องหลบหนีภัยสงครามจากยูเครนไปต่างประเทศ รวมถึงประชาชนที่ยังอยู่ภายในประเทศ โดยความช่วยเหลือก้อนดังกล่าวจะประกอบไปด้วยสองส่วน คือหนึ่ง ความช่วยเหลือเร่งด่วนระยะเวลาสามเดือนสำหรับสถานการณ์ภายในประเทศยูเครน และสอง คือ แผนการรับมือสถานการณ์นอกชายแดนยูเครน
ด้านนายฟิลิปโป แกรนดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับรายงานล่าสุด มีประชาชนกว่า 150000 คนที่อพยพออกจากยูเครนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้เวลานี้ จำนวนผู้อพยพไปอยู่ที่ราว 677,000 คนแล้ว
ส่วนเมื่อวานนี้ เจนนาดี กาติลอฟ ทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติในเจนีวา ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของเลบานอน ที่ได้รับการออกอากาศเมื่อวานนี้ ระบุว่า รัฐบาลยูเครนนั้น ตัดสินใจมาแล้วที่จะไม่ประนีประนอม และรัฐบาลรัสเซียไม่ได้ไปตัดสินใจในส่วนของยูเครน เพื่อจะหาทางแก้ปัญหาระหว่างสองประเทศ โดยรัสเซียนั้นยืนยันว่าสนับสนุนการทูตบนพื้นฐานของการเคารพกันในจุดยืนของทุกประเทศและความเท่าเทียม แต่ว่านับจนถึงขณะนี้ รัสเซียยังมองไม่เห็นจุดนี้เลย
ขณะเดียวกัน การประชุมใหญ่ในวาระพิเศษของสหประชาชาติจะมีการให้ชาติสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศแสดงจุดยืนของประเทศตนเองก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าอย่างเร็วที่สุดคือ ในวันพุธนี้ที่ประชุมจะมีการลงมติเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซียตลอดจนเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียยุติการสู้รบและถอนกำลังออกมา ซึ่งในระหว่างที่นายเซอร์เก้ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียพูด ผู้แทนของหลายประเทศก็ได้ “วอล์คเอ้าท์” หรือเดินออกมาจากที่ประชุมเพื่อแสดงการประท้วงเชิงสัญลักษณ์
การลงมติดังกล่าวก็จะคล้ายกับเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกร่างมติเรียกร้องให้รัสเซียยุติการทำสงคราม แต่ในครั้งนั้น รัสเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกถาวรและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสิทธิ์วีโต้หรือยับยั้งการออกมติ
อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ จะไม่มีประเทศใดสามารถใช้สิทธิ์วีโต้ในการประชุมของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือไอซีเจ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเฮก เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ จะจัดการพิจารณาต่อสาธารณชนในวันจันทร์ของสัปดาห์หน้า ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นในยูเครน
โดยแถลงการณ์ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อวานนี้ ทางไอซีเจระบุว่า ยูเครนได้ตอบโต้ว่ารัสเซียได้อ้างอย่างไม่มีข้อเท็จจริงว่าเกิดการฆ่าล่างเผ่าพันธุ์ขึ้นในแคว้นโดเนสตก์ และลูฮันสก์ และหลังจากนั้นรัสเซียก็ประกาศภารกิจทางกองทัพต่อยูเครนในเวลาต่อมา โดยยูเครนปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นในยูเครน และกล่าวหารัสเซียกลับว่า กำลังวางแผนที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในยูเครน