ทางรอดนักบินอวกาศ นักวิทย์พบวิธีเปลี่ยน “ดาวเคราะห์น้อย” เป็น “อาหาร”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นักวิจัยพบ วัสดุหรือองค์ประกอบบางอย่างของดาวเคราะห์น้อยอาจนำมาใช้ในการทำอาหารสำหรับนักบินอวกาศที่ต้องทำภารกิจระยะยาวในอวกาศได้

การส่งนักบินอวกาศออกไปไกลกว่าระบบสุริยะจักรวาลถือเป็นเป้าหมายและความฝันที่สำคัญของมนุษยชาติ แต่อุปสรรคหนนึ่งที่ทำให้ภารกิจนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้คือเรื่องของ “อาหาร” เพราะหากอาหารบนยานอวกาศหมด ชะตากรรมที่นักบินอวกาศต้องเจอคือการอดอยากอยู่ท่ามกลางจักรวาลอันเวิ้งว้าง

แต่ล่าสุดนักวิจัยได้ค้นพบวิธีผลิตอาหารจากองค์ประกอบบนดาวเคราะห์น้อยที่มีอยู่ทั่วไปในเอกภพแล้ว ซึ่งอาจเป็นทางแก้ทำให้นักบินอวกาศไม่อดตายเมื่อต้องเดินทางไปไปทำภารกิจเป็นระยทางไกล ๆ ในอวกาศ

คอนเทนต์แนะนำ
“เจมส์ เว็บบ์” พบดาวแคระน้ำตาลนอกทางช้างเผือกดวงแรก!
“เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพ “ซูเปอร์กระจุกดาว” สว่างไสวราวค่ำคืนเทศกาลดอกไม้ไฟ
นักวิทย์ยืนยัน อุกกาบาตที่พุ่งชนโลกล้างบางไดโนเสาร์ไม่ได้มีเพียงลูกเดียว

นักวิทย์พบวิธีเปลี่ยนดาวเคราะห์น้อยเป็นอาหาร AFP/Handout/NASA TV
ตัวอย่างที่เก็บมาจากดาวเคราะห์น้อยเบนนู (แฟ้มภาพ)

ทีมวิจัยซึ่งนำโดย เอริก พิลเลส จากสถาบันสำรวจโลกและอวกาศแห่งมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้ค้นพบวิธีผลิตชีวมวลที่กินได้ โดยใช้จุลินทรีย์และสารประกอบอินทรีย์ที่พบในดาวเคราะห์น้อย ผลการวิจัยของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Astrobiology เมื่อวันที่ 3 ต.ค.

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 3 อิทธิพลพายุ “จ่ามี” ฝนถล่มไทย 26-29 ต.ค. นี้

เช็กชื่อ 7 จำเลยคดีตากใบ! ที่ยังจับดำเนินคดีไม่ได้

ตาราง MotoGP 2024 ! โปรแกรมถ่ายทอดสด โมโตจีพี 2024 พร้อมลิงก์ดูโมโตจีพี

พิลเลสบอกว่า “การสำรวจระบบสุริยะอย่างลึกซึ้งนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาการลำเลียงเสบียงจากโลกให้น้อยลง”

ปัจจุบัน ลูกเรือบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) พึ่งพาภารกิจลำเลียงเสบียงจากโลก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและมีความซับซ้อนด้านการขนส่ง ขณะที่การทำฟาร์มในอวกาศก็มีความซับซ้อนเช่นกัน นั่นคือเหตุผลที่นักวิจัยพยายามหาแหล่งอาหารที่ง่ายกว่านั้น นั่นคือบรรดาดาวเคราะห์น้อยหรือหินที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศ

วิธีที่นักวิจัยพบคือ ใช้ความร้อนสูงในการสลายสารประกอบอินทรีย์ที่พบในดาวเคราะห์น้อยในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีออกซิเจน เป็นกระบวนการที่เรียกว่าไพโรไลซิส (Pyrolysis) โดยจะได้ไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นสารอินทรีย์ออกมา

จากนั้นให้จุลินทรีย์กินสารอินทรีย์ดังกล่าว พวกมันก็จะผลิตชีวมวลที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อมนุษย์ออกมา

นักวิจัยมุ่งเน้นการศึกษาไปที่ดาวเคราะห์น้อยประเภทที่เรียกว่า Carbonaceous Chondrite ซึ่งมีน้ำมากถึง 10.5% และมีสารอินทรีย์ในปริมาณมาก

ตัวอย่างของดาวเคราะห์น้อยประเภท Carbonaceous Chondrite คือ “เบนนู” (Bennu) ซึ่งภารกิจ OSIRIS-REx ของนาซาได้เดินทางไปเยือนและเก็บตัวอย่างส่งกลับมายังโลกเมื่อปี 2023

อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ยังไม่ได้ทำงานกับตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยจริง ๆ แต่นักวิจัยประเมินว่า ดาวเคราะห์น้อยอย่างเบนนูอาจสามารถผลิตชีวมวลที่กินได้ประมาณ 50-6,550 ตัน ซึ่งมีแคลอรีเพียงพอสำหรับเลี้ยงนักบินอวกาศได้ระหว่าง 600-17,000 ปี

ตัวเลขขั้นต่ำดังกล่าวนั้นคือในกรณีที่ใช้เพียงไฮโดรคาร์บอนเท่านั้นมาแปลงเป็นอาหาร ในขณะที่ปริมาณสูงสุดนั้นต้องใช้สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำทั้งหมดของดาวเคราะห์น้อยประกอบด้วย

ดังนั้น ในทางทฤษฎีแล้ว การขุดดาวเคราะห์น้อยอาจปฏิวัติการเดินทางในอวกาศระยะยาวได้ โดยทำให้นักบินอวกาศสามารถหาอาหารจากดาวเคราะห์น้อยแทนที่จะต้องส่งอาหารจำนวนมากจากโลกขึ้นสู่อวกาศ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเพิ่มเติมจะต้องดูว่าจะมีการขุดและแปรรูปดาวเคราะห์น้อยอย่างไรในภารกิจดังกล่าว และอาหารที่ได้นั้นเหมาะสมต่อการบริโภคและมีรสชาติที่รับได้หรือไม่

ทีมวิจัยระบุว่า “จากผลลัพธ์เหล่านี้ แนวทางการใช้คาร์บอนในดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับมนุษย์ที่สำรวจระบบสุริยะนั้นดูมีแนวโน้มดี แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมากในอนาคต”

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Space.com

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล คุณสนใจหรือไม่?

alt="นักวิทย์พบวิธีเปลี่ยนดาวเคราะห์น้อยเป็นอาหาร"

โวล์ฟสบวร์ก

VS
alt="นักวิทย์พบวิธีเปลี่ยนดาวเคราะห์น้อยเป็นอาหาร"

ไมนซ์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ