รพ.วัฒโนสถ Cancer Hospital ชวนคนไทย รู้เท่าทันโรคมะเร็ง ชูวิธีรักษาแนวใหม่

เผยแพร่

โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital ชวนคนไทยรู้เท่าทันโรคมะเร็ง ในเดือนแห่งวันมะเร็งโลก World Cancer Awareness Month 2025 แนะ วิธีก้าวข้ามและวิธีรักษาแนวใหม่ด้วยนวัตกรรม

ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์ ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital เปิดเผยว่า ข้อมูลจาก WHO พ.ศ. 2565 แสดงให้เห็นตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ของไทยอยู่ที่ 183,541 คน โดยพบว่า มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของหญิงไทยทั่วโลก และประเทศไทย จำนวน 37 คนต่อแสนประชากร ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเกิดของมะเร็งที่พบมากที่สุดในไทย

และในโอกาสเดือนแห่งวันมะเร็งโลก: World Cancer Awareness Month 2025 โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital จึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ Beyond Breast Cancer Care

ก้าวข้ามมะเร็งเต้านมด้วยวิธีรักษาแนวใหม่ของโรคมะเร็งเต้านม พร้อมเผยแพร่นวัตกรรมการเสริมสร้างเต้านมด้วยเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้อง หรือ กล้ามเนื้อหลัง

ซึ่งปัจจุบันการคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถทำได้จากการตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ เพื่อให้เกิดการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่ม เพื่อผลการรักษาที่ดี โดยการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีเป็นการรักษาแบบผสมผสาน ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ฮอร์โมนบำบัด การรักษาด้วยยามุ่งเป้าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital  เปิดเผยว่า การรักษาโรคมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital เราก็ก่อนที่จะรักษา เราจะต้องเอาเข้าเค้าเรียกว่า คณะกรรมการการรักษาสหวิชาชีพ ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ เคมีบำบัด แล้วก็พยาธิแพทย์ แล้วก็รวมทั้งแพทย์ที่เกี่ยวกับเรื่องของเอ็กซเรย์เพื่อให้ชัดเจนว่ามะเร็งอยู่ในระยะไหน จะรักษาด้วยวิธีการใด การรักษาสมัยก่อนเราผ่าตัดอย่างเดียวแต่ปัจจุบันเราต้องผสมผสาน

บางรายอาจจะต้องให้ยาก่อนแล้วก็ไปผ่าตัด บางรายก็ผ่าตัดแล้วก็ไม่ต้องทำอะไร ก็อาจจะผ่าตัดบวกกับฉายแสงแล้วมาให้ยาทีหลัง คือแล้วแต่ระยะของโรค ชนิดของโรค คือ ตัวมะเร็งเต้านมเองทุกคนมีความเป็น unique ซึ่งก็เข้ากับ Theme ของวันมะเร็งโลก ที่เรียกว่า United By unique รอผู้ป่วยมะเร็งทุกคนมีความเป็น unique ของตัวเค้าเอง เพราะฉะนั้นเราจะต้องเอาความ unique มาประชุมหารือกันว่าแต่ละคน ควรจะใช้วิธีการรักษาอย่างไร

ภายในงานเสวนา นพ.สาธิต ศรีมันทยามาศ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านม กล่าวว่า สถานการณ์มะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นในผู้หญิงไทย พบว่า มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวผิดปกติและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หากปล่อยไว้อาจแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายได้

ขณะที่ ผศ.พญ.ศศิธร สุจริตธนะการ ศัลยแพทย์มะเร็งเต้านม ศีรษะ และลำคอ กล่าวว่า การรักษามะเร็งเต้านม ไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่าตัด หรือ รังสีรักษา อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ หนึ่งในนั้น คือ ภาวะแขนบวมหลังการรักษา ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเกิดขึ้นตอนไหน โดยจะเกิดขึ้นบริเวณแขนข้างเดียวกับที่เป็นมะเร็งเต้านม หากบวมน้อยแขนสามารถใช้งานได้ปกติ แต่หากบวมมากแขนอาจใช้งานไม่ได้ ถ้ารีบรักษาทันทีจะช่วยให้อาการดีขึ้น

 

ด้าน นพ. ศุภฤกษ์ โลหะสัมมากุล ศัลยแพทย์ตกแต่งมะเร็งเต้านม กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยที่รักษามะเร็งเต้านมในไทยมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตดีขึ้น เนื่องจากมีนวัตกรรมเสริมเต้านมโดยใช้ซิลิโคนเต้านมเทียม และ เสริมเต้าใหม่ด้วยเนื้อเยื่อ โดยนวัตกรรมดังกล่าวเหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น ซึ่งทั้งสองเทคนิค ทำให้เต้านมใหม่คล้ายเต้านมจริงมากที่สุด เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง

จริงๆแล้วในแง่ของความสำเร็จของการผ่าตัด ก็ได้บอกไปก่อนหน้านี้ว่า เทียบกับ 100% โอกาสที่เค้าจะ failed จริงๆก็คือน้อยกว่า 1- 2% ครับ เพราะฉะนั้นพอคิดกลับมาว่า 1-2% นี้ จริงๆแล้วต่อให้ failed เรายังมี option อื่น ใช่มั้ยครับ เพราะจริงๆ มันเหมือนไพ่หลายหลายใบที่เรามีเราจะเลือกอะไร แล้วอันที่สองเราจะได้ประโยชน์แน่แน่ คือ ในเรื่องของการกำจัดได้ครับ  : นพ. ศุภฤกษ์ กล่าว

ทั้งนี้ ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลวัฒโนสถ Cancer Hospital พร้อมเปิดให้บริการฟื้นฟูภาวะบวมน้ำเหลือง  Lymphoma Service หลังการรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดยไม่คาดคิด การรู้เท่าทัน จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ตื่นตระหนกและรับมือได้อย่างถูกวิธี

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ