การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่เกี่ยวกับ “เมกาโลดอน (Megalodon)” ฉลามยักษ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 23 ล้านปีก่อน ที่มีขนาด 20 เมตร ใหญ่กว่าฉลามขาวในปัจจุบันเกือบ 4 เท่า พบว่า ในอดีต ฉลามทั้งสองสายพันธุ์ครั้งหนึ่งเคยอยู่ร่วมกัน และมีแนวโน้มว่าจะล่าเหยื่อชนิดเดียวกัน จนตั้งสมมติฐานได้ว่า การแข่งขันล่าอาหารในอดีตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมกาโลดอนสูญพันธุ์
“เพนกวินจักรพรรดิ” ขั้วโลกใต้ เสี่ยงสูญพันธุ์ เมื่อธารน้ำแข็งกำลังละลาย
นักวิทย์นิวซีแลนด์พบลูกฉลามผีหายาก
ออสเตรเลียจัด “โคอาลา”เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
โดยในการค้นพบนี้ นักวิจัยได้ใช้เทคนิคใหม่ พวกเขาวิเคราะห์ “ลายเซ็นอาหาร” ที่มีอยู่ในฟันของฉลามที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 13 สายพันธุ์และฉลามสมัยใหม่ 20 สายพันธุ์ เพื่อทำความเข้าใจว่า ฉลามเหล่านี้อยู่ตรงไหนในห่วงโซ่อาหาร
“ซิดนีย์” ปิดหาดหลังฉลามทำร้ายนักว่ายน้ำดับ
ชิมาดะ เคนชู ศาสตราจารย์ด้านบรรพชีวินวิทยาที่มหาวิทยาลัยเดอพอล ในชิคาโก หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “โดยทั่วไปแล้ว เราจะเห็นเมกาโลดอนว่าเป็นฉลามขนาดมหึมาผ่านนวนิยายและภาพยนตร์ แต่ความจริงก็คือ เรายังรู้น้อยมากเกี่ยวกับฉลามที่สูญพันธุ์ไปแล้วชนิดนี้”
เขาเสริมว่า “การศึกษาใหม่ของเราแสดงให้เห็นว่า อาหารของฉลามขาวยักษ์ยุคไพลโอซีน (Pliocene) ราว 2-5 ล้านปีก่อน มีความคล้ายคลึงกับอาการของเมกาโลดอน ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ขัดแย้งกับสมมติฐานของเรา”
นักวิจัยได้ตรวจสอบฟันของฉลามโบราณที่ถูกเก็บรักษาไว้ โดยพิจารณาไอโซโทป (Isotope) หรือความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีของธาตุสังกะสี (Zinc)
ธาตุสังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากระดูก อัตราส่วนของไอโซโทปสังกะสีในฟันฉลามจะเป็นตัวบันทึกชนิดของอาหารที่ฉลามกินเข้าไป
ไมเคิล กริฟฟิธส์ นักธรณีเคมีและศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยวิลเลียมเพเตอร์สัน ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ อีกหนึ่งนักวิจัยในทีม กล่าวว่า “ไอโซโทปสังกะสีสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางนิเวศวิทยาได้เนื่องจากอัตราส่วนของไอโซโทปจะแตกต่างไปตามระดับห่วงโซ่อาหารของอาหารที่กินเข้าไป”
ตัวอย่างเช่น หากเมกาโลดอนกินฉลามขาว กับกินปลาเล็ก ตำแหน่งของฉลามขาวจะอยู่สูงกว่าปลาเล็กในห่วงโซ่อาหาร และจะสะท้อนให้เห็นผ่านการตรวจสอบไอโซโทปธาตุสังกะสี
จากการศึกษาพบว่า เมกาโลดอนและฉลามขาวนั้นมีการกินอาหารที่ทับซ้อนกัน โดยพวกมันมีเหยื่อที่คล้ายกัน แต่การกินอาหารในระดับเดียวกันหรือคล้ายกัน ก็ไม่ได้หมายความว่ามีการแข่งขันแย่งเหยื่อตัวเดียวกันโดยตรงระหว่างเมกาโลดอนกับฉลามขาว เนื่องจากทั้งสองสายพันธุ์อาจมีความเชี่ยวชาญในเหยื่อที่แตกต่างกัน เพียงแต่มีชนิดอาหารที่ทับซ้อนกันระหว่างทั้งสองสายพันธุ์เท่านั้น
“การที่ฉลามขาวตัวเล็กกว่าเมกาโลดอนนั้นแปลว่า พวกมันไม่ต้องการอาหารมากเท่ากับเมกาโลดอน ดังนั้นพวกมันจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันหากพวกมันมีอาหารหรือเหยื่อที่คล้ายกัน” กริฟฟิธส์กล่าว
นั่นหมายความว่า หากถึงจุดหนึ่งที่อาหารของเมกาโลดอนและฉลามขาวลดน้อยลงไม่ว่าจะจากปัจจัยใดก็ตาม ก็จะทำให้ฉลามขาวสามารถอิ่มและมีชีวิตรอดได้มากกว่าเมกาโลดอนที่ต้องการอาหารมาก
การศึกษานี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจสอบไอโซโทปธาตุสังกะสีในฟอสซิลฟันฉลามเพื่อใช้วิเคราะห์อาหารของมัน นอกจากฉลามแล้ว เทคนิคการใช้ไอโซโทปธาตุสังกะสีสามารถนำไปใช้กับสัตว์ที่สูญพันธุ์อื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจอาหารและนิเวศวิทยาของพวกมันได้
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ลอตเตอรี่ 1/6/65
อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก