ฟาร์มปลูกผักแห่งหนึ่งในย่านชานกรุงซานา เมืองหลวงของเยเมน ซึ่งใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ หรือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากนักวิจัยระบุว่า วิธีนี้จะทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดน้ำได้ราว 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับการทำฟาร์มปลูกพืชแบบดั้งเดิม
วาจิห์ อัล-มุตาวากิล (Wajih al-Mutawaki) นักวิจัยจากศูนย์วิจัยการเกษตรของเยเมน เปิดเผยว่าเยเมนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ มีการสูบน้ำจำนวนมากจากบ่อน้ำและต้องพึ่งพาน้ำบาดาลอย่างมาก แต่ว่าไม่สามารถเติมน้ำลงไปในชั้นน้ำใต้ดิน เพื่อนำกลับมาใช้ในช่วงเวลาที่ขาดแคลนได้
ไขความลับของชีส หลังกระแส “ชีสบอร์ด” มาแรงติดเทรนด์โซเชียล
“โรคซึมเศร้า”ส่งผลต่อวัยจริง แต่หากมองในแง่ดี ชีวิตยืนยาวมากกว่าแง่ลบหลายเท่า
ด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ เกษตรกรเยเมนจะปลูกพืชในหินทัฟฟ์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟชนิดหนึ่ง ที่กักเก็บน้ำต่ำ โดยเมื่อน้ำในท่อน้ำไหลมาถึงรากของพืช หินชนิดนี้ก็จะดูดซับน้ำเฉพาะปริมาณเท่าที่ต้องการเท่านั้น
โดยน้ำส่วนเกินที่เหลือก็จะไหลต่อไปตามเครือข่ายของรางปลูกพืช และไหลกลับไปยังถังเก็บน้ำของฟาร์มต่อไป
ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารโลกในเดือนสิงหาคม ระบว่า ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณน้ำฝนของเยเมนเอาแน่เอานอนไม่ได้ เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ขณะเดียวกันพื้นที่ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก ส่งผลให้อุณหภูมิร้อนขึ้น 5 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้นภายในสิ้นศตวรรษนี้
สภาพอากาศวันนี้! อากาศเปลี่ยนแปลง เหนือทั้งหนาว-มีฝน ขณะทั่วไทยฝนตก 30-60%
ระทึก! หนุ่มตกงานเมาอาละวาด ทุบ ATM อ้างไม่มีเงินกินข้าว