สลดใจ! เด็กม.1 ใช้ปืนพ่อยิงเพื่อนร่วมห้องเสียชีวิต เหตุคับแค้นใจถูกล้อว่า เป็นตุ๊ด
อันตราย! เคสม.1 ยิงเพื่อนเสียชีวิต เหตุจากถูกบูลลี่ กรมจิตฯส่งทีมเยียวยาเด็ก
พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ รองผู้อำนวยการ สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่น ราชนครินทร์ เผยว่า ปัญหาการล้อเลียน หรือถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน หรือ การบูลลี่ เกิดขึ้น จากหลายปัจจัย ทั้งความรุนแรงในครอบครัว กลุ่มเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการช้า และสาเหตุอื่นๆ เช่น การเข้าถึงสื่อเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาความรุนแรง จนนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบในระยะยาวกับเด็กทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งอารมณ์จิตใจและร่างกาย เด็กที่ถูกรังแก ถูกกลั่นแกล้ง มักเครียด ซึมเศร้า รวมถึงเด็กที่มักจะรังแกคนอื่น จากการวิจัยพบว่า มีโอกาสจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต
ปัญหาการล้อเลียนและความรุนแรงที่พบอีกส่วนหนึ่ง มาจากทางครอบครัวไม่ได้มีการส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์ หรือสอนเรื่องการเข้าสังคม ทำให้เมื่อเข้าสู่วัยเรียนเด็กไม่สามารถปรับตัวได้ ในขณะเดียวกันระบบของโรงเรียนในปัจจุบันการดูแลเด็กไม่ทั่วถึงเนื่องจากคุณครูหนึ่งคนจะสอนเด็กจำนวนมาก จึงเป็นช่องว่างระหว่างการดูแลเด็กนักเรียน และการป้องกันปัญหาความรุนแรงต่างๆ
โดยแนวทางการป้องกันปัญหา คือระบบการสอนของโรงเรียน ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะการเข้าสังคม สร้างความเข้าใจเรื่องความเป็นเพื่อน และการให้ความช่วยเหลือกัน ตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยมต้น ที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขเป็นระบบแต่แรก จะนำไปสู่ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้
พญ.โชษิตา กล่าวอีกว่าสถิติการถูกรังแกในโรงเรียนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ขณะนี้อยู่ที่ 20 - 40% ทั้งรังแกโดยการทำร้ายร่างกาย รังแกด้านคำพูด ปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและปฏิเสธไม่ได้ว่า ขณะนี้การรังแกผ่านโลกออนไลน์กำลังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นช่องทางนำไปสู่ความรุนแรงที่ควบคุมได้ยาก ฉะนั้นจึงต้องมีการทำความเข้าใจและแก้ไขเชิงระบบตั้งแต่ครอบครัวและโรงเรียน
เปิด ‘ 7 รูปแบบไซเบอร์บูลลี่’ กับ ‘4 วิธีรับมือ’