ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า C/2022 E3 หรือ แซดทีเอฟ (ZTF) ตามชื่อศูนย์ “ซวิกกี้ ทรานเชียนต์ ฟาซิลิตี้ ( Zwicky Transient Facility)” ซึ่งค้นพบมันครั้งแรก ขณะที่เคลื่อนผ่านดาวพฤหัสบดีเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว โดยคาดว่า ดาวหางดวงนี้จะเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่ายหากใช้กล้องส่อง หรืออาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากท้องฟ้าไม่มีแสงไฟของเมือง หรือแสงจากดวงจันทร์รบกวนมากเกินไป
"พิธีสารมอนทรีออล" ได้ผล คาดโอโซนคืนสู่สภาพสมบูรณ์ภายใน 40 ปี
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เว็บบ์" 1 ปี กับการไขปริศนาจักรวาลลี้ลับ
โทมัส พรินซ์ (Thomas Prince) อาจารย์ฟิสิกส์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทำงานที่ศูนย์ ZTF บอกว่า ดาวหางดวงนี้จะสว่างที่สุดตอนที่มันอยู่ใกล้โลกที่สุด
ขณะที่ นิโกลาส์ บิเวร์ (Nicolas Biver) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ประจำหอดูดาวปารีสบอกว่า ดาวหาง ZTF ประกอบด้วยน้ำแข็งและฝุ่น และส่องแสงออกสีเขียว คาดว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร
ซึ่งหมายความว่าดาวหางดวงนี้มีขนาดเล็กกว่า ดาวหาง “นีโอไวส์ (NEOWISE)” ดาวหางดวงล่าสุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งโคจรผ่านโลกเมื่อเดือนมีนาคม 2020 และดาวหาง “เฮลบอปป์ (Hale-Bopp)” ที่โฉบผ่านโลกในปี 1997 โดยดาวหางเฮลบอปป์นี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 60 กิโลเมตร