ในวงการวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบลจะถูกมอบให้กับงานวิจัยหรือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่หรือสามารถเปลี่ยนโลกได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีรางวัลของอีกเวทีที่จุดปะสงค์หลักคือเพื่อ “เรียกเสียงหัวเราะ ก่อนจุดประกายความคิด”
เรากำลังพูดถึงรางวัล “Ig Nobel” (อิ๊กโนเบล) ที่ทุกปีจะมอบรางวัลให้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ “ไม่ธรรมดา” สร้างเสียงหัวเราะและความ “อิหยังวะ” ให้กับผู้พบเห็น จำนวน 10 รางวัล
ไม่เว้นแม้แต่ปีนี้ ล่าสุด Ig Nobel 2024 ได้มอบรางวัลสาขาสรีรวิทยาให้กับทีมวิจัยจากญี่ปุ่น ซึ่งศึกษางานวิจัยในหัวข้อ “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถหายใจทางทวารหนักได้”
โดยหลังจากทำการทดสอบกับหนูและหมู นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า สัตว์เหล่านี้ “สามารถดูดซับออกซิเจนที่เข้ามาทางทวารหนัก” ได้ ในลักษณะที่คล้ายกับที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจปกติ
ทีมนักวิจัยสนใจว่า กระบวนการดังกล่าวสามารถนำมาต่อยอดเพื่อใช้รักษาภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้หรือไม่
ทีมวิจัยญี่ปุ่นเริ่มสนใจว่า มนุษย์ที่มีปัญหาในการหายใจอาจได้รับประโยชน์จากการสูบออกซิเจนเข้าทางทวารหรือไม่ หลังจากสังเกตว่าสัตว์บางชนิด เช่น ปลากะพง สามารถใช้ลำไส้ในการหายใจได้
พวกเขาเริ่มงานวิจัยนี้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เมื่อโรงพยาบาลหลายแห่งขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจอย่างมาก
การทดลองของทีมแสดงให้เห็นว่า หนูทดลองและหมูสามารถดูดซับออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้เมื่อสูบอากาศผ่านทวารหนัก จึงช่วยให้หายใจได้ตามปกติ
โอคาเบะ เรียว จากมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมโตเกียว หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า นี่อาจเป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนา “เครื่องช่วยหายใจแบบใส่สายเข้าทางทวาร” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
“นายกฯอิ๊งค์” ถึงเชียงรายลุยน้ำท่วม ปลอบผู้ประสบภัย ยังเหลือชีวิตอยู่!
เทียบตัวท็อป 2 ค่ายดัง iPhone 16 Pro Max vs Samsung Galaxy S24 Ultra
เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: “ทรัมป์” ไม่ดีเบต “แฮร์ริส” อีก ลั่นไม่จำเป็นต้องแก้มือ
ด้าน ดร.ทาเคเบะ ทาคาโนริ จากศูนย์การแพทย์เด็กซินซินนาติ หนึ่งในทีมวิจัย ได้สารภาพว่า “มีหลากหลายความรู้สึก” เมื่อทราบข่าวว่าจะได้รับรางวัล Ig Nobel แต่รู้สึกดีเมื่อรู้ว่ารางวัลนี้ได้รับการยอมรับว่าทำให้ผู้คนหัวเราะและเกิดความคิด
เขากล่าวว่า “ผมจะดีใจมาก” หากรางวัลนี้ช่วยกระตุ้นความสนใจในการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจแบบใส่สายเข้าทางทวารได้
ขณะนี้ ทีมวิจัยกำลังดำเนินการทดลองในระยะที่ 1 ในอาสาสมัคร เพื่อต่อยอดข้อค้นพบนี้
นอกจากงานวิจัยสุดแปลกนี้แล้ว ยังมีอีกนักวิจัยอีก 9 ทีมที่ได้รับรางวัล Ig Nobel ในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาพฤกษศาสตร์ มอบให้กับ เจคอบ ไวต์ จากสหรัฐฯ และเฟลิป ยามาชิตะ จากเยอรมนี สำหรับการค้นพบหลักฐานว่าพืช Boquila trifoliolata ของอเมริกาใต้สามารถเลียนแบบใบของต้นไม้ปลอม (ต้นไม้พลาสติก) ที่ปลูกไว้ข้าง ๆ ได้ ซึ่งทำให้เกิดสรุปว่า “การมองเห็นของพืช” อาจมีอยู่จริง
ขณะที่ในสาขาฟิสิกส์ มอบให้แก่ เจมส์ เลียว แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา สำหรับการศึกษาความสามารถในการว่ายน้ำของปลาเทราต์ที่ตายแล้ว
หรือในสาขาความน่าจะเป็น ทีมนักวิจัย 50 คนโยนเหรียญ 350,757 เหรียญเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ว่า การโยนเหรียญมีแนวโน้มที่จะลงในหน้าเดิมมากกว่า ยังมีสาขาชีววิทยา ศึกษาว่าวัวที่ตกใจกลัวดูเหมือนจะให้น้ำนมน้อยลง
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก The Guardian