ไขปริศนารักษา “หญ้าทะเล” แหล่งอาหารของพะยูนที่ไม่ใช่แค่ "หยุดทิ้งขยะ"
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
ต้องยอมรับว่า กรณีการตายของ 2 พะยูนตัวน้อย มาเรียมและยามีล มีผลทำให้หลายคนหันมามองผลกระทบที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของพวกเราเองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในพื้นที่ที่ตกเป็นจำเลยของสังคม จึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้พวกเขาแสดงให้ในเห็นว่า “พะยูนคือความผูกพันธ์ที่เหมือนญาติพี่น้อง” ต้องรักษาให้อยู่กับทะเลไทยตลอดไป

สิ่งที่จะรักษาให้ พะยูนฝูงสุดท้ายอยู่คู่กับเกาะลิบง จังหวัดตรัง คือการรักษาแหล่งอาหารคือ “หญ้าทะเล” ซึ่งเกาะลิบงเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง เป็นแหล่งอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุด เพราะมีหญ้าทะเลที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 12,000 ไร่ จากพื้นที่ทะเลตรังทั้งหมด 21,000 ไร่ พบหญ้าทะเล 11 จาก 12 ชนิด รวมถึงหญ้าสุดโปรดของพะยูนอย่าง "หญ้าทะเลใบมะขาม (หรือใบมะกรูด) สาหร่ายผมนางและดอกหญ้าคาทะเล"
ถึงแม้ว่าเกาะลิบงจะเป็นพื้นที่ที่มีหญ้าทะเลมากที่สุด แต่เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ “หญ้าทะเลตาย” เป็นจำนวนมาก ประกอบกับกรณีของพะยูนมาเรียมตาย โครงการปริศนาหญ้าทะเล เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จึงเกิดขึ้น
เปิดบันทึกความทรงจำ “มาเรียม” พะยูนกำพร้า
ผลชันสูตรชี้ชัด เศษถุงก๊อปแก๊ป ต้นเหตุ “มาเรียม” ต้องตาย
ขนิษฐา จุลบล (พี่นิด) จากศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดตรัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บอกว่า จุดเด่นของเกาะลิบงคือหญ้าทะเล เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมีคุณค่า เป็นที่มาของอาชีพ รายได้ อาหารและสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ เป็นห่วงโซ่ที่สำคัญ ถ้าเมื่อไหร่ที่หญ้าทะเลหายไปย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนบนเกาะลิบงชาวบ้านในพื้นที่จึงเป็นกำลังสำคัญในการช่วยอนุรักษ์หญ้าทะเลมากที่สุด
3 เดือน 3 ตัว !! เร่งหาสาเหตุลูกพะยูนเกยตื้น
“ การปลูกหญ้าทดแทนเป็นวิธีปลายเหตุ ต้องนำไปเพาะพันธุ์หลายขั้นตอน สิ่งที่ควรจะทำคือการป้องกันการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล”
เริ่มต้นวางแปลงเพื่อวิจัย “หญ้าทะเล”
หนึ่งในนั้นคือการวางแปลงหญ้าทะเลเพื่อการวิจัย คะนอง บอกว่า ทีมพิทักษ์ดุหยง จะวางแปลงหญ้าทะเลบนแปลงที่มี พื้นที่ 50 คูณ 50 ตารางเมตร ในพื้นที่ดังกล่าวแบ่งเป็น Court สี่เหลี่ยม ขนาด 50 เซนติเมตร ทั้งหมด 50 Court ใน 1 Court จะคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ หากมีหญ้าทะเลขึ้นเต็ม 1 Court เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะดูต่อไปว่าใน 100 เปอร์เซ็นต์ของหญ้าทะเลมีชนิดใดบ้าง ซึ่งเป้าหมายตอนนี้มีแล้วทั้งหมด 8 แปลง โดยคาดว่าใช้เวลา 3-4 ปี จะสามารถเก็บค่าเฉลี่ยพันธุ์ของหญ้าทะเลได้เพื่อการพัฒนาต่อไป
สาเหตุหญ้าทะเลเสื่อมโทรมไม่ใช่แค่ “ขยะ”
คะนอง มองว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำทะเลมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นและเศษขยะที่มาเกาะอยู่ตามผืนหญ้าทะเลก็ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่สะสมมาตลอดคือ “สิ่งที่มากับน้ำ” อย่างสารเคมี ยาฆ่าแมลงต่างๆ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่การเกษตร พื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบมากกว่าขยะ เมื่อไหลลงมาตามน้ำจากทุกทิศทุกทาง ทำให้เกิดการทับถมเป็นตะกอน เมื่อคลื่นตีเข้ามาก็มาติดค้างอยู่ที่หญ้าทะเล
“ลำพังคนบนเกาะลิบงหลักพันกว่าคน คงไม่ได้ทิ้งขยะมากมายมหาศาลจนเป็นสาเหตุทำให้มาเรียมตาย เพราะพะยูนคือความผูกพันธ์ของคนในเกาะลิบง”
ปัญหาขยะใต้ทะเลกับผลกระทบต่อสัตว์น้ำหายาก
เราใช้เวลาเดินไปแปลงหญ้าทะเลประมาณ 40 นาที จะเห็นกลุ่มน้องๆ เยาวชนถือตะกร้อขนาดย่อมๆ ติดมือมาด้วยและในตะกร้อนั้นก็มีขยะที่เก็บได้ระหว่างทางบรรจุอยู่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเขาทำกันเป็นประจำของกลุ่มเยาวชน Active เกาะลิบง
“กลัวว่าถ้าหญ้าทะเลหมดไปพะยูนจะหายไปจากเกาะลิบง”
วิลลี่ ป้อนา อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บอกกับเรา เขาเล่าให้ฟังว่า ช่วงที่เห็นภาพหญ้าทะเลเปลี่ยนสีและตายเต็มหน้าหาดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ที่ผ่านมา ทำให้หญ้าทะเลลดลง พะยูนลดลงเพราะไม่มีอาหาร จึงตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเดินสำรวจร่องรอยการกินหญ้าทะเลของพะยูนกับทีมอาสาพิทักษ์ดุหยง และไม่ใช่แค่พะยูนที่จะหายไปยังรวมถึงสัตว์อื่นๆ อย่าง เต่าทะเล หอย ปู ปลา เพราะพื้นที่ตรงนี้ก็เหมือนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำด้วยเหมือนกัน จึงรวมกลุ่มกับเพื่อนอีก 7-8 คน ทำกิจกรรมโครงการปริศนาหญ้าทะเล ใช้เวลาหลังเลิกเรียน สัปดาห์ละ 1-2 วัน ลงมาสำรวจความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเล เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าทะเล ชนิด ปริมาณของหญ้าทะเล และสัตว์ผิวดิน เพื่อทำความเข้าใจถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ของหญ้าทะเลที่มีต่อระบบนิเวศทางทะเลและพะยูน รวมถึงมาช่วยกันเก็บเศษขยะ ตั้งแต่ อ่าวดุหยง เขาบาตูปูเต๊ะ หาดทุ่งจีน และแหลมจูโหย อีกด้วย
“ถ้าเราช่วยอนุรักษ์หญ้าทะเล เราก็จะได้เห็นสัตว์ทะเลไปนานๆ อยากให้พะยูนและหญ้าทะเลอยู่คู่กับเกาะลิบงตลอดไป”
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้