ประเทศหมู่เกาะจี้เก็บภาษี บ.น้ำมัน จ่ายชดเชยผลกระทบโลกร้อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ความเคลื่อนไหวในการประชุม COP27 ล่าสุดกลุ่มประเทศหมู่เกาะเล็กๆ เรียกร้องให้มีการเก็บภาษีจากบริษัทน้ำมัน และการออกสนธิสัญญาต่อต้านเชื้อเพลิงฟอสซิล

เวลานี้ประเทศกำลังพัฒนากำลังรวมตัวกดดันในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก หรือ COP27 ที่ประเทศอียิปต์เพื่อตั้งกองทุนความสูญเสีย และความเสียหาย รวมถึงเรียกร้องให้ชาติร่ำรวย รวมถึงบริษัทน้ำมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจ่ายเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

โดยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีอา มอตต์ลีย์ (Mia Mottley) นายกรัฐมนตรีหญิงของบาร์เบโดสได้เรียกร้องให้มีการเก็บภาษีจากบริษัทน้ำมัน 10%

เริ่มนับคะแนนแล้ว! เลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ “รีพับลิกัน” มีแนวโน้มชนะ

จะเกิดอะไรขึ้น? หากพรรครีพับลิกันชนะศึกเลือกตั้งกลางเทอม 2022

เพื่อนำเงินเข้ากองทุนสำหรับความสูญเสียและความเสียหาย เช่นเดียวกับ แกสตัน บราวน์ (Gaston Browne) นายกรัฐมนตรีแอนติกาและบาร์บูดา ในฐานะตัวแทนของชาติพันธมิตรหมู่เกาะขนาดเล็ก 39 ชาติ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่บริษัทเหล่านี้จะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนทั่วโลกจากผลกำไร ในฐานะแหล่งเงินทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยบราน์ย้ำว่า ขณะที่พวกเขากำลังทำกำไรจากน้ำมันกันอยู่ โลกใบนี้กำลังถูกเผาไหม้

นอกจากนี้ บราวน์ ยังพูดถึง จีน และอินเดีย ด้วยว่า แม้ทั้งสองประเทศไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็ควรให้เงินทุนสนับสนุนความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุด และใหญ่เป็นอันดับสามของโลก พร้อมเน้นย้ำว่า ไม่ว่าประเทศใดก็ตามที่เป็นผู้ก่อมลพิษก็ต้องจ่ายเงินชดเชย โดยไม่มีข้อยกเว้น หรือบัตรผ่านฟรี

ทั้งนี้ บราวน์ ยังระบุด้วยว่า เป้าหมายในเวลานี้คือการเร่งอภิปรายเกี่ยวกับกองทุนความสูญเสีย และความเสียหายบนเวทีแห่งนี้เพื่อให้มีกลไกในการประชุมสุดยอดในครั้งต่อไป และทำให้สิ่งนี้สามารถใช้งานได้จริงในปี 2024 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า

เมื่อพูดถึงโลกร้อนแล้ว มีรายงานที่น่าสนใจ จากโปรแกรมการสังเกตโลกของสหภาพยุโรป ที่ออกมาเปิดเผยว่า ปีนี้ยุโรปเผชิญกับเดือนตุลาคมที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 2 องศาเซลเชียส ขณะที่ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศสเผชิญกับอุณหภูมิพุ่งสูงจนทำลายสถิติ

โดยฝรั่งเศสและสเปน พบอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส และหลายประเทศมีรายงานว่า ช่วงกลางคืนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเชียสด้วย

ทั้งนี้ผลพวงจากสภาพอากาศร้อนในยุโรป ส่งผลให้มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ตั้งแต่ช่วงเดือน มิถุนายน จนถึงสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในยุโรปพบผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศร้อนแล้วอย่างน้อย 15,000 คน เป็นผู้เสียชีวิตในสเปนเกือบ 4,000 คน เยอรมนีราว 4,500 คน สหราชอาณาจักรกว่า 3,200 คน และโปรตุเกสกว่า 1,000 คน

WHO ระบุว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในยุโรปมาจากความเครียดจากความร้อน เพราะร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนเองได้ พร้อมเตือนด้วยว่า คลื่นความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น และสภาพอากาศสุดขั้วจะนำไปสู่โรคภัยต่างๆ และมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นในช่วงทศวรรษหน้า

 

คอนเทนต์แนะนำ
แพทย์เตือน “ห้ามเปิบค้างคาว”หวั่นก่อโรคใหม่
จอดรถฟรี 7 วัน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงหยุดยาวประชุม APEC 2022
แฉต่อ! ทนายตั้ม ร้อง ผบ.ตร. สอบตร.เบ่งกินฟรี จนร้านเกือบเจ๊ง
รัฐบาลเดินหน้าจัด "มหกรรมแก้หนี้" 4 ภูมิภาค หวังแก้ปัญหายั่งยืน

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ