ในสำนักงานคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลญี่ปุ่นมีหน่วยงานที่ชื่อว่า “สำนักงานความเท่าเทียมทางเพศ” ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งที่อยู่ในขอบข่ายการทำงานของสำนักงานฯ คือเรื่องของความรุนแรงในครอบครัวหรือความรุนแรงในคู่รัก
อย่างไรก็ตาม ในเอกสารเผยแพร่ความรู้สาธารณะบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของหน่วยงาน ระบุว่าคำจำกัดความของ “ความรุนแรง” นั้นกว้างกว่าแค่ความรุนแรงทางกายภาพ ซึ่งความรุนแรงบางอย่างทำให้ชาวเน็ตตั้งคำถามไม่น้อย
ในแผนภูมิบนเว็บไซต์ของหน่วยงานแยกความรุนแรงเป็น 4 หมวดหมู่ คือ ความรุนแรงทางจิตใต ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงทางเศรษฐกิจ
ตัวอย่างของความรุนแรงทางจิตใจได้แก่ การตะโกน การไม่เคารพ หรือการเพิกเฉยต่อคู่รัก ส่วนความรุนแรงทางร่างกายครอบคลุมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การต่อย การดึงผม และการขว้างปาสิ่งของด้วยเจตนาทำร้าย ขณะที่ความรุนแรงทางเพศระบุถึงสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การบังคับมีเพศสัมพันธ์ การปฏิเสธที่จะคุมกำเนิด และการบังคับให้คู่รักดูสื่อลามก สุดท้ายความรุนแรงทางเศรษฐกิจ หมายถึงการกระทำ เช่น การใช้เงินของคู่รักโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการยืมเงินแต่ปฏิเสธที่จะจ่ายคืน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างหนึ่งของความรุนแรงทางเศรษฐกิจที่สำนักงานความเท่าเทียมทางเพศได้ระบุไว้กำลังสร้างความประหลาดใจให้ชาวญี่ปุ่นในขณะนี้ โดยระบุว่า หนึ่งในความรุนแรงทางเศรษฐกิจคือ “การไม่ออกค่าใช้จ่ายในการออกเดทเลย”
เช็กชื่อ 12 จนท.รัฐ โดน ป.ป.ช.ไต่สวน ปม “ทักษิณ” ชั้น 14
เงินชาวนาไร่ละ 1000 บาท เช็กวันโอนเงินเข้าบัญชี กลุ่มแรก
วันหยุดปีใหม่ 2568 เพิ่มวันหยุดพิเศษ วางแผนหยุดยาว 5 วันรวด
สำนักงานความเท่าเทียมทางเพศยังได้อ้างอิงสถิติที่ระบุว่า “ผู้หญิง 1 ใน 5 คนตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวจากคู่รัก” ซึ่งอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่า แผนภูมินี้กำลังสื่อเป็นนัยว่า ผู้ชายที่ไม่จ่ายเงินเวลาออกเดทเป็นผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัว
ชาวเน็ตญี่ปุ่นเองก็กำลังตีความไปว่า แผนภูมิของหน่วยงานเป็นการบอกว่า ผู้หญิงที่ไปออกเดทแล้วขอให้ผู้ชายจ่ายเงินให้เป็นความรุนแรงในครอบครัวด้วยหรือไม่
ชาวเน็ตรายหนึ่งบอกว่า “เดี๋ยวนะ แล้วแบบนี้หมายความว่าผู้หญิงทุกคนที่พูดว่า ‘คุณเป็นผู้ชาย คุณควรจ่ายทุกอย่าง’ เป็นความรุนปรงในครอบครัวเหรอ”
อีกคนบอกว่า “หลังจากนี้คงมีคนบอกว่า ‘ฉันรู้ว่าคุณไม่อยากถูกสำนักงานคณะรัฐมนตรีมองว่าเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว ดังนั้นโปรดช่วยจ่ายครึ่งหนึ่งด้วย’”
ทั้งนี้ แผนภูมิดังกล่าวปรากฏบนเว็บไซต์ของหน่วยงานตั้งแต่เดือน มี.ค. 2018 แล้ว แต่มาเป็นกระแสถูกพูดถึงในปีนี้
ตัวแทนของสำนักงานได้ชี้แจงจุดยืนขององค์กร โดยกล่าวว่า “ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงประเภทนี้ได้ คนที่ไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อไปเดทไม่ถือว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัวในทันที การบังคับอีกฝ่ายให้จ่ายเพียงฝ่ายเดียวถือเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว ดังนั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคน สถานการณ์จึงขึ้นอยู่กับกรณี”
ผู้แทนกล่าวเสริมว่า “หากทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าคน ๆ หนึ่งไม่ต้องจ่าย นั่นไม่ถือว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว”
ผู้แทนยังชี้ให้เห็นด้วยว่า นิยามความรุนแรงทางเศรษฐกิจของสำนักงานนั้นรวมถึงการบังคับเรียกร้องเงินย้อนหลัง เช่น “ถ้าเราจะเลิกกัน คุณก็ต้องจ่ายเงินคืนฉันสำหรับค่าซูชิราคาแพงที่ฉันเคยเลี้ยงคุณ!”
เรียบเรียงจาก SoraNews24