พบสารเคมี 325 ตันที่เกิดเหตุไฟไหม้ สำแดงไม่สมบูรณ์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รมช.คมนาคม ระบุ สารเคมีจำนวน 325 ตัน "สำแดงไม่สมบูรณ์" เนื่องจาก ไม่ถูกแจ้งต่อท่าเรือว่านำวัตถุอันตรายมาด้วย แต่กลับอ้างแจ้งไปที่ปลายทาง จ.สมุทรปราการแล้ว ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ขนตู้สินค้าไม่ทราบว่าเป็นวัตถุอันตราย จนเกิดเพลิงลุกไหม้

วันนี้ 30 พ.ค. 2562 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุภายในท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของท่าเรือมาให้มูลและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากการรายงานผลของเจ้าหน้าที่การท่าเรือ

เบื้องต้นทราบว่า ต้นเหตุของระเบิดมาจาก สารเคมีชนิดหนึ่ง คือ แคลเซียม ไฮโปคลอไรท์ ซึ่งเป็นสารผสมหลักของผงฟอกขาว ถูกจัดเป็นสินค้าอันตรายตามมาตรฐานขององค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ

ที่น่าสนใจคือสารเคมีชนิดนี้ซึ่งถูกระเบิดไปแล้ว ถูกนำเข้ากับเรือลำนี้มากถึง 13 ตู้ ตู้ละ 25 ตัน รวม 325 ตัน แต่ทั้งหมดนี้ รมช.คมนาคม ชี้แจงว่า เป็นการสำแดงไม่สมบูรณ์คือ สำแดงเฉพาะต้นทาง และปลายทาง แต่ไม่สำแดงระหว่าง ซึ่งเป็นจุดที่เรือกำลังนำสินค้าจากตู้อื่นๆมาลง

เตรียมเอาผิดเจ้าของสินค้าไม่แจ้งมีวัตถุอันตราย

พื้นทีสีแดง !! ตู้คอนเทนเนอร์ ระเบิดคาเรือ “แหลมฉบัง” สารเคมีรั่วไหล

รมช.คมนาคม ตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดสารเคมีชนิดนี้จึงถูกนำเข้าในปริมาณมาก ขณะนี้ทราบตัวผู้นำเข้าแล้ว และอยู่ระหว่างติดตามผู้ส่งออกจากทางสายเรือว่าเป็นใคร

ขณะที่เรือที่ถูกไฟไหม้ ขณะนี้ยังถูกกันพื้นที่ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน และสูบน้ำเสียที่มากถึง 3, 500 ตัน ออกจากเรือเพื่อไปบำบัด โดยให้บริษัทเอกชนไปบำบัดแล้ว

นอกจากสารเคมีตัวนี้แล้ว ยังมีสารเคมีชนิดอื่นอีกหรือไม่ ที่ถูกซุกซ่อนไว้ในเรือลำนี้ และไม่ผ่านการสำแดง ตามมาตรฐานและกฏหมาย ส่วนทางคดีตำรวจอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน และเรียกพยาน เจ้าหน้าที่เรือมาสอบปากคำแล้ว 100 ปาก และจะพิจารณาความเสียหายภายใน 7 วัน และดำเนินการตามมาตรการเยียวยา

ด้าน นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมาชี้แจงว่า การตรวจสอบค่าอากาศเบื้องต้นโดยรอบสถานที่เกิดเหตุ ล่าสุดคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปกติ

นอกจากในช่วงแรกที่พบค่ากรดในน้ำ ต่างจากผล ตรวจของโรงพยาบาล เนื่องจาก สารชนิดนี้เมื่อละลายน้ำแล้ว จะมีสภาพเป็นด่าง แต่เมื่อเกิดการเผาไหม้ หรือได้ความร้อน จะเปลี่ยนค่าเป็นกรดได้

ส่วนที่น้ำเสียจากการดับเพลิง นางสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ได้รับรายงานจากท่าเรือแหลมฉบัง ดูดน้ำเสียออกจากท้องเรือไป 6,000 คิว เท่ากับ 6 ล้านลิตร ไปกำจัดที่โรงงานรับบำบัดน้ำเสียบริษัท สยามเอ็นไวรอนเมนทอล เทคโนโลยี จำกัด เป็นโรงงานประเภท 101 คือโรงงานที่มีศักยภาพในการกำจัดของเสียอันตราย  แต่ยอมรับว่ามีน้ำเสียจากการดับเพลิงไหลลงทะเลในท่าเรือจำนวนหนึ่ง เก็บตัวอย่างตรวจสอบแล้วเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ผลจะออกวันพรุ่งนี้

ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมตอนนี้ นายวิจารย์ ระบุว่า ยังประเมินไม่ได้ หากผลการตรวจมีค่าสารเคมีอันตรายที่ส่งผลกระทบ จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมซึ่งผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมแหลมฉบัง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ