อุณหภูมิพื้นดินในแอนตาร์กติกาตะวันออกพุ่งสูงขึ้นมากกว่า 28 องศาเซลเซียสเหนือระดับปกติ จากปรากฏการณ์คลื่นความร้อนครั้งใหญ่ระลอกที่สองที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยคลื่นความร้อนครั้งประวัติศาสตร์นี้อาจคงอยู่ต่อไปอีก 10 วัน
นี่เป็นตัวอย่างอันน่าสะพรึงกลัวของอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากจากภาวะโลกร้อน และมีการประเมินว่า ภูมิอากาศแบบขั้วโลกนี้อาจประสบพบเจออุณหภุมิร้อนผิดปกติแบบนี้บ่อยขึ้น
เอ็ดเวิร์ด แบลนชาร์ด นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน “คลื่นความร้อนครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกือบจะทำลายสถิติสำหรับภูมิภาคแอนตาร์กติกา”
คลื่นความร้อนเกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูหนาวของแอนตาร์กติกา ดังนั้นอุณหภูมิจึงยังคงอยู่ที่ประมาณ -20 องศาเซลเซียส ทั้งที่ปกติจะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ -50 องศาเซลเซียส
นักมวยไม่ผ่านตรวจเพศ แม้ชนะในโอลิมปิก แต่คู่แข่งร้องไห้ปฎิเสธจับมือ
เช็กที่นี่ ลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รู้ผลวันไหน
Apple UK ลบคลิปแล้ว! ปมโฆษณาดรามาประเทศไทย
ความผิดปกติของอุณหภูมิในแอนตาร์กติกาถือเป็นความผิดปกติของอุณหภูมิที่มากที่สุดในโลกตามแบบจำลองสภาพอากาศ โดยคาดว่าอุณหภูมิจะอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียสในพื้นที่บางส่วนของแอนตาร์กติกาตะวันออกในอีก 10 วันข้างหน้า
อุณหภูมิแอนตาร์กติกายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัดตลอดเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา แต่ไม่สูงเท่าตอนนี้ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12 องศาเซลเซียสเหนือค่าเฉลี่ย
สถานีตรวจอากาศที่ขั้วโลกใต้ยังเจอกับเดือน ก.ค. ที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 2002 โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 6.3 องศาเซลเซียส
สเตฟาโน ดี แบตทิสตา นักวิเคราะห์อุณหภูมิในแอนตาร์กติกา บอกว่า ระหว่างวันที่ 20-30 ก.ค. ที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยที่สถานีตรวจอากาศอยู่ที่ -47.6 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติหากเกิดในช่วงปลายเดือน ก.พ. ที่เป็นปลายฤดูร้อนในแอนตาร์กติกา แต่นี่กลับเกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูหนาวของภูมิภาค
“คลื่นความร้อนบนที่ราบสูงแอนตาร์กติกาเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาทั้งในแง่ของระยะเวลาและความรุนแรง” ดี แบตทิสตา กล่าว
แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปแอนตาร์กติกาจะอบอุ่นเป็นพิเศษในช่วงนี้ แต่พื้นที่ทางตอนเหนือกลับเกิดความหนาวเย็นอย่างรุนแรงในช่วงต้นเดือน ก.ค. โดยเมื่อวันที่ 17 สถานีตรวจอากาศที่โดมฟูจิลดลงเหลือ -82.1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่หนาวที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเดือน ก.ค. เท่าที่เคยมีการบันทึกไว้
สำหรับสาเหตุของคลื่นความร้อนครั้งนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกิดขึ้นในชั้นสตราโตสเฟียร์ เหนือพื้นดิน 30 กิโลเมตร
ชั้นสตราโตสเฟียร์ประกอบด้วยแถบอากาศเย็นที่แข็งแกร่งและความกดอากาศต่ำที่หมุนรอบขั้วโลกแต่ละขั้ว ซึ่งเรียกว่ากระแสลมขั้วโลก
เอมี บัตเลอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศจากสำนักงานบริหารบรรยากาศและมหาสมุทรแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) กล่าวว่า กระแสลมจะแรงและเสถียรในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกใต้ แต่ในปีนี้ กระแสลมถูกคลื่นบรรยากาศกระแทก ทำให้อ่อนลง จนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ปรากฏการณ์โลกร้อนฉับพลันในชั้นสตราโตสเฟียร์”
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์โลกร้อนฉับพลันในชั้นสตราโตสเฟียร์ยังส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศด้านล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดสภาพอากาศด้วย ภาวะโลกร้อนทำให้ลมตะวันตกบริเวณแอนตาร์กติกาอ่อนลง ส่งผลให้ลมหนาวที่ปกติอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้พัดไปทางเหนือสู่ประเทศนิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้ตอนใต้ เหมือนกับประตูตู้เย็นที่เปิดแง้มไว้ ทำให้ความหนาวเย็นหนีหายไปจากทวีปแอนตาร์กติกาตะวันออก และอุณหภูมิในบริเวณดังกล่าวก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เรียบเรียงจาก Washington Post
ผ้าคลุมรถกันความร้อน และ 4 ไอเทมที่ช่วยทำให้รถดูสวยใหม่ตลอดเวลา