“สูงวัยใกล้เกษียณ” ลงทุนอย่างไรไม่ให้ลำบากตอนแก่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ เป็นประโยคที่เราบ่อยๆ แต่สังคมผู้สูงอายุจะกระทบกับเราอย่างไร สวัสดิการภาครัฐเพียงพอไหม ถ้าอยากเกษียณแบบสุขสบายลงทุนอย่างไร แล้วถ้าใกล้เกษียณแล้วยังสามารถนำเงินไปลงทุนได้หรือไม่ วันนี้มีคำตอบ

3 งานอดิเรก คนวัยเกษียณ สุขกายสบายใจ

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 10.3 ล้านคน หรือ 16 %ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆถูกพัฒนาขึ้น ก็ยิ่งทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนเรายืนยาวขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ เรามีเวลาทำงานหาเงินเท่าเดิม คือ 60 ปี แต่ต้องใช้ชีวิตถึง 80 ปี หรือนานกว่านั้น ผู้คนมีลูกน้อยลง ก็ขาดคนดูแล หากไม่มีเงินเก็บ และยังขาดการลงทุน ก็เปรียบเสมือนระเบิดเวลาลูกใหญ่ของการเกษียณและโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

ส่วนความหวังพึ่งการดูแลจากภาครัฐนั้น งบประมาณการดูแลสุขภาพของไทยเติบโตเร็วกว่ารายได้ของคนไทย ทำให้การงบประมาณจะไม่เพียงพอต่อการดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุครอบคลุมแต่ไม่เพียงพอ โดยข้อมูลจาก TDRI ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่า ใน 30 ปีข้างหน้า จากโรคกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ ซึ่งคุณวิทัย รัตนากร บอกว่าทางออกของการเกษียณสุข จะต้องแก้ไขด้วยการเริ่มเก็บออมเงินให้เร็วขึ้น กับการลงทุนเป็นตัวช่วย

สำหรับการเก็บออมนั้น นักวิเคราะห์การลงทุน แนะนำต้องเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ช่วง 20-30 ต้นๆ เพื่อให้เงินมีเวลางอกเงย เมื่อมีระยะเวลา แล้วนำไปคูณกับพลังทวีของดอกเบี้ยทบต้นก็จะช่วยให้เดินไปสู่การเกษียณสุขได้ง่ายขึ้นครับ โดยให้หลักสำคัญว่า กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทุกสินทรัพย์ล้วนดีในระยะยาว

ส่วนการลงทุนช่วงหลังเกษียณ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คำแนะนำไว้ว่า ควรคงเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ประมาณ 2 - 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน, นำเงินบางส่วนไปแบ่งฝากประจำในระยะต่าง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ ควรนำเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ในระยะสั้น ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะปานกลาง-ยาว และควรติดตามข่าวสารและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ

"สังคมผู้สูงวัย" ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เช็กจำนวน "คนแก่" ในอนาคต คาด ทั่วโลกแตะ 2 พันล้านคน

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ