พบตัวกินมดหนามที่เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในอินโดนีเซีย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักวิทยาศาสตร์ถ่ายภาพตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวที่ไม่พบมานานกว่า 60 ปี ได้เป็นครั้งแรก บนเทือกเขาในประเทศอินโดนีเซีย

ภาพตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระนี้ถูกถ่ายได้โดยกล้องดักถ่ายสัตว์ในวันสุดท้ายของภารกิจสำรวจ 4 สัปดาห์ ซึ่งนำโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด บนเทือกเขาไซคลอปส์ (Cyclops Mountains) ในจังหวัดปาปัว ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย

ลักษณะเด่นของตัวกินมดหนาม หรืออีคิดนา (echidna) ชนิดนี้คือ มีหนามเหมือนเม่น ปากยาวแบบตัวกินมด และเท้าเหมือนตุ่น ขณะที่ชื่อของมันตั้งตามนักธรรมชาติวิทยาชื่อดังชาวอังกฤษ เดวิด แอตเทนบะระ (David Attenborough)

นักวิทย์สกัด RNA จากสัตว์สูญพันธุ์สำเร็จครั้งแรก

ครองสถิติ! อินโดนีเซียพบจระเข้จู่โจมมนุษย์มากที่สุดในโลก

จำนวนประชากรสัตว์ป่าบนโลก กำลังลดลงเร็วกว่าที่คาด!

เทือกเขาไซคลอปส์ในจังหวัดปาปัวของอินโดนีเซีย

 

ตัวกินมดหนามเป็นสัตว์กลางคืนที่อาศัยอยู่ตามโพรงและมีนิสัยขี้อาย จึงขึ้นชื่อว่าพบเห็นได้ยากมากๆ

แม้ว่าตัวกินมดหนามจะงอยปากสั้นจะพบได้ทั่วไปในออสเตรเลีย และพื้นที่ลุ่มบนเกาะนิวกีนี แต่สำหรับตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระนั้น เพิ่งเคยมีการบันทึกหลักฐานการมีอยู่ได้เพียงครั้งเดียวโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ เมื่อปี ค.ศ. 1961

เจมส์ เคมป์ตัน (James Kempton) นักชีววิทยาที่อยู่ในทีมสำรวจ บอกว่า ภาพที่บันทึกได้มาจากเมมโมรีการ์ดอันสุดท้ายที่เก็บมาจากกล้องที่วางกว่า 80 ตัว ซึ่งทำให้ทุกคนดีใจกันสุดๆ หลังลงพื้นที่กันมานานมากแต่ไม่ได้อะไรเลยจนกระทั่งวันสุดท้ายจริงๆ

เคมป์ตันอธิบายด้วยว่า เหตุผลที่ตัวกินมดหนามไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ เป็นเพราะมันอยู่ในกลุ่มโมโนทรีม (monotremes) หรือกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่ ซึ่งแยกสายวิวัฒนาการออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือเมื่อ 200 ล้านปีก่อน และถือว่าเป็น “ฟอสซิลโบราณที่ยังมีชีวิต” เพราะเชื่อว่ามันมีชีวิตอยู่มาตั้งแต่ยุคที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่บนโลก

ภาพ: HANDOUT / EXPEDITION CYCLOPS / AFP

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ