วิกฤตประชากรในเอเชียลดฮวบ อัตราการเกิดลดลง คนหนุ่มสาวจำใจแบกประเทศ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง ค่าเทอมเเพง สังคมไม่น่าอยู่ น่าจะเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนยุคนี้เลือกที่จะไม่มีลูก

ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ค่าเทอมเเพง สังคมไม่น่าอยู่ ทั้งหมดคือปัญหาของชาติยักษ์ใหญ่ในเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น เเละเกาหลีใต้ ที่เเม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณกับมาตรการกระตุ้นยังไง จำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ยังลดลงทุกปี จากรายงานสถิติประชากรประจำปี 2023 ของแต่ละประเทศปรากฎว่า จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สัดส่วนคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการมีลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คอนเทนต์แนะนำ
ประชากรหดจนน่าห่วง สัญญาณล้มละลายทางสังคมของญี่ปุ่น
เปิดสาเหตุคนจีนอพยพเข้าสหรัฐอเมริกา ถึงแม้เสี่ยงตายก็ยอม

 

 

วิกฤตประชากรเอเชียลดฮวบ คนหนุ่มสาวจำใจแบกประเทศ รายการworld stories
Crisis Population

เริ่มจากเกาหลีใต้ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก ปีที่ผ่านมาจำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 230,000 คน ลดลงจากปี 2022 เกือบ 8% ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลมาก ที่อยากจะให้ผู้หญิงมีบุตร 2.1 คน เพื่อรักษาจำนวนประชากรซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 51 ล้านคน โดยอัตราการเจริญพันธุ์ หรือจำนวนบุตรที่ผู้หญิงคนหนึ่งคาดว่าจะมีในช่วงชีวิตลงลดเหลือ 0.72 ตอนนี้เกาหลีใต้คือชาติที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก เเละถ้ายังเป็นเเบบนี้ต่อไป หน่วยงานสถิติเเห่งชาติเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรในประเทศจะลดลงเหลือ 36 ล้านคนในปี 2072 จาก 51 ล้านคน

ส่วนเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นเจอปัญหาเดียวกันจำนวนเด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่นทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 8 ปีต่อเนื่อง โดยจำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 758,631 คน ลดลงจากปี 2022 5.1% เเละเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ญี่ปุ่นมีเด็กเกิดใหม่ไม่ถึง 800,000 คน สถาบันวิจัยด้านประชากรศาสตร์และประกันสังคมแห่งชาติญี่ปุ่น ประเมินว่าจำนวนประชากรญี่ปุ่นจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคน ในปี 2053 และจะลดลงต่อเนื่องเหลือ 87 ล้านคน ภายในปี 2070 จากปัจจุบันที่ 125.5 ล้านคน โดยสัดส่วนคนหนุ่มสาวจะลดฮวบ เเละทำให้คนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์

เด็กๆนักเรียนชาวจีน รายการworld stories
ประชากรเด็กชาวจีน

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดสาเหตุคนจีนอพยพเข้าสหรัฐอเมริกา ถึงแม้เสี่ยงตายก็ยอม
สหรัฐเจอวิกฤตคนไร้บ้านพุ่งสูง ปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่ตก

ส่วนจีนตัวเลขประชากรปี 2023 มีอยู่กว่า 1,400 ล้านคน ฟังดูเป็นตัวเลขมหาศาล เเต่ถ้าไปดูจำนวนเด็กเกิดใหม่ พบว่ามีเพียง 9 ล้านคน หรือครึ่งเดียวของจำนวนเด็กเกิดใหม่เมื่อปี 2017 ถ้าหักลบกับจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 11 ล้านคน นั่นทำให้จำนวนประชากรจีนหดลดถึง 2 ล้านคน หลังจากลดลงมาแล้ว 850,000 คนเมื่อปี 2022 เท่ากับว่าภายในระยะเวลา 2 ปี ประชากรจีนหายไปราวๆ 3 ล้านคนเเล้ว เเละประเมินว่าประชากรจะลดลงอีก 109 ล้านคนภายในปี 2025

เหตุผลที่ทำให้คนยุคนี้มีมุมมองต่อการมีลูกต่างออกไปก็คือสภาพสังคม เเละวิถีชีวิตที่เปลี่ยนเเปลงไปมาก โดยเฉพาะในยุคโควิด 19 การระบาดใหญ่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น เศรษฐกิจตกต่ำจนกระทบต่อรายได้ของผู้คนอย่างรุนเเรง ชาวจีนที่เผชิญกับการล็อคดาวน์นาน 3 ปีเต็มบอกว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นเหมือนกับผลาญเวลาพวกเขาไปเป็นสิบปี เงินที่เก็บหอมรอมริบหมดเกลี้ยง อาชีพการงานก็ยังไม่เเน่นอน ผ่านมาถึงตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้น ลำพังเลี้ยงดูตัวเองก็ยากลำบากเเล้ว เเละถ้ามีลูกจะเลี้ยงได้อย่างไร จนแฮชแท็ก #Is it really important to have offspring?" หรือ #การมีลูกสำคัญจริงหรือ? กลายเป็นไวรัลเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ขณะที่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสำคัญกับอาชีพการงานเเละการรักษาอาชีพของพวกเธอ เมื่อผู้หญิงต้องทำงาน นั่นหมายความว่าเธอต้องรับภาระถึงสองทาง ทั้งการทำงานบ้าน ดูเเลลูก เเละหน้าที่การงาน เพราะไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ปู่ยาตายายจะช่วยเลี้ยงลูกได้ เเละคิดว่าการมีลูกจะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาตกต่ำลงอย่างมาก

ทั้งหมดนี้คือความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ของรัฐบาลที่มองว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพราะส่งผลกระทบถึงเเนวโน้วการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากประชากรลดลงหมายถึงจำนวนเเรงงาน หรือคนทำงานในทุกอุตสาหกรรมลดลง จำนวนผู้บริโภคก็ลดน้อยตามไปด้วย เเต่อีกด้านหนึ่งผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น นั่นหมายความว่าคนกลุ่มนี้ ซึ่งต้องการการดูเเลจะกลายมาเป็นกลุ่มประชากรหลัก ดังนั้นต้นทุนในการดูเเลผู้สูงอายุเเละสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุก็จะเป็นกราฟขาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตสัดส่วนการพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ต่อคนหนุ่มสาวจะเพิ่มมากขึ้นพูดง่ายๆก็คือ คนวัยทำงาน ซึ่งมีสัดส่วนน้อยจะต้องเป็นตัวแบกประเทศ และต้องออกแรงอย่างสาหัสในการดูแลผู้สูงอายุ

ประชากรญี่ปุ่น รายการworld stories
ผู้สูงอายุของญี่ปุ่น

ราคาทองวันนี้ (22 มี.ค.2567) ย่อตัวตามต่างประเทศ "ลง 100 บาท"

รู้จัก “จันทรุปราคา” รับปรากฏการณ์ “ราหูอมจันทร์” ครั้งแรกของปี 2567

ซน ฮึง-มิน ลั่นจะเล่นทีมชาติต่อเพื่อแฟนบอลเกาหลีใต้

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ