ในอนาคต ดวงจันทร์อาจกลายเป็นบ้านพลังใหม่ของมนุษยชาติ โดยที่ผ่านมาเคยมีการถูดถึงแผนการสร้างที่อยู่อาศัยถาวรของมนุษย์ ระบบรถไฟลอยฟ้า และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใหม่ แต่ก่อนที่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น ดวงจันทร์น่าจะต้องการ “แสงสว่าง” ก่อน
ดวงจันทร์มีช่วงเวลากลางวัน-กลางคืนที่ประหลาด เพราะมีช่วงเวลากลางวันที่สว่างนาน 2 สัปดาห์ ก่อนจะสลับไปเป็นช่วงกลางคืนอันมืดมิดและหนาวเหน็บอีก 2 สัปดาห์
ช่วงเวลากลางคืนที่ยาวนานนี้ถือเป็นหายนะสำหรับยานสำรวจดวงจันทร์ที่ต้องพึ่งพาแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน และอาจเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับมนุษย์ที่จไปอยู่ที่นั่นในอนาคต
ล่าสุด บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ “ฮันนีบีโรโบติดส์” (Honeybee Robotics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบลูออริจิน (Blue Origin) ของมหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส ได้เสนอวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว นั่นคือ “การติดตั้งประภาคารหรือเสาไฟขนาดใหญ่บนดวงจันทร์
โครงการนี้มีชื่อเรียกว่า “ลูนาร์เซเบอร์” (LUNARSABER – ย่อมาจาก Lunar Utility Navigation with Advanced Remote Sensing and Autonomous Beaming for Energy Redistribution)
มันเป็นหนึ่งในหลายโครงการที่ได้รับเงินทุนจากสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงทางความมั่นคง (DARPA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อเริ่มต้นยุคใหม่ของการสำรวจดวงจันทร์
เปิดข้อมูล "พรรคถิ่นกาขาว" ก่อนเปลี่ยนสู่ "พรรคประชาชน" สังกัดใหม่สีส้ม!
ผลยกน้ำหนักชายโอลิมปิก 2024 วีรพล วิชุมา ผงาดคว้าเหรียญเงิน
"เบรกแดนซ์" กีฬาชนิดใหม่ที่บรรจุในโอลิมปิก 2024
วิดีโอโปรโมตล่าสุดที่โพสต์บนยูทูบแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีนี้ก้าวหน้าไปมาก
วิษณุ ซานิเกปาลลี หัวหน้านักวิจัยของโครงการ ได้อธิบายในวิดีโอว่า ลูนาร์เซเบอร์แต่ละแห่งจะสูงกว่าไฟถนนที่ตั้งอยู่ตามมุมถนนใกล้บ้านของทุกคนมาก โดยจะมีความสูงถึง 100 เมตร หรือสูงกว่าเทพีเสรีภาพ
เสาไฟขนาดใหญ่เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันของดวงจันทร์ จากนั้นจึงส่องสว่างบริเวณโดยรอบด้วยไฟสปอตไลท์อันทรงพลังในช่วงกลางคืนที่ยาวนาน 2 สัปดาห์บนดวงจันทร์
ซานิเกปาลลีอธิบายว่า ระดับความสูงของไฟมีความสำคัญมาก เพราะพื้นผิวดวงจันทร์เต็มไปด้วยหลุมบ่อที่เกิดจากอุกกาบาต หากต้องการให้มีแสงสว่างทั่วถึงจึงต้องใช้ไฟที่มีความสูงมาก รวมถึงยังสามารถเป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์สื่อสารได้ด้วย
ในขณะเดียวกัน ฐานของเสาไฟแต่ละแห่งจะติดตั้งอะแดปเตอร์ไฟฟ้าเพื่อช่วยชาร์จยานสำรวจดวงจันทร์หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ บนดวงจันทร์ที่อยู่ใกล้เคียงได้
ซานิเกปาลลีกล่าวว่า หากสามารถติดตั้งลูนาร์เซเบอร์ได้หลายจุดบนดวงจันทร์ เครือข่ายประภาคารเหล่านี้อาจทำหน้าที่เป็นโครงข่ายไฟฟ้าแห่งแรกของดวงจันทร์ได้
แน่นอนว่า การสร้างโครงสร้างขนาดมหึมาดังกล่าวบนดวงจันทร์นั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ วิศวกรของฮันนีบีได้ออกแบบระบบอัตโนมัติ ทำให้ลูนาร์เซเบอร์แต่ละแห่งสามารถตั้งขึ้นจากฐานของมันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการดัดแถบโลหะให้ม้วนเป็นท่อทรงกระบอกสูง ซึ่งหมายความว่ายานอวกาศจะต้องกังวลแค่เรื่องการนำฐานของอุปกรณ์ไปยังดวงจันทร์โดยที่หอคอยนั้นถูกม้วนเก็บอยู่ภายใน
โครงการนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาบนโลก แต่เป็นหนึ่งใน 12 โครงการที่ DARPA อนุมัติให้ทำงานศึกษาต่อได้ ซึ่งอย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่า ถ้าในอนาคตมีมนุษย์ไปอยู่บนดวงจันทร์จริง ๆ พวกเขาก็จะไม่ต้องอยู่ในความความมืด
เรียบเรียงจาก Live Science