อุณหภูมิมหาสมุทรปี 2022 พุ่งสูงเป็นประวัติศาสตร์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิจัยต่างประเทศพบ ปีที่แล้ว อุณหภูมิมหาสมุทรพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมเตือนว่าอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในมหาสมุทรเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

นักวิจัย 24 คนจาก 16 สถาบันทั่วโลก เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Advances in Atmospheric Sciences เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยระบุว่า ปี 2022 เป็นปีที่มหาสมุทรทั่วโลกร้อนที่สุดที่เคยบันทึกมา และพบปริมาณความร้อนในมหาสมุทรสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 10 แซททา โจส์ (Zetta joules) ซึ่งเทียบเท่ากับ 100 เท่าของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2021 

ศาสตราจารย์ ไมเคิล แมนน์ (Michael Mann) ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระบุว่า

รัสเซีย เปลี่ยนแม่ทัพสมรภูมิยูเครน หวังช่วยหนุนการสื่อสารของหน่วยงาน

ผู้นำสหรัฐฯ สั่งสอบเหตุระบบคอมหน่วยควบคุมการบินล่ม

มหาสมุทรกำลังดูดซับความร้อนส่วนใหญ่จากการปล่อยคาร์บอนของมนุษย์ และมหาสมุทรจะยังมีอุณหภูมิร้อนต่อไป จนกว่าโลกจะถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
 
ทั้งนี้เมื่อดูจากบันทึกสถิติย้อนหลังไปจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1950 แสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิของมหาสมุทรพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1985 นักวิจัยระบุว่า อุณหภูมิมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อเสถียรภาพของมหาสมุทรเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ และยังพบข้อบ่งชี้อื่นๆ ที่บ่งบอกว่า มหาสมุทรกำลังแย่ลง 

นอกจากจะพบอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้นแล้ว ก็พบความเค็มของน้ำในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งตรงนี้ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนความร้อน ออกซิเจน และคาร์บอน ระหว่างมหาสมุทร และชั้นบรรยากาศโลก และจะทำให้สูญเสียออกซิเจนในมหาสมุทรด้วย ทั้งนี้การที่ออกซิเจนในน้ำลดลง ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล และระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงมนุษย์ และระบบนิเวศบนบก 

สำหรับมหาสมุทร คือ พื้นที่ดูดซับความร้อนกว่า 90 % ซึ่งถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซเรือนกระจก จากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล การทำลายป่า และกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ และเวลานี้คลื่นความร้อนใต้น้ำที่มีมาอย่างยาวนานได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำไปแล้ว เช่น  แนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกโลกพบปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่หลายครั้ง จนเสี่ยงหลุดบัญชีมรดกโลก 

คอนเทนต์แนะนำ
WHO เผยยังไม่พบโอมิครอน XBB 1.5 ที่ทำให้ป่วยหนักกว่าเดิม
พบเพิ่มอีกดวง! ดาวเคราะห์ที่มนุษย์อาจไปอาศัยอยู่ได้

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ