นักวิทย์ถ่ายภาพความละเอียดสูงพื้นผิว “ดาวเหนือ” ได้เป็นครั้งแรก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กล้อง CHARA Array ในสหรัฐฯ ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวเหนือได้สมบูรณ์และชัดเจนที่สุดเป็นครั้งแรก

“ดาวเหนือ” (Polaris) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และดาวดวงแรก ๆ บนท้องฟ้าที่เราหลายคนได้รู้จัก เพราะเป็นดาวที่มองเห็นได้ตลอดในตำแหน่งเดิม จนผู้คนสมัยก่อนใช้เป็นตำแหน่งในการบอกทิศทาง

ที่ผ่านมาไม่ว่าจะนักดาราศาสตร์หรือประชาชนทั่วไปต่างเคยการถ่ายภาพดาวเหนือจากหลายสถานที่หลายมุม มีทั้งที่ถ่ายจากหอดูดาว ไปจนถึงภาพถ่ายง่าย ๆ จากสวนหลังบ้านของผู้คน

คอนเทนต์แนะนำ
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพกระจุกดาวฤกษ์เกิดใหม่ ในกลุ่มดาวเพอร์ซิอุส
รู้วิธี “สกัดน้ำจากดินดวงจันทร์” แล้ว! พบดิน 1 ตันสกัดน้ำได้ 50 กก.
กาแล็กซีทางช้างเผือก-แอนโดรเมดา อาจไม่ชนกันอย่างที่เคยคาดการณ์

นักวิทย์ถ่ายภาพความละเอียดสูงของพื้นผิวดาวเหนือได้เป็นครั้งแรก CHARA Array
ภาพพื้นผิวดาวเหนือที่ถ่ายโดยกล้อง CHARA Array

แต่ล่าสุด กล้อง CHARA Array บนภูเขาวิลสันในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวเหนือที่สมบูรณ์และชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งเผยให้เห็นข้อมูลหลายอย่างเกี่ยวกับดาวเหนือที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของดาวเหนือที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนคือ มันมี “จุด” (Spot) บนพื้นผิวของดาว คล้ายกับจุดมืด (Sunspot) บนดวงอาทิตย์

เกล ชาเฟอร์ ผู้อำนวยการ CHARA Array กล่าวว่า “ภาพจาก CHARA เผยให้เห็นจุดสว่างและจุดมืดขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดาวเหนือที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา”

“เสรีพิศุทธ์” เปิดแชตยันพบ “ทักษิณ” ชั้น 14 จ่อแฉ EP.2 รพ.ตำรวจ ลั่น คนเกี่ยวข้องต้องติดคุก

พบผู้สูญหายคนแรกอุโมงค์ถล่มเสียชีวิตแล้ว เร่งค้นหา 2 คนที่เหลือ

เปิดสถิติหวยออกประจำปี 2567 หวยออกวันไหนบ้าง ?

ทั้งนี้ ดาวเหนือไม่ใช่ดาวฤกษ์ธรรมดาทั่วไป แต่เป็นดาวประเภทหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ “ดาวแปรแสงเซเฟอิด” (Cepheid Variable Star) หรือดาวที่สว่างขึ้นและหรี่ลงเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะดาวเหนือที่จะสว่างขึ้นและหรี่ลงทุก ๆ 4 วัน

คุณลักษณะนี้ของดาวเซเฟอิดทำให้นักดาราศาสตร์สามารถใช้ดาวเหล่านี้ในการวัดระยะห่างในจักรวาลได้ และการสังเกตการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเซเฟอิดในรอบหนึ่งสามารถเปิดเผยความสว่างที่แท้จริงของดาวได้ด้วย

ทีม CHARA กล่าวว่า ภาพความละเอียดสูงของดาวเหนือนี้ถือเป็น “ภาพแรกของลักษณะพื้นผิวของดาวแปรแสงเซเฟอิด” และบอกว่า การพบจุดบนพื้นผิวนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่จุดเหล่านี้ไม่ใช่ผลลัพธ์เดียวจากการวิเคราะห์ของทีม

ต่างจากดวงอาทิตย์ที่โดดเดี่ยวของเรา ดาวเหนือไม่ได้โคจรด้วยตัวของมันเอง มันมีขนาดประมาณ 46 เท่าของดวงอาทิตย์และอยู่ห่างจากเราไปมากกว่า 400 ปีแสง

ดาวเหนือเป็นส่วนหนึ่งของระบบดาวฤกษ์ 3 ดวง โดยมันเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์พี่น้องของมัน

ทีมผู้ถ่ายภาพบอกว่า ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะช่วยยืนยันสิ่งต่าง ๆ เช่น ขนาดของดาวเหนือ และชี้ให้เห็นว่า ดาวดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 5 เท่า ซึ่งหนักกว่าที่เคยคาดไว้

การค้นพบนี้มีความสำคัญในตัวของมันเอง เนื่องจากมีดาวเซเฟอิดเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่สามารถระบุมวลได้ นอกจากนี้ การค้นพบนี้ยังตั้งคำถามที่น่าสนใจบางประการให้กับการสำรวจในอนาคตอีกด้วย “มวลรวมกับระยะทางแสดงให้เห็นว่าดาวเซเฟอิดส่องสว่างมากกว่าที่คาดไว้สำหรับมวลนี้จากเส้นทางวิวัฒนาการ”

อย่างไรก็ตาม จุดบนดาวเหนือดูเหมือนจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ โดยบริเวณของดาวที่มองเห็นจุดและอัตราการหมุนของดาวดูเหมือนจะบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงความเร็วในแนวรัศมี หรือการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุเมื่อมองตามเส้นสายตาของผู้สังเกต เรื่องนี้ทำให้เกิดปริศนาอีกประการหนึ่ง

จอห์น มอนเนียร์ ศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เราวางแผนที่จะถ่ายภาพดาวเหนือต่อไปในอนาคต เราหวังว่าจะเข้าใจกลไกที่ก่อให้เกิดจุดบนพื้นผิวของดาวเหนือได้ดีขึ้น”

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Space.com

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ