ยูเอ็นเผย มนุษย์ทำให้ 40% ของผืนดินทั่วโลกอยู่ในภาวะ “เสื่อมโทรม”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สหประชาชาติชี้ 40% ของผืนดินทั่วโลกอยู่ในภาวะ “เสื่อมโทรม” สาเหตุหลักมาจากการผลิตอาหารของมนุษย์

ข้อมูลล่าสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ความเสียหายที่มนุษย์กระทำต่อผืนแผ่นผืนดินทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยขณะนี้ผืนดินทั่วโลกมากกว่า 40% ถูกจัดว่าอยู่ในภาวะ “เสื่อมโทรม” และสร้างผลกระทบต่อผู้คนกว่าครึ่งโลก

“ผืนดินเสื่อมโทรม (Degraded Land)” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับผืนดินที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกผลาญใช้จนหมด ความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินลดลง ขาดน้ำความชุ่มชื้น ขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่มีต้นไม้ เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วโลกของเราขณะนี้

"อาหาร-พลังงาน" แพงกันไปยาว ๆ 3 ปี ธนาคารโลกชี้เสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

น้ำแข็งละลายที่ไอซ์แลนด์ แต่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นที่อีกฟากของโลก

“โอกาสสุดท้ายในการลดโลกร้อน” ต้องลดระดับการปล่อยคาร์บอนให้ได้ใน 3 ปี

หลายคนคิดว่า ภาพของผืนดินที่เสื่อมโทรม จะต้องเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ป่าฝนที่คนตัดไม้ไปจนหมด หรือพื้นที่ในเมืองเท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว แม้แต่พื้นที่ที่เราเห็นว่าเป็นสีเขียว มีต้นไม้ แต่หากมีการทำเกษตรที่ไม่เหมาะสมหรือตัดพืชพรรณในธรรมชาติอย่างหนัก ก็อาจเกิดภาวะผืนดินเสื่อมโทรมได้เช่นกัน

ผลกระทบหลักของการที่ผืนดินเสื่อมโทรมนี้ จะทำให้การปลูกอาหารบนผืนดินเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผืนดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วและทรัพยากรน้ำหมดลง

ผืนดินที่เสื่อมโทรมยังสามารถก่อให้เกิดการสูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์ และอาจทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น เพราะผืนดินมีความสามารถในการดูดซับและเก็บคาร์บอนลดน้อยลง

ความเสียหายที่เกิดกับผืนดินทั่วโลก ส่วนใหญ่มาจากภาคการผลิตอาหาร และการบริโภคสินค้าอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า

ประเด็นหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ ความเสื่อมโทรมของผืนดินส่วนใหญ่พบได้มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา แต่ต้นเหตุจริง ๆ กลับมาจากการบริโภคที่มากเกินไปของประเทศที่ร่ำรวย เช่น ประเทศร่ำรวยบริโภคเนื้อสัตว์ที่ต้องใช้ที่ผืนดินและทรัพยากรของประเทศกำลังพัฒนาในการเลี้ยง

UN ระบุว่า หากปราศจากการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ความเสื่อมโทรมของผืนดินจะแผ่ขยายออกไปอีก และภายในปี 2050 พื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับทวีปอเมริกาใต้จะเสื่อมโทรมเพิ่ม

อิบราฮิม เทียว เลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านภาวะผืนดินแปรสภาพเป็นทะเลทราย กล่าวว่า “ความเสื่อมโทรมของที่ผืนดินส่งผลกระทบต่ออาหาร น้ำ คาร์บอน และความหลากหลายทางชีวภาพ มันคือการลดจีดีพี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ลดการเข้าถึงน้ำสะอาด และทำให้ปัญหาความแห้งแล้งเลวร้ายลง”

เขาบอกว่า การฟื้นฟูที่ผืนดินที่เสื่อมโทรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรเป็นการทำฟาร์มแบบขั้นบันได (Terrace) และแบบตามแนวระดับ (Contour) การปลูกพืชคลุมดินบำรุงผืนดิน ปรับระบบเก็บน้ำฝน หรือปลูกต้นไม้ใหม่เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจำนวนมากล้มเหลวในการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเนื่องจากแรงกดดันในการผลิต ขาดความรู้ ธรรมาภิบาลท้องถิ่นที่ย่ำแย่ หรือขาดการเข้าถึงทรัพยากร

เทียวเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคเอกชนทั่วโลกร่วมกันลงทุน 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (55 ล้านล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ 10 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเท่ากับสหรัฐฯ หรือจีน

“เกษตรกรทุกราย ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สามารถทำการเกษตรแบบปฏิรูปได้ มีเทคนิคมากมายและคุณไม่จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูงหรือปริญญาเอกเพื่อใช้งาน” เขาบอก

เทียวเสริมว่า “การเกษตรสมัยใหม่ได้เปลี่ยนโฉมหน้าของโลกมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์ เราจำเป็นต้องคิดใหม่อย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับระบบการผลิตอาหารทั่วโลกของเรา เพราะมันเป็นสาเหตุการทำลายป่า 80% เป็นสาเหตุของการใช้น้ำจืด 70% และเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดเพียงประการเดียวที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพบนบก”

พ.ค. นี้ดีเซลขึ้น 2 บาท บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นราคาขายส่ง 0.10 บาท

โควิดไทย 10 จังหวัดป่วยสูงสุด กทม. 3,056 ราย จว.อื่นแนวโน้มลดลง

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก AFP

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ