หมอจุฬาฯ เผยคนวัยทำงาน-หนุ่มสาว หากติดเชื้อหายเอง แต่เป็นตัวแพร่คนสูงวัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา” ให้ข้อมูลอันตรายคนหนุ่มสาว วัยทำงานติดเชื้อไม่รู้ตัว ไม่กัก ดูแลตนเอง แพร่เชื้อคนสูงวัย เสี่ยงอันตรายสุด ชี้ปิดเมืองปิดประเทศแต่ต้องปรับตัวเองอยู่ดี

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudhaพร้อมกล่าวว่า ขณะนี้ที่ต้องกังวลว่า คนติดเชื้อมักเป็นคนทำงาน วัยหนุ่มสาว แต่ไม่รู้ตัว และหลายคนก็ไม่แสดงอาการประมาณ 80%  เรียกได้ว่า ไม่มีทางรู้หรืออาจจะยากมากที่จะระบุว่าติดจากไหน และจะสามารถแพร่เชื้อได้กี่วัน ก่อนมีอาการไม่มีใครบอกตัวเลขได้ชัดเจนในแต่ละราย ซ้ำร้าย พอมีอาการกลับ อาการน้อยจนไม่รู้สึก กลายเป็นตัวแพร่เชื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มหนุ่มสาวแข็งแรงปัญหา ญาติมาเยี่ยมผู้ป่วยที่โรงพยาบาล อาจจะพาโรคมาแพร่ให้ โดยวัดไข้ก็ไม่ขึ้น เดินกระฉับกระเฉง และเหล่านี้ คือคนหนุ่มสาว เป็นส่วนมาก ที่กิจกรรมชีวิตโลดแล่น มีชีวิตชีวา เป็นตัวแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพ

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 22มี.ค. 63

อินเดีย ประกาศ เคอร์ฟิว 14 ชั่วโมง เพื่อต่อสู้และจำกัดการแพร่ระบาดโควิด-19

“คนไม่รู้ตัวอาจไปแพร่เชื้อคนสูงอายุ มีโรคประจำตัว  ซึ่งเมื่อรับเชื้อก็เสี่ยงอาการรุนแรงและเสียชีวิต  ดังนั้น  คนหนุ่มสาว ต้องหยุดการแพร่เชื้อ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า  ถ้าคนอย่างน้อยครึ่งประเทศติดเชื้อถ้าไม่ตายไปเสียก่อน ก็จะมีภูมิคุ้มกันและเริ่มทำให้ประเทศปลอดภัย  จำได้หรือไม่วิธีการเช่นนี้ คือ วิธีการเดียวกันกับที่เราต้องฉีดวัคซีนให้หมาทั่วประเทศอย่างน้อย 60% เพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า นั่นคือ การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่  (herd immunity)ใน covid 19 เมื่อติดเชื้อคน 80% อาการน้อยหายเอง และจะเป็นหนุ่มสาวที่ไม่มีโรคประจำตัวแต่กลายเป็นคนแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพ แต่บางรายก็รุนแรง เจอจังๆ ตายได้  ส่วนอีก20% ที่เหลือมักจะเป็นคนสูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมีโรคประจำตัว ถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาล อัตราตายอาจสูงถึง 20-50% ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า  1. ถ้าปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติตามยถากรรมไม่มีการควบคุมและแน่นอนไม่มีทรัพยากรในการรักษาได้ทั่วถึง จะสงบได้โดยเร็วแต่เสียชีวิตมหาศาล ระบบสาธารณสุขย่อยยับ เจ้าหน้าที่เสียหายมหาศาล  

2. ควบคุมเท่าที่จะทำได้ตามระดับ โดยหวังให้ประชาชนมีวินัย งดการชุมนุม รวมกลุ่ม สถานบริการสถานบันเทิงรวมทั้งควบคุมโรงงานมีการทำงานแออัด งดเทศกาลทุกชนิด ป้องกัน จำกัดการแพร่ในที่สาธารณะ หรือ ควบคุมอย่างเข้มงวดโรคจะไหลไปเอื่อยๆ จนประมาณ 7-9 ปีหรือเมื่อมีวัคซีนแต่หมายความว่าทุกคนจะต้องถือสันโดยตลอด หรือ  ควบคุมได้ระดับหนึ่ง โรคจะปะทุขึ้นอย่างรุนแรงภายใน 2  ปี และสงบเพราะในแต่ละเดือนจะต้องยอมให้เกิดคนติดเชื้อ 30 ล้าน คน หารด้วย 24เดือน แต่ละเดือนจะมีคนติดเชื้อเป็นแสน และความเสียหายจะเห็นได้แบบเดียวกับข้อหนึ่งแม้จะน้อยกว่าบ้าง

3. มาตรการเข้มปิดบ้าน ปิดประเทศ  21 วัน  พ้นระยะฟักตัว  และระยะแพร่เชื้อ สำหรับคนที่มีอาการน้อยซึ่งจะหายเองทั้งหมดโดยไม่ต้องมีการรักษาใดๆ แต่ถ้าอาการมากก็รีบรับตัวเค้าไปรักษาที่โรงพยาบาล มาตรการนี้ทำสำเร็จในประเทศจีนแม้ว่าจะทำหลังจากที่มีการระบาดมหาศาลในประเทศแล้วก็ตามมาตรการนี้จะทำให้ประเทศสะอาดและกลับมาดำเนินชีวิตมีเทศกาลได้ “ใกล้เคียงแต่ไม่ถึงกับปกติ” ภายในเวลาอันรวดเร็ว  โดยยังต้องมีระยะห่าง 2 เมตรทั้งการทำงานในสถานที่ทำงาน ในโรงงาน ในรถโดยสารสาธารณะ  แต่ทำให้มีความเชื่อมั่นจากทั้งในและนานาประเทศและสามารถที่จะเลือกนักท่องเที่ยวจากพื้นที่ใดก็ได้ มาตรการนี้ไม่ใช่มาตรการที่ทำไม่ได้ทางเพราะภาคธุรกิจเอกชนพร้อมที่จะให้คำแนะนำและช่วยรัฐบาลอย่างเต็มที่ในขณะที่ดำเนินการอยู่ และต้องคำนึงถึงคนที่หาเช้ากินค่ำเป็นอันดับแรก

ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 188 ราย ยอดสะสม 599 ราย

“ที่สำคัญ  คือ มาตรการนี้หลังจาก 21 วัน  จะต้องกระบวนการตรวจคนที่ติดเชื้อไปแล้ว หรือคนที่ติดเชื้อใหม่ได้อย่างรวดเร็วและราคาถูกกว่าที่ปฏิบัติกันอยู่ ณ ขณะนี้และป้องกันไม่ให้มีระลอกที่สองที่สามเกิดขึ้นมาอีก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ผู้ว่าฯกทม. ออกประกาศฉบับที่ 3 สั่งปิดสถานที่ชั่วคราว

ภาพจากเฟซบุ๊กธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ