ภาพปลอม! มือดีใช้เอไอทำภาพเหตุระเบิดใกล้ตึกเพนตากอน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ใครพบเห็นอย่าแชร์ ภาพเหตุระเบิดใกล้อาคารเพนตากอนของสหรัฐฯ เป็น “ภาพปลอม” ที่สร้างโดยเอไอ

เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.) โลกทวิตเตอร์ที่สหรัฐฯ มีการเผยแพร่ภาพคล้ายกับเหตุระเบิดใกล้กับอาคารของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน โดยมีลักษณะเป็นกลุ่มควันสูงสีเทาเข้มพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า แม้แต่บัญชีผู้ใช้หลายคนที่มีเครื่องหมายยืนยันตัวตนติ๊กถูกสีฟ้าก็มีการเผยแพร่ภาพดังกล่าว จนเกิดความตื่นตระหนกกันยกใหญ่

OSINTdefender ซึ่งเป็นบัญชีทวิตเตอร์ที่มักเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งทางทหารระหว่างประเทศและมีผู้ติดตามมากกว่า 336,000 คน เป็นหนึ่งในบัญชีที่ได้รับการยืนยันซึ่งเผยแพร่รูปภาพดังกล่าว

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง2566 : เปิด “MOU 8 พรรค” แถลงจัดตั้งรัฐบาล
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
เช็กปฏิทินเดือนมิถุนายน 2566 มีวันหยุดราชการ-ธนาคาร ตรงกับวันไหนบ้าง

 

อีกบัญชีที่มีเครื่องหมายถูกสีน้ำเงิน และอ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Bloomberg ก็รายงานว่า “เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ใกล้ตึกเพนตากอนในวอชิงตัน ดี.ซี.” จนบัญชีดังกล่าวถูกระงับโดยทวิตเตอร์

อย่างไรก็ดี กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมายืนยันว่า ภาพดังกล่าวเป็นเพียง “ภาพที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)” เท่านั้น กระนั้น กระแสความตระหนกที่เกิดขึ้นก็ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดิ่งลงชั่วคราว

โดยดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงประมาณ 80 จุดระหว่างเวลา 10:06 น. ถึง 10:10 น. และฟื้นตัวเต็มที่ในเวลา 10:13 น. ในขณะเดียวกันดัชนี S&P 500 จากที่เพิ่มขึ้น 0.02% ก็กลับลดลง 0.15% ก่อนดัชนีจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้งใน 5 นาทีต่อมา

ขณะที่หน่วยงานดับเพลิงในเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ก็ออกมายืนยันว่า ภาพดังกล่าวเป็นของปลอม “หน่วยดับเพลิงและสำนักงานคุ้มครองกำลังของเพนตากอนรับทราบรายงานทางโซเชียลมีเดียที่เผยแพร่ทางออนไลน์เกี่ยวกับการระเบิดใกล้กับเพนตากอนแล้ว แต่ไม่มีการระเบิดหรือเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่หรือใกล้กับเขตสงวนเพนตากอน และไม่มีอันตรายใดต่อสาธารณะเกิดขึ้น”

ขยายอำนาจแข่งกับจีน! สหรัฐลงนามข้อตกลงด้านกลาโหมกับปาปัวนิวกินี

จีนพบแหล่งทองคำ 580 ตันในซานตง รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านหยวน!

จีนสั่งแบนชิปของบริษัทสหรัฐฯ “ไมครอน” อ้างเหตุผลความมั่นคง

ภาพที่สร้างขึ้นโดยเอไอดังกล่าว เป็นการตอกย้ำถึงความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่บิดเบือนซึ่งเกิดจากเอไอ ทั้งนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า ต้นตอของภาพปลอมนี้มีที่มาจากไหน

OSINTdefender ออกมาขออภัยสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ และกล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นตัวอย่างของวิธีการที่ “รูปภาพประเภทนี้สามารถใช้เพื่อสร้างข้อมูลปลอมได้อย่างง่ายดาย และสิ่งนี้อาจอันตรายเพียงใดในอนาคต”

รายงานเท็จเกี่ยวกับเหตุการระเบิดยังถูกนำไปออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์รายใหญ่ของอินเดีย Republic TV ซึ่งรายงานว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น โดยแสดงภาพปลอมในการออกอากาศและอ้างรายงานจากสำนักข่าวรัสเซีย RT ต่อมาได้ถอนรายงานดังกลาวออกเมื่อเห็นได้รับรายงานว่าเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงและเป็นเพียงภาพปลอมเท่านั้น

ฮานี ฟาริด ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัล กล่าวว่า “ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะโดยทั่วไปของการสร้างภาพโดยเอไอ มีข้อผิดพลาดทางโครงสร้างในอาคารและรั้วที่คุณมองไม่เห็น ซึ่งหมายความว่า มีคนเพิ่มควันลงในภาพถ่ายดั้งเดิม”

 

เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian

ภาพจาก AFP

คอนเทนต์แนะนำ
ย้ำบทเรียนรัฐประหาร ชู 8 ข้อเสนอก้าวข้ามวิกฤติการเมืองรอบใหม่
เช็กสิทธิ! เปิดสมัครสอบครูผู้ช่วย ปี 2566
MOU คืออะไร? ทำไมกลายเป็นเงื่อนไขในการจัดตั้งรัฐบาล

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP ต่างประเทศ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ