“พาโบล เอสโกบาร์” คือชื่อของหนึ่งในอาชญากรที่ร่ำรวยที่สุดในโลกชาวโคลอมเบีย เจ้าของสมญา “ราชาโคเคน” ซึ่งแม้ตัวเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ทรัพย์สินและมรดกที่เขาทิ้งเอาไว้ยังคงหลงเหลือให้จัดการไม่หวาดไม่ไหว
หนึ่งในสมบัติเจ้าปัญหาของเอสโกบาร์คือ “ฮิปโปโปเตมัส” นับร้อยตัว เป็นลูกหลานที่เกิดจากไร่อาเซียนดานาโปเลส (Hacienda Napoles) สวนสัตว์ส่วนตัวของเขา พวกมันมักถูกเรียกว่าเป็น “ฮิปโปโคเคน” ตามเจ้าของของพวกมันที่เป็นราชาโคเคน
เราจะทำร้ายธรรมชาติอีกแค่ไหน? พบโรคใหม่ในนกทะเล เกิดจาก “ขยะพลาสติก”
ญี่ปุ่นไม่ได้มีเกาะแค่ 6,800 แห่ง แต่มากกว่านั้น 2 เท่า
นักวิทยาศาสตร์พบ “ทางเดินลับ” ซ่อนอยู่ในมหาพีระมิดแห่งกิซา
ล่าสุด โคลอมเบียมีแผนที่จะส่งฮิปโปโคเคนเหล่านี้ไปยังบ้านใหม่ในอินเดียและเม็กซิโก เพื่อควบคุมจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปของพวกมัน โดยขณะนี้มีฮิปโปโคเนมากถึง 130-160 ตัว จากเดิมในยุคเอสโกบาร์ที่มีฮิปโปโปเตมัสตัวผู้เพียง 1 ตัวและตัวเมียอีก 3 ตัวเท่านั้น
ฮิปโปโปเตมัสเป็นหนึ่งในสัตว์หายากที่เอสโกบาร์สะสมไว้ในช่วงทศวรรษ 1980 ที่สวนสัตว์ของเขา ซึ่งvอยู่ห่างจากเมืองหลวงเมเดยินประมาณ 250 กิโลเมตร
หลังจากที่เอสโกบาร์เสียชีวิตในปี 1993 ทางการโคลอมเบียได้ย้ายสัตว์อื่น ๆ ส่วนใหญ่ไปยังบ้านใหม่แล้ว แต่ไม่เคยย้ายฮิปโปโปเตมัสมาก่อน เนื่องจากขนส่งยาก
นั่นทำให้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกมันก็เริ่มขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยบางส่วนออกมาอาศัยนอกเขตไร่อาเซียนดานาโปเลส ไปอยู่ตามลุ่มแม่น้ำมักดาเลนา และสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ก่อนหน้านี้ ทางการโคลอมเบียพยายามควบคุมประชากรพวกมันด้วยการคุมกำเนิด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก มีการศึกษาพบว่า ภายใน 20 ปี หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม ฮิโปโคเคนเหล่านี้อาจเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็น 1,500 ตัว ซึ่งจะสร้างปัญหายิ่งขึ้นไปอีก
ขณะนี้ โคลอมเบียมีแผนที่จะย้ายฮิปโปโคเคนบางส่วน คือ 70 ตัว ไปยังเขตอนุรักษ์ธรรมชาติในอินเดีย 60 ตัว และเม็กซิโกอีก 10 ตัว
อันนิบาล กาวิเรีย ผู้ว่าการภูมิภาคแอนติโอกัว ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสัตว์ของเอสโกบาร์ กล่าวว่า เป้าหมายของปฏิบัติการนี้คือ “พาพวกมันไปยังประเทศที่มีสถาบันซึ่งมีความสามารถในการรับพวกมัน และหาบ้านให้พวกมันอย่างเหมาะสม และควบคุมการแพร่พันธุ์ของพวกมัน”
กาวิเรียกล่าวว่า การขนย้ายจะแล้วเสร็จภายในครึ่งแรกของปีนี้ หากผ่านขั้นตอนการอนุญาตต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสถาบันการเกษตรโคลอมเบีย
เขาเสริมว่า ที่ต้องส่งไปอินเดียและเม็กซิโกแทนที่จะเป็นบ้านเกิดในแอฟริกานั้น เพราะการส่งฮิปโปโปเตมัสกลับไปยังดินแดนบ้านเกิด “ไม่ได้รับอนุญาต” เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย
มาเรีย แองเจลา เอเชเวอรี ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาเวเรียนา อธิบายว่า การส่งฮิปโปโปเตมัสกลับแอฟริกามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมากกว่าผลดี ทั้งต่อตัวฮิปโปโปเตมัสเองและระบบนิเวศในท้องถิ่น
“ทุกครั้งที่เราย้ายสัตว์หรือพืชจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มันเป็นการย้ายเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสตามไปด้วย และเราอาจนำโรคใหม่ ๆ มาสู่แอฟริกา ไม่ใช่แค่กับฮิปโปโปเตมัสที่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรคใหม่ ๆ ต่อระบบนิเวศของแอฟริกาทั้งหมดด้วย” เอเชเวอรีกล่าว
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก AFP