วิจัยใหม่ชี้ โลกของเราอาจเคยมี “วงแหวน” มาก่อน!?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

งานวิจัยใหม่ตั้งสมมติฐาน โลกของเราเมื่อกว่า 400 ล้านปีก่อนอาจเคยมี “วงแหวน” เหมือนดาวเสาร์

ตามที่เราเคยร่ำเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก ในระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์อยู่ 4 ดวงเท่านั้นที่มี “วงแหวน” ล้อมรอบ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

แต่ล่าสุดงานวิจัยใหม่ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ในวารสาร Earth and Planetary Science Letters ระบุว่า ดาวโลกของเราเองอาจเคยมีวงแหวนขนาดยักษ์ล้อมรอบคล้ายกับวงแหวนรอบดาวเสาร์เหมือนกัน

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดใจ 2 นักบินอวกาศนาซา หลังต้องติดอยู่ในอวกาศ 8 เดือน
ภาพใหม่กล้อง “เจมส์ เว็บบ์” กระจุกดาว ณ ขอบกาแล็กซีทางช้างเผือก
กล้อง “เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพใหม่ “เครื่องหมายคำถามกลางอวกาศ”

วิจัยใหม่ชี้ โลกของเราอาจเคยมีวงแหวนมาก่อน AFP/HO/NASA
โลกอาจเคยมีวงแหวนเมื่อ 466 ล้านปีก่อน

ตรวจสอบสิทธิกลุ่มเปราะบาง-ผู้พิการ รับเงิน 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ต

แม่เมย์แจ้งข่าวเศร้า สูญเสียน้องเอวา หลังยุติรักษามะเร็งระยะสุดท้าย

ระเบิดวอล์กกี้ทอล์กกี้ถล่มซ้ำเลบานอน เสียชีวิต 20 ราย
 

ตามสมมติฐาน วงแหวนอาจก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 466 ล้านปีก่อน โดยเกิดจากซากดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์ที่ถูกแรงไทดัล (Tidal Force) ของโลกดึงดูดจนแตกออกหลังผ่านระยะขีดจำกัดโรช (Roche Limit) ของโลก

ขีดจำกัดโรชคือค่าระยะปลอดภัยที่วัตถุจะไม่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวฉีกกระชาก โดยค่านี้จะต่างกันไปตามมวลของวัตถุด้วย เช่น ถ้าเป็นวัตถุที่มีมวลใกล้เคียงกับดวงจันทร์ โลกจะมีขีดจำกัดโรชอยู่ที่ประมาณ 18,500 กิโลเมตร เท่ากับว่า ถ้าวัตถุที่มีมวลเท่าดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลกมากกว่า 18,500 กิโลเมตร วัตถุนั้นจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกฉีกเป็นชิ้น ๆ นั่นเอง

นักวิจัยคาดการณ์ว่า วงแหวนที่ล้อมโลกได้ทำให้เกิดเงาบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อปรากฏการณ์โลกเย็นจากการบดบังแสงแดด ขณะเดียวกันก็มีซากดาวเคราะห์น้อยบางส่วนกลายเป็นอุกกาบาตพุ่งชนพื้นผิวโลก

แอนดี ทอมกินส์ ศาสตราจารย์ด้านดาวเคราะห์วิทยาจากมหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลีย หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “เมื่อเวลาผ่านไปหลายล้านปี สสารจากวงแหวนนี้ค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นโลก ส่งผลให้เกิดการพุ่งชนของอุกกาบาตเพิ่มขึ้นตามข้อมูลทางธรณีวิทยา ... นอกจากนี้ เรายังพบว่าชั้นหินตะกอนจากช่วงเวลาดังกล่าวประกอบด้วยเศษซากอุกกาบาตในปริมาณมหาศาล”

นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปสมมติฐานที่น่าตกใจนี้จากการศึกษาช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์โลกที่เรียกว่า “ยุคออร์โดวิเชียน” (Ordovician) หรือ 485 ล้านถึง 443 ล้านปีก่อน

ยุคออร์โดวิเชียนเป็นช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนวุ่นวายของโลก เพราะเป็นหนึ่งในช่วงที่หนาวเย็นที่สุดในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา และยังพบว่าเป็นช่วงที่มีอุกกาบาตพุ่งชนโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก

เพื่อศึกษาว่าอะไรคือสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงทำแผนที่ตำแหน่งของหลุมอุกกาบาตที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน 21 แห่งในยุคออร์โดวิเชียน ซึ่งเผยให้เห็นว่าการพุ่งชนทั้งหมดเกิดขึ้นภายในระยะ 30 องศาจากเส้นศูนย์สูตรของโลก

พวกเขาคำนวณว่า ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญนั้นมีอยู่น้อยมาก เท่ากับการโยนลูกเต๋า 3 ด้าน 21 ครั้งแล้วได้ผลลัพธ์เดียวกัน 21 ครั้ง

นักวิจัยจึงพยายามหาสมมติฐานที่จะอธิบายได้ทั้งเหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์น้อยชนโลกและภาวะโลกเย็น จนได้สมมติฐานว่า อาจเกิดจาก “วงแหวน”

ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนสมมติฐานนี้ แต่ทฤษฎีวงแหวนโบราณอาจอธิบายประวัติศาสตร์โลกได้หลายแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวงแหวนปรากฏขึ้นเหนือโลกของเรามากกว่า 1 ครั้งก่อนจะหายไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากดาวเคราะห์น้อยถูกแรงโน้มถ่วงฉีกกระชากไป

ทอมกินส์กล่าวว่า “แนวคิดที่ว่าระบบวงแหวนอาจส่งผลต่ออุณหภูมิโลกทำให้ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับผลกระทบของเหตุการณ์นอกโลกต่อสภาพอากาศโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น”

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Live Science

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล คุณสนใจหรือไม่?

alt="วิจัยใหม่ชี้ โลกของเราอาจเคยมีวงแหวนมาก่อน"

ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต

VS
alt="วิจัยใหม่ชี้ โลกของเราอาจเคยมีวงแหวนมาก่อน"

บาเยิร์น มิวนิค

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ