เปิดจุดอ่อน-จุดแข็ง “ทรัมป์-แฮร์ริส” ก่อนศึกดีเบตนัดแรก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ก่อนถึงศึกดีเบตนัดแรก มาดูจุดอ่อน-จุดแข็งของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส

จนถึงตอนนี้เหลือเวลาเพียงไม่ถึง 2 เดือน ก่อนจะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดังนั้น การเผชิญหน้ากันครั้งแรกระหว่างทรัมป์และแฮร์ริส บนเวทีดีเบต จึงอาจเป็นจุดเปลี่ยนของการแข่งขันของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากทั้งสองคนไม่เคยประชันวิสัยทัศน์กันมาก่อน และนี่อาจจะเป็นดีเบตครั้งเดียวของทั้งคู่ เพราะทรัมป์เสนอให้ดีเบตเพิ่มเติม แต่แฮร์ริสยังตกลงจะเข้าร่วมดีเบตแค่ครั้งนี้ครั้งเดียวเท่านั้น

คอนเทนต์แนะนำ
ประวัติ “โดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้หวังคว้าชัยสมัย 2
ประวัติ “กมลา แฮร์ริส” รองผู้นำหญิงที่ “ไบเดน” เสนอชื่อชิง ปธน.สหรัฐฯ

เปิดจุดอ่อน-จุดแข็ง โดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ก่อนศึกดีเบตนัดแรก AFP/Peter Zay
โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ดีเบตครั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ ABC News จะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งถือเป็นรัฐสวิงสเตทที่ทรัมป์ชนะในปี 2016 และประธานาธิบดี โจ ไบเดน ชนะในปี 2020

ดีเบตจะเริ่มขึ้นในช่วงค่ำวันที่ 10 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 08.00 น.พรุ่งนี้ ตามเวลาประเทศไทย ดำเนินรายการโดยพิธีกรของ ABC News คือ เดวิด เมียร์ และลินซีย์ เดวิส

ทีมหาเสียงของทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะยึดตามกฎกติกาเดิมที่ใช้ในศึกดีเบตระหว่างทรัมป์และไบเดน นั่นคือ ผู้ดีเบตแต่ละคนจะได้เวลาคนละ 2 นาที ในการตอบคำถามต่าง ๆ และอีก 2 นาที ในการชี้แจงและตอบโต้อีกฝ่าย รวมถึงจะมีโอกาสในการพูดปิดอีกคนละ 2 นาที

ตลอดการดีเบต ความยาว 90 นาที ผู้ดำเนินรายการจะเป็นผู้ถามคำถามเท่านั้น คู่ดีเบตไม่สามารถถามกันเองได้, ไมโครโฟนจะเปิดก็ต่อเมื่อถึงเวลาพูดเท่านั้น, ไม่มีการแจกคำถามหรือหัวข้อดีเบตก่อนล่วงหน้า แต่คาดว่าประเด็นหลัก ๆ น่าจะเป็นเรื่องจุดยืนและนโยบายต่าง ๆ ของผู้ท้าชิง, ผู้ดีเบตห้ามนำโพยหรือกระดาษโน๊ตเข้าไป และห้ามมีปฏิสัมพันธ์กับทีมหาเสียง ระหว่างการดีเบต

และดีเบตครั้งนี้ จะไม่มีผู้ชมนั่งชมสดในสตูดิโอ ซึ่งเหมือนกับการดีเบตครั้งก่อนระหว่างทรัมป์และไบเดน

มาลองวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งของผู้ท้าชิงแต่ละคนกัน

อุตุฯ เตือนช่วง 13-19 ก.ย. นี้ เฝ้าระวัง “ฝนตกหนัก”

เช็กสถิติ 10 นัดหลัง บอลไทย พบ เวียดนาม ก่อนศึก LP BANK CUP 2024

รวบ “อิงฟ้า-อารยา” นางแบบสาวชื่อดัง แปะลิงก์ชวนเล่นพนัน!


อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ วัย 78 ปี ตัวแทนพรรครีพับลิกัน

มีประสบการณ์บนเวทีดีเบตเลือกตั้งประธานาธิบดีมาแล้วถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2016 เขาเป็นผู้ดีเบตที่มีคาแรกเตอร์โดดเด่น และเป็นคู่แข่งที่รับมือได้ยาก ไม่ว่าอีกฝ่ายจะมีประสบการณ์ทางการเมืองมามากขนาดไหนก็ตาม เห็นจากเมื่อครั้งที่ทรัมป์ดีเบตกับ ฮิลลารี คลินตัน อดีตผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครต เมื่อปี 2016 ทรัมป์ป่วนไม่หยุด และดึงความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่เขาได้ แม้แต่ในช่วงที่คลินตันเป็นฝ่ายตอบคำถาม

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ทรัมป์เป็นคนที่คาดเดาได้ยาก นอกจากใช้กลยุทธ์โจมตีนโยบายอีกฝ่ายแล้ว เขายังชอบโจมตีในเรื่องส่วนตัว แต่ความโผงผางก้าวร้าวและพูดไม่หยุดของเขา ก็เป็นเหมือนดาบสองคม

ทรัมป์ยังมีปัญหาในการควบคุมตนเอง เมื่อต้องตอบคำถามที่ไม่ถูกใจหรือไม่เข้าหู เขามักจะหันไปใช้วิธีโจมตีผู้ถามแทน และสิ่งที่ผู้ฟังต้องระวังเป็นพิเศษคือเรื่องข้อเท็จจริง เพราะจากดีเบตครั้งก่อน มีการเปิดเผยว่าทรัมป์มั่วข้อมูลอยู่หลายจุด และชอบพูดถึงทฤษฎีสมคบคิด

พีต บุตติเจจ รัฐมนตรีคมนาคม ซึ่งมีประสบการณ์ในการเตรียมตัว ในฐานะอดีตผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อปี 2020 บอกว่า ถ้าต้องเผชิญหน้ากับทรัมป์ เราอาจจะต้องมีพลังยอดมนุษย์ในการโฟกัสและควบคุมตัวเอง เพราะทรัมป์ไม่ได้เก่งแค่เรื่องการอธิบายไอเดียและนโยบายของตัวเองให้คนฟังรู้สึกตาม แต่เขายังเก่งในการทำให้โชว์ทั้งโชว์มีแต่เรื่องของเขา

เปิดจุดอ่อน-จุดแข็ง โดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ก่อนศึกดีเบตนัดแรก AFP/SAUL LOEB
กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ

รองประธานาธิบดีแฮร์ริส วัย 59 ปี ตัวแทนพรรคเดโมแครต

จุดเด่นของแฮร์ริส คือ ประสบการณ์ในฐานะอดีตอัยการรัฐแคลิฟอร์เนีย เธอจึงเก่งในการถามจี้จุดแบบเฉียบคม และรู้จังหวะว่าเวลาใดควรพูด เวลาใดควรเงียบเพื่อปล่อยให้คู่แข่งตกม้าตายเอง

แต่เนื่องจากกฎในการดีเบตครั้งนี้ เหมือนกับดีเบตครั้งก่อน คือ ไมค์จะถูกปิดไว้ตอนที่อีกฝ่ายพูด ฉะนั้น แฮร์ริสคงจี้ถามหรือพูดสวนทรัมป์ทันที เหมือนที่อัยการชอบทำเวลาซักผู้ต้องหาหรือจำเลย ได้ไม่สะดวกนัก

แต่กฎปิดไมค์ก็คงไม่เป็นประโยชน์กับทรัมป์เช่นกัน เพราะบ่อยครั้งที่เขาชอบพูดแทรกขึ้นมาทันที แม้ว่าอีกฝ่ายจะพูดอยู่ก็ตาม

อีกกลวิธีที่แฮร์ริสใช้ได้ผลมาโดยตลอดในเวทีดีเบตระดับประเทศ คือ การรับมือเมื่อถูกพูดแทรก โดยเธอจะแสดงความตั้งใจที่จะพูดต่อ และบังคับให้คู่ต่อสู้และผู้ฟัง หยุดฟังก่อน เห็นได้จากผลงานการดีเบตชิงรองประธานาธิบดีกับ ไมค์ เพนซ์ อดีตคู่ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน เมื่อปี 2020 กับประโยคที่เป็นไวรัล คือ "Mr. Vice President, I'm speaking"

ส่วนจุดอ่อนของแฮร์ริส หากดูจากคลิปวิดีโอการตอบคำถามหรือบทสัมภาษณ์ของเธอในอดีต จะพบว่าเธอก็มีปัญหาในการตอบคำถามเช่นกัน เมื่อเป็นฝ่ายถูกจี้ถาม และบ่อยครั้งที่เธอชอบใช้ถ้อยคำที่เยิ่นเย้อ เมื่อต้องตอบในสิ่งที่ไม่มั่นใจ จนถูกวิจารณ์ว่าพูดไม่ชัดเจน ซึ่งบนเวทีดีเบต ที่เวลามีจำกัด การตอบให้กระชับและตรงประเด็นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

นอกจากนี้ ผลการสำรวจความเห็นพบว่า แฮร์ริสยังต้องสื่อสารกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยังไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับนโยบายของเธอมากนัก

ความแตกต่างระหว่างทรัมป์ และแฮร์ริส ยังสะท้อนให้เห็นผ่านการเตรียมตัวดีเบตด้วย โดยแฮร์ริสเดินทางถึงเมืองฟิลาเดลเฟียแล้ว และซุ่มฝึกซ้อมการดีเบตอย่างเข้มข้นกับเจ้าหน้าที่ของเธอ

ส่วนฝั่งของทรัมป์ มีกำหนดจะเดินทางถึงเมืองฟิลาเดลเฟียไม่กี่ชั่วโมงก่อนขึ้นเวทีดีเบต และมีรายงานว่า เขาใช้วิธีเตรียมตัวที่ผ่อนคลายมากขึ้น

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล คุณสนใจหรือไม่?

alt="เปิดจุดอ่อน-จุดแข็ง โดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ก่อนศึกดีเบตนัดแรก"

ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต

VS
alt="เปิดจุดอ่อน-จุดแข็ง โดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริส ก่อนศึกดีเบตนัดแรก"

บาเยิร์น มิวนิค

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ