หลังจากนั้น ในวันต่อมายูเครนก็ส่งโดรนโจมตีสนามบินอีกแห่งทางภาคตะวันตก
หลายฝ่ายมองว่า นี่คือการส่งสัญญาณเตือนว่า ยูเครนมีศักยภาพมากขึ้นในการโต้กลับรัสเซีย และจะใช้ศักยภาพนี้เมื่อถึงเวลา
ทำให้เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ออกมาประกาศว่า ดูจากสถานการณ์แล้ว สงครามครั้งนี้น่าจะดำเนินต่อไปอีกนาน และโอกาสที่จะเกิดกลายสงครามนิวเคลียร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ
ปูติน คาดสงครามยูเครน จะยังคงอยู่อีกนาน เตือนสงครามนิวเคลียร์เสี่ยงมีเพิ่มสูงขึ้น
ยูเครน โจมตีฐานทัพอากาศรัสเซียครั้งที่ 3 ในรอบ 2 วัน
เมื่อคืนที่ผ่านมา ( 7 ธ.ค.) วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียปรากฎตัวผ่านระบบวิดีโอคอลกับที่ประชุมสภาสิทธิมนุษยชนรัสเซีย โดยมีหลายประเด็นที่ผู้นำรัสเซียพูดถึง ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของสงครามหลังจากนี้
ประเด็นแรกคือ การพูดยอมรับตรงๆว่าสงคราม หรือสิ่งที่ปูตินเรียกว่า “ปฏิบัติการทางการทหาร” ในยูเครนจะดำเนินต่อไปเป็นระยะเวลายาวนาน
ประเด็นที่ 2 คือ การพูดถึงเรื่องความเสี่ยงในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ประธาธิบดีปูตินบอกว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้นำอาวุธนิวเคลียร์จำนวนมากมาติดตั้งในหลายอาณาเขต โดยเฉพาะหลายประเทศในยุโรป
นอกจากนี้ เขายังย้ำว่า รัสเซียเป็นชาติมีอาวุธนิวเคลียร์ล้ำสมัยชาติหนึ่งของโลกเช่นกัน แต่รัสเซียไม่เคยทำพฤติกรรมแบบที่สหรัฐฯ ทำและสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการใช้อาวุธนิวเคลียร์สูงขึ้นเรื่อยๆ
ประธานาธิบดีปูตินบอกว่า ถึงแม้สถานการณ์จะเป็นเช่นนั้น แต่รัสเซียก็ยังไม่ไร้เหตุผลพอที่จะเริ่มการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เพราะรู้ดีว่ามันหมายถึงอะไร
การไม่ใช้อาวุนิวเคลียร์โจมตีใครก่อนเป็นไปตามหลักนิยมทางการทหารของรัสเซีย ที่จะนำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้งานได้ ก็ต่อเมื่อรัสเซียมีความจำเป้นต้องป้องกันตนเอง
ความจำเป็นในการป้องกันตนเอง คือคำสำคัญที่ออกมาจากของผู้นำรัสเซียหลังจากที่ยูเครนใช้โดรนโจมตียุทธศาสตร์ทางการทหารในดินแดนของรัสเซียเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์และอังคารที่ผ่านมาโดยการโจมตีครั้งแรกและครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา
จุดแรกคือ ฐานทัพอากาศเอนเกลส์ ในนครซาราตอฟ ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของรัสเซีย ห่างจากชายแดนยูเครนเกือบ 800 กิโลเมตร
ส่วนจุดที่ 2 คือ ฐานทัพอากาศเดียกลิเลโว ในเมืองเรียซาน ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนยูเครนไปราว 500 กิโลเมตร
ส่วนล่าสุดจุดที่ 3 คือ ฐานทัพอากาศที่เมืองคูร์สก์ ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนยูเครนไปราว 140 กิโลเมตร
นักวิเคราะห์ทางการหทารมองว่า ยูเครนทำแบบนี้ไม่ได้เพื่อต้องการรุกรานหรือยึดแผ่นดินรัสเซีย แต่ที่ต้องโจมตีเข้าแผ่นดินรัสเซียก็เพื่อทำลายยุทธโธปกรณ์ทางการทหารอย่างเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล เพื่อไม่ให้รัสเซียใช้ในการโจมตีทางอากาศต่อยูเครนได้
ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านรัสเซียใช้เครื่องบินระเบิดระยะไกลทิ้งระเบิด รวมทั้งยิงขีปนาวุธจากพื้นดินและจากทะเล โจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของยูเครนอย่างหนักและต่อเนื่องเป้าหมายของพฤติกรรมเช่นนี้คือ การทำให้ชาวยูเครนลำบากถึงขีดสุด เพื่อที่ว่ารัสเซียจะได้มีจังหวะเวลาในการรวบรวมกำลังกลับมาสู้ใหม่
เมื่อวานนี้ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการใหญ่องค์การนาโตได้ให้สัมภาษณ์กับไฟแนลเชียล ไทม์ โกลบอล บอร์ดรูม (FINANCIAL TIMES GLOBAL BOARDROOM) เกี่ยวกับการกระทำของรัสเซียไว้อย่างน่าสนใจ
โดยเลขาฯ นาโตระบุว่า ตอนนี้รัสเซียต้องการหยุดสงครามนี้ไว้ชั่วคราว เพื่อหาช่องทางเตรียมกำลังใหม่ จากนั้นรัสเซียจะเปิดการรุกรานอีกครั้งตอนเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า สิ่งที่ชาติพันธมิตรต้องเตรียมคือ ต้องช่วยยูเครนเตรียมพร้อมรับมือ
ยูเครนสามารถตั้งรับการโจมตีได้ด้วยการใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศ แต่ปัญหาหลักของยูเครนตอนนี้คือ ยูเครนไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ครอบคลุมหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงอาจเลือกการส่งโดรนโจมตีจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารในแผ่นดินรัสเซียเพื่อตัดกำลังแทน
คำถามที่สำคัญคือ หากยูเครนทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ รัสเซียจะนำข้อเท็จจริงนี้ไปใช้เป็นเหตุผลในการใช้นิวเคลียร์ในสนามรบหรือไม่ ซึ่งต้องติดตามต่อไปในอนาคต
อีกโจทย์ที่สำคัญคือ วิธีการทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้ชาวยูเครนหนาวตายหรืออดตายของฝั่งรัสเซียได้ผลหรือไม่
วิตาลี คลิตเชนโก นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้ว่า หากรัสเซียยังคงโจมตีโครงสร้างพื้นฐานเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ สถานการณ์ในกรุงเคียฟที่กำลังอยู่ในช่วงฤดูหนาวจะเลวร้ายมากไม่ต่างจากในหนังฮอลลีวูด
อย่างไรก็ดี คลิตเชนโกย้ำว่า แม้สถานการณ์จะยากลำบาก แต่ยังไม่จำเป็นต้องสั่งอพยพพลเรือน แม้ว่าพลเรือนจะเตรียมพร้อมสำหรับการอพยพไว้แล้ว
นอกจากนี้ นายกฯกรุงเคียฟย้ำว่า ตอนนี้ทางกรุงเคียฟและรัฐบาลยูเครนกำลังจัดการกับปัญหาด้านพลังงานอยู่ โดยทางการเตรียมจุดที่มีเครื่องทำความร้อนอัตโนมัติเกือบ 500 แห่ง ซึ่งมีน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงเครื่องมือสื่อสารต่างๆ
อย่างไรก็ตาม คลิตเชนโกบอกว่า จุดบริการทั้ง 500 แห่งอาจไม่เพียงพอ ที่จะรองรับประชาชนที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ล้าน6 แสนคนในกรุงเคียฟได้ทั้งหมด
แม้ว่าสถานการณ์จะยากลำบากมากเพียงใด แต่ชาวยูเครนยืนยันว่าพร้อมที่จะต่อสู้และปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันพวกเขาได้แสดงความเป็นห่วงบรรดาทหารที่อยู่ในสนามรบมากกว่าความยากลำบากของตนเอง