เมื่อวันเสาร์ (5 มี.ค.) นาฟตาลี เบนเน็ตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้เดินทางไปเยือนมอสโก ประเทศรัสเซียอย่างน่าประหลาดใจ จนหลายฝ่ายสันนิษฐานว่า อิสราเอลกำลังรับบทบาท “ตัวกลางเจรจา” ระหว่างรัสเซียและยูเครน
แต่การวางตัวเองเป็นตัวกลางเจรจาของอิสราเอลนี้ อาจเหมือนกับการลงไปในสนามที่มีแต่กับระเบิด โดยอาศัยว่ามีความสัมพันธ์กับรัสเซียในการประสานงานด้านความมั่นคงในซีเรียก่อนหน้านี้
ยูเครนส่งสัญญาณถอดใจ ไม่ดึงดันเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตแล้ว
ผู้นำยูเครน ลั่นพร้อมสู้ถึงที่สุด แม้ส่งสัญญาณไม่ดึงดันขอเข้านาโต
วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน อาจทำราคาอาหารโลกไต่สู่ระดับ “แพงนรก”
ความเสี่ยงของอิสราเอลคือ ไม่สามารถทำให้ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน โมโหได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่ชัดเจนว่าความพยายามดังกล่าวนี้จะเกิดผลหรือไม่
แต่ความเสี่ยงนี้ก็เป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า “High Risk High Return (เสี่ยงมาก ก็ได้กำไรมาก)” อยู่ เพราะหากเบนเน็ตต์ประสบความสำเร็จในการหยุดยั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กำลังดำเนินอยู่ ก็จะทำให้สถานะของเบนเน็ตต์กลายเป็น “วีรบุรุษ”
นอกจากนี้ ยังอาจสร้างภาพลักษณ์จุดยืนที่ดีของอิสราเอลได้ด้วย หลังจากอิสราเอลถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษเกี่ยวกับมาตรการทางทหารต่อชาวปาเลสไตน์
เบนเน็ตต์เพิ่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำอิสราเอลเมื่อปีที่แล้ว ก่อนนี้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายตำแหน่งในอดีต แต่มักถูกติว่าขาดเสน่ห์ความเป็นผู้นำและประสบการณ์ในระดับนานาชาติ การเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระหว่างรัสเซียและยูเครน จึงเป็นบททดสอบที่เขาไม่เคยเจอมาก่อน
4 เงื่อนไขจากรัสเซีย ชี้หากยูเครนทำได้ พร้อมหยุดสงครามทันที
เมื่อสงครามรัสเซีย-ยูเครนเริ่มขึ้น เบนเน็ตต์ถูกฝ่ายค้านในประเทศโจมตี เพราะไม่ได้ออกมาตำหนิหรือคว่ำบาตรการกระทำของรัสเซีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการเสียพันธมิตรในชาติตะวันตกไป
ในขณะที่เบนเน็ตต์แสดงการสนับสนุนชาวยูเครน แต่เขาก็ไม่ได้ประณามการรุกรานของรัสเซียเช่นกัน
ขณะที่การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกเพิ่มขึ้น เบนเน็ตต์ยังคงติดต่อกับทั้งปูตินและเซเลนสกี และเริ่มไกล่เกลี่ยระหว่างทั้งสองฝ่าย ด้วยการไปเยือนมอสโก เขากลายเป็นผู้นำชาวตะวันตกเพียงคนเดียวที่ได้พบกับประธานาธิบดีรัสเซียตั้งแต่สงครามปะทุ โดยก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือน ก.พ. ก่อนสงครามปะทุ มี เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และโอลาฟ ชอลซ์ ที่เข้าพบปูติน
เอสเธอร์ โลปาติน ผู้เชี่ยวชาญด้านยุโรป มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ อิสราเอล ให้ความเห็นว่า “เบนเน็ตต์กำลังสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ ... นี่คือคนที่ต้องทนทุกข์กับผลสำรวจความเห็น คนที่เผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนมาโดยตลอด ปรากฎว่าเขากำลังก้าวออกมาพยายามสร้างปาฏิหาริย์”
อิสราเอลเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งรัสเซียและยูเครน ก่อนหน้านี้ได้ส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 100 ตันให้กับฝ่ายหลัง และได้ประกาศว่าจะจัดตั้งโรงพยาบาลภาคสนามที่นั่น และด้วยความที่มีประชากรชาวยิวในยูเครนอยู่กว่า 200,000 คน ก็ทำให้ยูเครนมีความสัมพันธ์กับอิสราเอลที่ดี
ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับรัสเซียเป็นไปในเชิงกลยุทธ์มากกว่า โดยอิสราเอลพึ่งพารัสเซียในการประสานงานด้านความมั่นคงในซีเรียซึ่งมีฐานทัพรัสเซียอยู่ โดยพื้นที่ในซีเรียนี้ อิสราเอลเชื่อว่ามีคลังเก็บอาวุธของศัตรูอิสราเอลตั้งอยู่
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่า หากอิสราเอลต้องการไกล่เกลี่ยให้สำเร็จ อิสราเอลจะต้องรักษาตำแหน่งที่เป็นกลาง แยกตัวจากตะวันตก อย่าใกล้ชิดเกินไป แม้ในอนาคตการโจมตีจากรัสเซียจะทวีความรุนแรงขึ้นก็ต้องนิ่งเฉยไว้ เพราะหากเคลื่อนไหวผิดพลาด ความสัมพันธ์กับปูตินอาจเปลี่ยนไป และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่ขยายวงกว้างกว่าเดิม เพราะการที่รัสเซียจะมองว่า “อิสราเอลเป็นหุ่นเชิดของชาติตะวันตกที่ต้องการให้เขาการ์ดตกหรืออ่อนข้อ” ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว
หากถามว่าอิสราเอลมีโอกาสประสบความสำเร็จในการยุติสงครามแค่ไหน ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากกลับจากมอสโก เบนเน็ตต์บอกคณะรัฐมนตรีของเขาว่า นี่เป็นหน้าที่ทางศีลธรรมของอิสราเอลที่ต้องก้าวเข้ามาไกล่เกลี่ย “แม้ว่าโอกาสจะไม่สูงนัก”
เวรา มิคลิน-ชาพีร์ อดีตเจ้าหน้าที่สภาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอล เตือนว่าอิสราเอลไม่มีเครื่องมือทางการทูตในการไกล่เกลี่ยวิกฤตที่ซับซ้อนเช่นนี้ได้อย่างเหมาะสม แม้แต่ความพยายามของฝรั่งเศสและตุรกี ผู้เล่นที่ทรงอำนาจกว่าในระดับสากล ก็ยังล้มเหลวในการยุติความขัดแย้ง
ผู้นำยูเครน ลั่นพร้อมสู้ถึงที่สุด แม้ส่งสัญญาณไม่ดึงดันขอเข้านาโต
ด้าน บารัค ราวิด นักวิจารณ์เขียนบนเว็บไซต์ข่าวของ Israeli Walla News ว่า “ในด้านหนึ่ง เบนเน็ตต์ได้ยกระดับสถานะของเขาในชั่วข้ามคืน และได้รับคะแนนทางการเมืองมากมายในอิสราเอล แต่ในอีกทางหนึ่ง เขากำลังเสี่ยงอย่างมาก ไม่เพียงแต่สำหรับตัวเขาเองในฐานะนักการเมือง แต่สำหรับรัฐอิสราเอลและจุดยืนของประเทศในระดับโลกด้วย ... นายกรัฐมนตรีของเราก้าวลงไปลุยในบ่อโคลนความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยไม่รู้เลยว่ามันลึกแค่ไหน”
เรียบเรียงจาก AP
ภาพจาก AFP