พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการจัดงานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2562 ซึ่งได้กล่าวถึงในประเด็นโซเชียล มีเดีย ที่มีการรณรงค์ งดลอยกระทง เพื่อลดขยะ ตอบแทนพระแม่คงคา โดยระบุว่า...
นับถอยหลัง “วันลอยกระทง” 11 พ.ย. ลอยหรือไม่ลอย ลดขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม
ขอความร่วมมือให้ใช้กระทงที่ย่อยสลายง่าย เช่น ใบตอง ใบกล้วย ขนมปัง อย่าใช้พลาสติกและโฟม ซึ่งคงไม่มีมาตรการลงโทษแต่เป็นการกระตุ้นจิตสำนึก ถ้าขนมปังก็สามารถเป็นอาหารปลาได้ ใบตอง ต้นกล้วยก็ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติกที่ต้องไปเก็บแล้วนำไปทำลายด้วยการ เผา ฝังกลบ สร้างมลภาวะ
“ อยากให้ลอยกระทงครอบครัวละ 1 กระทง เป็นแฟนกันก็กระทงเดียวกัน จะได้อยู่กันกลมเกลียว สามี ภรรยา ลูก หลาน กระทงเดียวกันช่วยกันลอย ไม่ต้องไปซื้อคนละกระทง จะได้อยู่กันจนกระทั่งตายจากกัน” ผู้ว่าฯ กทม.แนะนำ
เปิดสาเหตุน้ำเน่าทั้งที่ใช้ “กระทงขนมปัง” ในวันลอยกระทง
สถิติในปี 2561 กรุงเทพมหานครจัดเก็บกระทงได้จำนวน 841,327 ใบ กระทงส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายได้ จำนวน 796,444 ใบ คิดเป็นร้อยละ 94.7 และกระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 44,883 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.3 โดยจำนวนกระทงที่จัดเก็บได้ในปี 2561 จำนวน 841,327 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งจัดเก็บได้ จำนวน 811,945 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 โดยพบว่ามีกระทงวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.6 เป็น 94.7 ส่วนกระทงโฟมลดลงจากร้อยละ 6.4 เป็นร้อยละ 5.3