สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ World Justice Project (WJP) จัดงานนวัตกรรมเพื่อความยุติธรรมแห่งอาเซียน หัวข้อหลักนิติธรรม ข้อมูลและอนาคตของระบบยุติธรรมในอาเซียน ณ อาคาร TIJ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม นี้
โดยงานนี้ริเริ่มจากการเห็นความสำคัญและการพัฒนาหลักนิติธรรมในประเทศไทย ของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากสภาวะด้านนิติธรรมทั่วโลกกำลังทดถอย รวมทั้งในภูมิภาคอาเซียนก็กำลังเจอปัญหาเดียวกัน
"ไดกิ้น เดินหน้าจัดงาน "Daikin Kids Football Fest 2023" จ.เชียงใหม่
วอลเลย์บอลหญิงไทย ร่วมสาย ไต้หวัน-มองโกเลีย ศึกเอเชียนเกมส์ 2023
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับ World Justice Project (WJP) จึงได้จัดงานนี้ เพื่อให้กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักนิติธรรมในการพัฒนาประเทศและประชากร โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมทั้งการเสวนา อภิปราย และระดมสมองแบบกลุ่มย่อย เป็นต้น
โดยในพิธีเปิด ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น และการวางรากฐานที่ดีในการทำงานเพื่อพัฒนาหลักนิติธรรมในประเทศไทย และเชื่อว่าหลังจากกิจกรรมในครั้งนี้จะมีงานอื่น ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและต่อยอดให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังกล่าวต่อว่า การประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านกฏหมายและหลักนิติธรรมที่แท้จริง ต้องมีตัวชี้วัดที่เป็นการประเมินได้ และตัวข้อมูลต้องเป็นประโยชน์ในการร่วมพัฒนาประเทศด้วย
ในงานนี้มีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “โอกาสและข้อท้าทายในหลักนิติธรรมต่อการพัฒนาประเทศที่ยังยืนของประเทศไทย” โดยมีนักวิชาการได้ให้ความเห็นไว้หลากหลายส่วน ท่านแรกคือ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงศ์ กิตติยารักษ์ ที่ปรึกษาสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ชี้ว่าประเทศไทยกำลังมีปัญหาด้านนิติธรรม โดยผู้มีอำนาจที่ใช้กฏหมายไม่มีความเที่ยงธรรม โดยกล่าวว่าเราจะบังคับใช้อำนาจรัฐเพื่อประชาชนได้สุจริตอย่างไรนั้น ก็คงต้องใช้หลักธรรมาภิบาลเข้าช่วย ซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิรูปหลักนิติธรรมในประเทศเป็นไปได้ด้วยดี และส่งผลให้การเมืองรวมทั้งประชาธิปไตยและมีความยั่งยืนต่อไปได้อีก
ด้านศาสตราจารย์พิเศษกิติพงษ์ อุรพีพัฒนพงษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ TIJ บอกว่าการแก้ปัญหากฏหมายและหลักนิติธรรมของไทย ควรได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่สำคัญคือภาคประชาชนที่เป็นคนปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้น และกิจกรรมในวันนี้ทำให้เห็นถึงความหวังในการพัฒนากฎหมายและจัดการการคอร์รัปชั่นในประเทศไทยได้มากขึ้น
ในด้านการแก้ไขปัญหากฏหมายและการคอรัปชั่น คุณวิเชียร พงศธร ประธานองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้กล่าวว่าจากงานวิจัยชี้ว่าประชาชน เห็นด้วยในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่าง ๆ ของสังคมมากขึ้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งส่งผลถึงเรื่องปากท้องและสังคม และยังบอกต่อว่าส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพคือประชาชน แต่ต้องติดอาวุธให้กับพวกเขาด้วยการเสริมความรู้และข้อมูล ซึ่งจะทำให้พวกเขามั่นใจและใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นได้ดีมากขึ้น
และหากกล่าวถึงลำดับของประเทศไทยในเรื่องนิติธรรมแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่าปัญหาที่ทำให้ลำดับของประเทศไทยไม่ขยับขึ้นไปในทางที่ดี คือการที่บุคคลในกระบวนการยุติธรรมนิ่งดูดายกับปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร กดหมายบางส่วนถูกใช้ตามดุลยพินิจบุคคล ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมายที่เขียนไว้
โดยการปาฐกถาพิเศษที่ผ่านมาในช่วงเช้า นักวิชาการหลายคนได้บอกว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับการใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาประเทศ รวมทั้งปัญหาคอร์รัปชั่นที่กำลังเกิดขึ้นจากผู้ใช้อำนาจและกฎหมายของบ้านเมือง รวมทั้งเห็นตรงกันว่า ผู้ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบและป้องกันมากที่สุดคือประชาชน แต่องค์กรและสถาบันด้านกฏหมาย ควรจัดการเรื่ององค์ความรู้ให้กับประชาชนเพื่อไปใช้ในการเฝ้าระวังปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากบังคับใช้
นอกจากนี้ในช่วงบ่าย มีการเสวนาในหัวข้อ “ความหวังใหม่กับการปฏิรูปหลักนิติธรรม” โดยนักวิชาการหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผอ.ศูนย์ ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชั่นและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค ผศ.ดร.ปารีณาศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผอ.สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
โดยบทสรุปในหัวข้อเสวนานี้ มีการกล่าวถึงในเรื่องของข้อมูล บุคลากร ระบบการทำงานและจุดมุ่งหมาย โดยนักวิชาการทุกท่านที่เห็นว่าความท้าทายในการปฏิรูปหลักนิติธรรมในปัจจุบัน คือเรื่องของกฎหมายที่ถูกบังคับใช้แบบเดิม รวมทั้งการที่มีกฎหมายหลายฉบับเกินความจำเป็น ก็จะทำให้เกิดความซับซ้อนในการพิจารณาคดี รวมทั้งการเปิดข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่ข้อมูลจริง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาและความท้าทายอย่างยิ่ง และหากทำตามหลักการกิโยตินกฏหมาย แบ่งส่วนเกินออก ก็ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้หลายฝ่าย ยิ่งเป็นกฎหมายทางด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวะกรรม ยิ่งจำเป็นต้องใช้บุคคลเฉพาะด้านมาช่วยแก้ไขกฎหมายเหล่านี้
โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการเปิดเวทีเริ่มต้นการแก้ไขปัญหากฎหมายและหลักนิติธรรมในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งในอนาคตจะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนตามที่หลายฝ่ายได้คาดหวังไว้