ล่าสุด โปแลนด์ออกมากดดันเยอรมนีให้ส่งรถถังไปให้ยูเครน อีกครั้งรถถังมีความสำคัญต่อสงครามครั้งนี้อย่างไร และทำไมเรื่องการส่งรถถังช่วยยูเครน กำลังกลายเป็นเรื่องที่ถูกถกเถียงในหมู่ประเทศสหภาพยุโรป ก่อนที่จะไปสู่ประเด็นดังกล่าว เราต้องทำความเข้าใจกับสถานการณ์ของสนามรบที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก่อน
สถานการณ์ของสงครามขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของการรุกคืบยึดพื้นที่ โดยฝั่งรัสเซียไม่สามารถยึดพื้นที่เพิ่มได้ ส่วนฝั่งยูเครนก็ไม่สามารถโต้กลับเพื่อยึดพื้นที่คืนได้มากไปกว่านี้
อังกฤษ ประกาศเตรียมส่งรถถังรุ่น "ชาเลนเจอร์ 2" ให้ยูเครน
สหรัฐฯจับตารัสเซียตั้ง “เกราซีมอฟ” คุมศึกยูเครน
แผนที่ของการสู้รบในวันที่ 328 จากแผนที่จะเห็นได้ว่า การต่อสู้หลัก ๆ นั้นยังอยู่ที่พื้นที่ตลอดแนวภาคตะวันออกของยูเครน
โดยในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายปะทะกันถึง 13 จุด ซึ่งสถานการณ์ในแผนที่นี้ แทบไม่ได้ต่างจากเมื่อช่วงกลางเดือนที่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ ฝั่งรัสเซียจึงพยายามตัดกำลังยูเครน ด้วยการใช้ขีปนาวุธและโดรนโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน และเป้าหมายพลเรือนเพื่อทำลายขวัญกำลังใจและความมุ่งมันในการต่อสู้
การโจมตีล่าสุดคือเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา รัสเซียยิงขีปนาวุธจากกองเรือทะเลดำเข้าใส่อาคารที่พักอาศัย 9 ชั้นแห่งหนึ่งในเมืองดนีโปร เมืองใหญ่อันดับ 4 ของยูเครน ส่งผลอาคารพังถล่มลงมาเกือบทั้งหลัง
ภาพที่เห็นราวกับฉากในภาพยนตร์ ไฟลุกไหม้ กลุ่มควันและฝุ่นหนาทึบเป็นอุปสรรคอย่างมากในการช่วยเหลือคนที่ถูกฝังอยู่ใต้ซากอาคาร
ตอนนี้ ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 40 ราย นับเป็นความสูญเสียชีวิตพลเรือนที่มากที่สุดในคราวเดียวนับตั้งแต่เกิดสงคราม
โดยทางการยูเครนระบุว่า ขีปนาวุธที่รัสเซียยิงใส่อาคารหลังนี้คือ KH-22 ซึ่งมีอานุภาพสูงมาก ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ทำลายเรือบรรทุกเครื่องบิน โดยขีปนาวุธนี้สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ด้วย
สถานการณ์หรือบริบทของปัจจุบัน เมื่อต้องผลัดกันรุกไล่เช่นนี้ หมายความว่าโอกาสที่รัสเซียจะเอาชนะยูเครนได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ไม่ง่าย และถ้าดูจากพื้นที่ที่รัสเซียยึดในตอนนี้ก็ถือว่าไม่ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้
ส่วนยูเครนถ้าอยากจะเอาชนะสงครามด้วยการขับกองทัพรัสเซียออกไปจากทุกตารางนิ้วของแผ่นดินก็ไม่ง่ายเช่นกัน และหากจะทำให้ได้ ยูเครนจำเป็นต้องมีตัวช่วยเพิ่ม ตัวช่วยที่ยูเครนต้องการและอยากได้มากที่สุดคือ รถถังประสิทธิภาพสูง
สงครามนี้ใช้การต่อสู้ด้วยรถถังและปืนใหญ่เป็นหลัก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในพื้นที่การสู้รบ โดยเฉพาะภูมิภาคดอนบาสเป็นพื้นที่เปิดโล่งกว้าง
และรัสเซียไม่ได้ใช้เครื่องบินในการทำสงครามมากนัก เพราะนักบินรัสเซียมีชั่วโมงบินที่ต่ำและประสบการณ์ไม่มากนัก ทำให้ตกเป็นเป้าการโจมตีได้ง่าย ซึ่งยูเครนมีความสามารถในการทำลายอากาศยานของรัสเซียได้ด้วยการใช้ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานอย่างเช่น สตริงเกอร์ ที่ได้มาจากสหรัฐฯ
นอกจากนี้ อีกเหตุผลที่สำคัญคือ รัสเซียยังผลิตรถถังได้เอง โดยรัสเซียมีรถถังหลายรุ่นเช่น ที- ซิกซ์ตี้ทู (T-62) ที-เซเว่นตี้ทู เอส(T-72s) ที-เอทตี้ (T-80) หรือ ที-ไนน์ตี้ (T-90) หรือรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงอย่าง ที-โฟร์ทีน อาร์มาตา (T-14 Armata)
แต่ในการทำสงครามรุกรานยูเครน รถถังที่รัสเซียใช้ส่วนใหญ่คือ รถถังขนาดกลางรุ่น T-62 ซึ่งค่อนข้างล้าสมัย และถูกยูเครนทำลายไปจำนวนมากด้วยการใช้ FGM-148 จาเวลิน หรือแหลนพิฆาตรถถัง
ส่วนรถถังรุ่น T-72s T-80 หรือ T-90 อาจมีการนำมาใช้ในสนามรบ แต่ก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมดที่รัสเซียมี ซึ่งคาดว่าอาจมากถึงหลักพันคันในคลัง เป็นเพราะรถถังเหล่านี้ถูกทิ้งไว้ในคลังอาวุธนานจนทำให้เกิดความเสียหายทั้งที่ตัวรถและเครื่องยนต์
การจะซ่อมแซมรถถังเหล่านี้ทำได้ยาก เนื่องจากต้องใช้อะไหล่ที่มาจากชาติตะวันตก ซึ่งรัสเซียไม่สามารถหาได้ในเวลานี้ เพราะถูกคว่ำบาตรจากประเทศผู้ผลิต
ส่วนสาเหตุที่รัสเซียไม่นำรถถังรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูง ที่สามารถป้องกันขีปนาวุธจาเวลิน อย่าง ที-โฟร์ทีน อาร์มาตา (T-14 Armata) มาใช้ เป็นเพราะรถถังรุ่นนี้ ถูกนำมาประจำการในกองทัพรัสเซียขณะที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา และมีเพียง 20 คันเท่านั้น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตกลังเลคือ ขีดความสามารถของกองทัพยูเครนและปัจจัยการเมืองภายในภูมิภาคยุโรป
ประเด็นแรก - ขีดความสามารถของกองทัพยูเครน แม้ว่ารถถังยุโรปและสหรัฐฯ จะมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความยากในการใช้งาน และการซ่อมบำรุง เนื่องจากเครื่องยนต์และองค์ประกอบมีความซับซ้อน เช่น เอ็มวัน เอบรามส์ ที่ใช้เชื้อเพลิงสำหรับใช้ในเครื่องบินแทนที่จะใช้น้ำมันดีเซล
นี่ทำให้รถถังเอ็มวัน เอบรามส์ เป็นยานยนต์ที่กินน้ำมันมาก และหากเกิดความเสียหายหรือต้องการการซ่อมบำรุง โดยเฉพาะในช่วงของการเคลื่อนย้ายกำลังพล กองกำลังยูเครนอาจมีความรู้หรือประสบการณ์ไม่พอ
การเคลื่อนกำลังพลด้วยการใช้รถถังประเภทนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน อย่างเช่นกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งถือว่ามีประสบการณ์มากที่สุดต้องผ่านการฝึกฝนกันหลายปี
การเคลื่อนกำลังพลคือสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการทำสงคราม เพราะต้องให้มั่นใจว่า กองพลจะมีเสบียงและเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับกองทัพ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่รัสเซียทำได้ไม่ดี
โดยในช่วงต้นของสงครามที่รัสเซียบุกเข้ายูเครนจาก 3 ทาง กำลังพลที่ทำหน้าที่บุกกรุงเคียฟเมืองหลวงล้มเหลว เพราะไม่มีเสบียงและเชื้อเพลิงที่เพียงพอ
ส่วนเหตุผลที่ 2 คือเหตุผลด้านการเมืองชัดเจนที่สุดคือกรณีของเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตเลพเพิร์ด 2 รถถังตัวที่มีประสิทธิภาพดีรุ่นหนึ่งที่ยูเครนอยากได้มากที่สุด เลพเพิร์ด 2 เป็นรถถังต่อสู้หลักที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 ตัวรถถังสามารถติดอาวุธหลักและอาวุธรองได้ โดยตัวอาวุธหลักจะเป็นปืนรถถังเรียบ รุ่นไรน์ เมทาล 120 มม. จำนวนหนึ่งกระบอก สามารถยิงได้ 42 นัด
ส่วนอาวุธรองจะเป็นปืนกลจำนวน 2 กระบอกยิงได้ราว 4,750 นัด ซึ่งนี่ทำให้เลพเพิร์ด 2 กลายเป็นรถถังที่มีประสิทธิภาพรุ่นหนึ่งของโลก จนถึงขณะนี้เยอรมนียังคงลังเลในการส่ง เลพเพิร์ด2 ให้กับยูเครน
ความลังเลของเยอรมนีทำให้โปแลนด์เริ่มไม่พอใจและหาทางกดดันเยอรมนี ในเวลานี้ โปแลนด์ คือประเทศที่แข็งขันที่สุดในการช่วยยูเครน จากทั้งบทเรียนในประวัติศาสตร์ที่เคยถูกรัสเซียคุกคามและจากการที่มีชายแดนติดกับประเทศยูเครน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีโปแลนด์เดินทางไปพบผู้นำยูเครนที่เมืองลวิฟ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากชายแดนโปแลนด์ ก่อนที่จะประกาศมอบรถถัง เลพเพิร์ด 2 ของกองทัพโปแลนด์ 14 คันให้กับยูเครน
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติโปแลนด์จะส่งเลพเพิร์ด 2 ให้กับยูเครนไม่ได้ หากไม่ได้รับการอนุญาตจากเยอรมนี เนื่องจากเยอรมนีเป็นประเทศต้นกำเนิดและผู้ถือใบอนุญาตการส่งมอบถังดังกล่าว จนถึงตอนนี้ ผ่านมาเกือบหนึ่งสัปดาห์หลังผู้นำโปแลนด์ประกาศส่งรถถังให้ยูเครน ทางรัฐบาลเยอรมนียังไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจน ทำให้โปแลนด์ส่งนายกรัฐมนตรีออกมากดดันเยอรมนีอีกรอบ
นอกจากนี้ รัสเซียเกรงว่าหากรถถังดังกล่าวถูกทำลายในสนามรบ ข้อมูลการผลิตอาจรั่วไหลและฝ่ายตรงข้ามจะสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนารถถังอื่นมารับมือได้
ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้รถถังรุ่น T-62 กลายเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียมีในคลังจำนวนมาก เพราะผลิตไว้ตั้งแต่ในช่วงที่สงครามเย็นเกิดความตึงเครียด อีกทั้งสามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย เพราะไม่ได้ผลิตด้วยอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีชั้นสูง
แม้ทางรัสเซียจะเพลี่ยงพล้ำ แต่ทางฝั่งยูเครนเองก็ไม่ได้ได้เปรียบอย่างมีนัยสำคัญ เพราะกองทัพยูเครนมีขนาดเล็กและมีรถถังไม่มาก
รถถังส่วนใหญ่ที่ยูเครนใช้ เป็นรุ่นที่ผลิตตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต เช่น T-72s โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โปแลนด์ เยอรมนี ได้รถถังรุ่นเก่ารุ่นนี้จากคลังไปเพิ่มให้ยูเครนด้วย
ยูเครนรบด้วยรถถังเก่ามา 11 เดือน และตอนนี้เกิดปัญหาคือ กระสุนปืนใหญ่และวัสดุที่ใช้กับรถถังเหล่านี้กำลังหมดลง เพราะบริษัทที่ผลิตยุติสายพานการผลิตไปนานแล้ว
ยูเครนจึงออกมาเรียกร้องขอรถถังรุ่นใหม่กว่าจากพันธมิตร เพราะเชื่อว่าหากได้รถถังรุ่นใหม่ตอนนี้ ยูเครนจะสามารถพลิกสถานการณ์จากที่ไม่คืบหน้าให้กลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบได้ เพราะรถถังรุ่นใหม่จะทำให้ยูเครนเคลื่อนได้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถขับไล่ทหารรัสเซียออกไปจากแผ่นดินยูเครนได้
ยูเครนร้องขอรถถังรุ่นใหม่มาหลายเดือนแล้ว แต่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรลังเลมาตลอดที่จะส่งรถถังรุ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ ทรงพลังและมีความซับซ้อนมากกว่าไปให้กับยูเครน
รถถังประเภทนี้ก็อย่างเช่น เอ็มวัน เอบรามส์ (M1 Abrams) ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ รุ่นนี้มีเกราะคุ้มกันที่แน่นหนา มีปืนที่ทรงพลัง หรือ เลพเพิร์ด 2 ที่ผลิตโดยเยอรมนี
เมื่อคืนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าบรรดานักการเมืองเยอรมันที่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี
แม้จะไม่มีการเอ่ยชื่อนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ออกมาโดยตรง แต่คนฟังรู้ว่า นายกฯโปแลนด์กำลังส่งสัญญาณเรื่องการส่งอาวุธไปถึงผู้นำเยอรมนี
โดยเขาระบุว่า เยอรมนีต้องรีบส่งรถถังให้กับยูเครนทันที เพราะการพ่ายแพ้ของยูเครน จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 3 และเยอรมนีต้องคิดว่านี่ไม่ใช่การสนับสนุนสงคราม แต่เป็นการต่อสู้เพื่อสันติภาพ
นอกจากโปแลนด์แล้ว อีกชาติหนึ่งที่ออกมากดดันเยอรมนีคือ สหราชอาณาจักร เมื่อคืนนี้ เบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมสหราชอาณาจักร ได้อธิบายถึงความจำเป็นและเหตุผลที่สหราชอาณาจักรจะส่งรถถังชาแลนเจอร์ให้ยูเครนต่อหน้าสมาชิกรัฐสภา และใช้โอกาสนี้เรียกร้องไปที่เยอรมนีให้ส่งเลพเพิร์ด 2 ให้ยูเครนโดยด่วน
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรเพิ่งประกาศส่งรถถังชาแลนเจอร์ซึ่งเป็นรถถังรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงให้ยูเครน ซึ่งบ่งชี้ว่า นี่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของสงคราม และเป็นแรงกดดันให้เยอรมนีต้องตัดสินใจเรื่องการส่ง Leopard 2 ให้ยูเครนโดยด่วน
หากปราศจาก Leopard 2 จากเยอรมนี ก็ยากที่ยูเครนจะได้เปรียบ เพราะจำนวนของรถถังสมัยใหม่ที่ยูเครนต้องการเพื่อให้ได้เปรียบในสงครามมีไม่ต่ำกว่า 100 คัน ซึ่งเป็นไปแทบไม่ได้เลย ที่ชาติพันธมิตรยูเครนจะสามารถหาได้ ต้องได้รับมาจากประเทศผู้ผลิตเท่านั้น
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีลังเลเกี่ยวข้องโดยตรงกับความไม่มั่นใจของเยอรมนี ซึ่งเกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังจากที่เยอรมนีภายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีพยายามพัฒนาประเทศให้ออกห่างจากภาพพจน์อันโหดร้ายที่ฮิตเลอร์เคยสร้างไว้ ซึ่งผลของแนวคิดดังกล่าวได้ฝังอยู่ในรากฐานการวางนโยบายการต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของเยอรมนีด้วย
โดยการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของเยอรมนีจะให้ความสำคัญกับการเจรจาเชิงสันติและวิธีการทางการทูตเป็นหลัก ตลอดจนห้ามไม่ให้กองทัพไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งต่างๆ ยกเว้นการส่งกองกำลังไปรักษาสันติภาพเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นักการเมืองเยอรมันทุกคนจะเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์
นักการเมืองหลายคนจากทั้งพรรค CDU และพรรคกรีน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งจากการต่อต้านสงคราม ประกาศจุดยืนสนับสนุนการส่งอาวุธและรถถัง
โดยฟรีดริช เมิร์ซ ประธานพรรคอนุรักษ์นิยมเยอรมันย้ำว่า บริบทโลกเปลี่ยนไปแล้ว และรัฐบาลเยอรมนีควรเปลี่ยนวิธีคิดใหม่
ส่วนฝั่งพรรคกรีน แอนนาเลนนา แบร์บ็อก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีย้ำจุดยืนเรื่องการส่งอาวุธให้ยูเครนมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนสำคัญที่จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศอย่างไอริสทีเอสแอลเอ็มให้แก่ยูเครน
ต้องดูว่าการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมชาติพันธมิตรยูเครน ในวันศุกร์นี้ เยอรมนีจะยอมส่งรถถังหรือไม่ หลายฝ่ายคาดว่าเยอรมนีอาจไม่ขวางการส่งรถถังของโปแลนด์และฟินแลนด์
แต่การส่งจากเยอรมนีโดยตรงนั้นน่าจะยังไม่เกิดขึ้น และหากเกิดขึ้น เยอรมนีอาจใช้วิธีส่งอะไหล่ของรถถังเลพเพิร์ด 2 ไปให้ประเทศอื่นประกอบและส่งให้แก่ยูเครนแทน