ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ระบุว่า ชาติตะวันตกพยายามปกปิดความผิดพลาดจากนโยบายของตัวเองด้วยการกล่าวโทษรัสเซียว่าเป็นตัวการที่ทำให้ตลาดอาหารโลกเกิดปัญหา
ส่วนรายงานข่าวที่อ้างว่า รัสเซียขัดขวางยูเครนไม่ให้ส่งออกธัญพืชเป็นเรื่องไม่จริง โดย ปูติน แนะนำว่าวิธีแก้ไขปัญหานี้ที่ง่ายที่สุดคือการส่งออกผ่านประเทศเบลารุส ซึ่งจะไม่ถูกฝ่ายใดขัดขวางแน่นอน แต่ประเทศตะวันตกจะต้องยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่ใช้กับเบลารุสก่อน
100 วันรัสเซียบุกยูเครน ส่อยืดเยื้อ ไร้วี่แววสงครามสิ้นสุด
ประเทศตุรกี เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ตุรเคีย อย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ ปูติน ยังเตือนว่า ปัญหาขาดแคลนสินค้าในตลาดอาหารโลกมีแนวโน้มจะเลวร้ายลงไปอีก เพราะสหรัฐและอังกฤษใช้มาตรการคว่ำบาตรสินค้าประเภทปุ๋ยที่ผลิตในรัสเซีย
โดยตอนนี้รัสเซียได้ควบคุมพื่นที่ชายฝั่งทางภาคใต้ของยูครนเอาไว้ได้ รวมทั้งเส้นทางที่เชื่อมต่อกับท่าเรือต่าง ๆ ในทะเลดำ ซึ่งเรือรบของรัสเซียประจำการอยู่ ขณะที่รัฐบาลรัสเซียย้ำมาตลอดว่าการที่ยูเครนไม่สามารถส่งออกธัญพืชเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลยูเครนและสหรัฐฯเอง
ขณะที่วานนี้ (6 มิถุนายน 2565) ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอนร์ ลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส ระบุว่า พร้อมจะเปิดทางให้ยูเครนส่งธัญพืชไปยังเยอรมนี โปแลนด์ และ ท่าเรือในทะเลบอลติก แต่มีเงื่อนไขว่าสินค้าจากเบลารุสต้องได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าออกจากท่าเรือเหล่านี้เช่นกัน
ส่วน ประธานาธิบดี แมกกี้ ซอล ผู้นำเซเนกัล ในฐานะประธานสหภาพแอฟริกา ที่เดินทางเยือนรัสเซีย ระบุด้วยว่าประธานาธิบดี ปูติน รับปากจะอำนวยความความสะดวกในการส่งออกธัญพืชผ่านท่าเรือในยูเครน หรือผ่านแม่น้ำดานูบของโรมาเนีย
ขณะเดียวกัน อันนาเลนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี ระบุว่า สงครามระหว่างยูเครน และ รัสเซีย ทำให้ราคาอาหารและพลังงานในโลกถีบตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การสู้รบที่เกิดขึ้น ได้กลายเป็นวิกฤติของโลก และประชากรโลก 50 ล้านคน โดยเฉพาะในแอฟริกาและตะวันออกกลาง จะต้องเผชิญกับความหิวโหยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากไม่สามารถหาหนทางขนส่งธัญพืชออกจากยูเครนได้ ซึ่งปฏิบัติการทางทหารต่อยูเครนที่ยืดเยื้ออาจเรียกได้ว่าเป็น “สงครามธัญพืช”
ข้อมูลจาก กองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ชี้ว่า ยูเครนนั้นเป็นประเทศที่มีส่วนสำคัญต่อระบบอาหารโลก และเมื่อรวมรัสเซียเข้าไป สองประเทศนี้ผลิตอาหาร 12% ของการค้าขายอาหารโลก และเกือบครึ่งหนึ่งของข้าวสาลีที่ผลิตในยูเครนถูกส่งไปยังตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งกำลังเผชิญกับวิกฤติด้านอาหาร และหากสถานการณ์เลวร้ายลง หรือราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น อาจนำไปสู่การเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ
ด้าน ประธานาธิบดีโวโลดีเยมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน แถลงทางวิดีโอเมื่อวันศุกร์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 วัน ที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกยูเครน โดยเซเลนสกีแสดงความมั่นใจว่ายูเครนจะเป็นผู้ชนะในสงครามครามครั้งนี้
ขณะที่ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ได้แสดงความคิดเห็เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 วันที่รัสเซีย ส่งกำลังทหารบุกยูเครนเช่นกัน โดย ไบเดน ระบุว่าสงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดลงได้จำเป็นต้องใช้วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน
อย่างไรก็ตาม ไบเดน ระบุว่าตนเองจะไม่ลงรายละเอียดว่าเงื่อนไขของการเจรจาควรเป็นเช่นไร และจะไม่แสดงความคิดเห็นว่ายูเครนควรยอมเสียสละดินแดนบางส่วนให้กับรัสเซียเพื่อสงบศึกหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ยูเครนต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง