ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐอเมริกา ประกาศความช่วยเหลือชุดใหม่ให้แก่ยูเครน ระบุว่า เป็นความช่วยเหลือด้านความมั่นคง ที่จะส่งไปยังกองทัพยูเครน พร้อมทั้งยังขอบคุณสภาคองเกรสที่สนับสนุนความช่วยเหลือเหล่านี้ โดยยืนยันว่า สหรัฐจะยังคงมอบความช่วยเหลือด้านอาวุธให้แก่ยูเครนต่อไป เพื่อใช้ในการขับไล่การโจมตีจากรัสเซีย
ในบรรดาความช่วยเหลือชุดล่าสุดนี้ ที่หลายฝ่ายสนใจคือ จรวดไฮมาร์ส (HIMARS) ซึ่งมีพิสัยการยิง 70 กิโลเมตร และกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ก็ยืนยันว่าจะส่งขีปนาวุธรุ่นนี้ไปจริง พร้อมกับอาวุธอื่น ๆ อีก
มือปืนกราดยิงศูนย์การแพทย์ในรัฐโอคลาโฮมา ดับ 5 รายรวมผู้ก่อเหตุ
“จุรินทร์” แจงสภา เงินเฟ้อไทยอยู่ในกลุ่มต่ำสุดในโลก
สำหรับจรวดไฮมาร์สนั้น ปัจจุบันอยู่ในยุโรปอยู่แล้ว และสามารถเคลื่อนย้ายส่งไปยังยูเครนได้ทันที ซึ่งทางสหรัฐฯระบุว่า ต้องมีการเข้าไปฝึกสอนการใช้ให้แก่กองทัพยูเครน ใช้เวลาราว 3 สัปดาห์
ประเด็นเรื่องการจัดส่งจรวดให้แก่ยูเครนจากสหรัฐฯ กลายมาเป็นปัญหาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพราะสิ่งที่ยูเครนต้องการตอนนี้คือ ขีปนาวุธที่มีพิสัยไกล เพราะถ้ามีขีปนาวุธนี้จะทำให้ยูเครนสามารถสกัดการรุกคืบของรัสเซียให้ช้าลงได้ และอาจใช้เพื่อยิงเข้าไปในรัสเซีย
อนึ่งก่อนหน้านี้ สื่อของสหรัฐฯอย่าง Washigton Post รายงานว่า สหรัฐฯ อาจจะส่งระบบยิงจรวดต่อเนื่องหลายลูกแบบพิสัยไกลหรือ MLRS รุ่น M270 ให้กับยูเครน โดยตัวนี้มีพิสัยการยิงถึง 300 กิโลเมตร แต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ ระบุว่า สหรัฐฯ จะไม่ส่งระบบยิงขีปนาวุธที่มีพิสัยไกลไปถึงรัสเซียให้กับยูเครน
ส่วนจรวดไฮมาร์สที่จะส่งไปให้นั้น มีพิสัยการยิง 70 กิโลเมตร และทางยูเครนระบุว่า จะไม่ใช่ยิงเข้าไปในรัสเซีย
สหรัฐฯ กลับลำ ส่งขีปนาวุธแบบจำกัดพิสัยให้ยูเครน
ระเบิดกลางนครย่างกุ้ง ทหารอ้างกลุ่มต่อต้านก่อเหตุ
แม้รัสเซียจะพอใจในตอนแรกที่สหรัฐฯจะไม่ส่งจรวดพิสัยไกลไปให้ยูเครน แต่เมื่อวานนี้ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัสเซีย ก็เปิดเผยว่า การที่สหรัฐส่งเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องให้แก่ยูเครน จะเพิ่มความเสี่ยงที่ว่า ประเทศที่สามจะถูกดึงเข้ามาเอี่ยวด้วยในสงครามนี้
รัสเซียมองนี้ เป็นแผนการที่ในตอนแรกจะใช้การทูตเข้ามาก่อน และถัดไป ก็จะยั่วยุโดยตรงเพื่อหวังดึงชาติตะวันตกเข้าสู่การสู้รบ ดังนั้นสถานการณ์เช่นนี้ รัสเซียถือว่ายอมรับไม่ได้
“อีลอน มัสก์” สั่งพนักงานเทสลากลับเข้าออฟฟิศ ชี้ใครทำไม่ได้ก็ออกไป
อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก