เมื่อวันที่ (2 มี.ค.2563) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวพีพีทีวี ว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยยังมีระดับความรุนแรงของโรคโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในระดับที่2 แต่มั่นใจว่าในอนาคตจะเข้าถึงความรุนแรงระดับที่3 ซึ่งทางประเทศไทยได้เตรียมพร้อมรับมือทั้งบุคลากร เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงสถานที่ แต่ยอมรับว่า บุคลากรและเงินทุน ยังไม่เพียงพอต่อการรับมือ หากโรคนี้เข้าสู่สภาวะระบาดหนัก ขณะนี้จึงพยายามหามาตรการป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้รุนแรงและแพร่ระบาดรวดเร็วมาก
ทารก 45 วันติดไวรัสโควิด-19 ในเกาหลีใต้-ป่วยทะลุ 3,500 คน
ฝ่าฝืนควบคุมโรคติดต่อ"โควิด-19"โทษสูงสุด 2 ปี ปรับ 5 แสน
ทั้งนี้ส่วนเรื่องการตรวจโรคโควิด-19 ยังคงต้องตรวจสารคัดหลั่งที่อยู่ในทางเดินหายใจ ซึ่งแนวทางการตรวจในห้องปฏิบัติการขณะนี้มีความรวดเร็วและตรวจพบแม่นยำพอ รวมถึงการตรวจแบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ แต่ความกังวลอยู่ที่ หากในอนาคตหากมีการแพร่ระบาดมากขึ้น ห้องปฏิบัติการและรวมถึงบุคลากรอาจไม่เพียงพอ จึงอาจต้องใช้การวินิจฉัยทางการแพทย์เบื้องต้นก่อน
โดยความน่ากลัวของโรคนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยแบ่งเป็นสามส่วนคือ 80% อาการเหมือนคนป่วยเป็นไข้หวัดและสามารถหายเองได้ 15% มีอาการปอดอักเสบความรุนแรงซึ่งอาการขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ลงไปสู่ปอด รวมถึงปัจจัยเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย และ 3-5% มีอาการรุนแรงเป็นคนไข้วิกฤต ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
สธ.ยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตรายแรกของไทย เผยมีไข้เลือดออกร่วม
"ลัทธิชินชอนจิ" จำเลยการระบาด โควิด-19 สู่ความเชื่อมโยง จีน-เกาหลีใต้
นพ.ทวี ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใส่หน้ากากอนามัย ส่วนตัวมองว่า แม้จะไม่ใช่ผู้ป่วยแต่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ โดยเฉพาะในสถานที่สุ่มเสี่ยงที่มีคนแออัด หรือกับอาชีพที่มีความสุ่มเสี่ยง แต่ไม่ควรใส่แบบ