ร่วมกตัญญูจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 เพิ่มให้จนท.ไม่ได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด อาสาสมัครกู้ภัย ถือเป็นบุคคลากรสำคัญในการสนับสนุนทางการแพทย์ของไทย พวกเขาถือเป็นแนวหน้าที่จะต้องพบกับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มแรก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ อุปกรณ์ป้องกันในขณะออกปฏิบัติงานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยแบบ N-95 และ ชุด PPE ที่กำลังขาดแคลน

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 30 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 30 มี.ค. 63

ในการออกรับผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือ ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาสาสมัครกู้ภัยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันสูงสุด ไม่ต่างจากการปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล  คือ ต้องสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลหรือ ชุดPPE ที่ประกอบด้วยหน้ากากอนามัยชนิด N95 ชุด PPE ที่คลุมทั้งตัว ถุงมือยาง 2 ชั้น  แว่นตา และ หน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า หรือ Face Shield อาสาสมัครกู้ภัย 1 ทีมที่ออกรับผู้ป่วย จะมีเจ้าหน้าที่ 4 คน ใส่ชุด PPE เต็มขั้น 3 คน และอุปกรณ์ทั้งหมดใช้แล้วทิ้งในครั้งเดียว

แม้การรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจะยังมีไม่มาก แต่บางครั้งในการรับผู้ป่วยที่คาดว่าจะเสี่ยง เจ้าหน้าที่อาสากู้ภัยก็ต้องป้องกันตัวเองไว้ก่อน ทำให้ต้องใช้ชุด PPE ทุกวัน ไม่เฉพาะแต่ทีมรับผู้ป่วย ทีมเก็บศพ ก็ต้องสวมใส่ชุด PPE เช่นกัน ในเคสที่สุ่มเสี่ยง

รองผู้จัดการมูลนิธิร่วมกตัญญู ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้มูลนิธิซื้อชุด PPE หน้ากากอนามัยN-95 ไว้บ้าง แต่คาดว่าจะมีให้เจ้าหน้าที่ใช้ได้ไม่เกิน 1 เดือนและยังหาซื้อใหม่มาเติมไม่ได้ บางกรณีต้องให้เจ้าหน้าที่ดัดแปลงใช้เสื้อกันฝนแทน

อภ.จ่อเจรจาจีน นำเข้า “ชุด PPE-หน้ากาก N95” กระจาย รพ.รักษาผู้ป่วยโควิด-19!!

ด้าน นพ.สัญชัย ชาสมบัติ รองเลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เปิดเผยถึง ความพร้อมการรับมือเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินพบปัญหาอุปกรณ์การแพทย์ไม่เพียงพอ แต่เข้าใจได้ เพราะทุกหน่วยงานทางการแพทย์ต้องการใช้หมด แต่สิ่งที่ดำเนินการขณะนี้คือ จัด อบรมอาสาสมัครกู้ภัย ใช้ชื่อว่า “ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ SCOT (Special COVID-19 Operation Team)”  เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งมอบชุดป้องกันตนเอง Face Shield ,Mask ,PPE,ถุงมือ,แอลกอฮอล์เจลล้างมือ แก่ทีม ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษ SCOT ทุกทีมอย่างเพียงพอ ขณะนี้มี 52 ทีมอบรมเป้าหมายคือ 100 ทีม เพราะคาดการณ์ว่า ภายในเดือนเมษายนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้น แพทย์-พยาบาลที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ

สำหรับสถานการณ์ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน ไม่เฉพาะกู้ภัย ปัญหาหนักสุดอยู่ที่กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ บุคลากรทางการแพทย์ โดยก่อนหน้านี้ ปรากฎข้อมูลว่า  ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแห่งใด ออกมาโพสต์พูดสถานการณ์ขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน และรับบริจาค จะถูกกระทรวงสาธารณสุขต่อสายตรงมาตักเตือนวันนี้ เรื่องนี้มีคำอธิบายจากนพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ที่ร่วมแถลงข่าวภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 กับกระทรวงสาธารณสุขโดยปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง  และไม่เคยปิดกั้นบุคลากรทางการแพทย์ในการแสดงความเห็นหรือขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้         

โลกแฟชั่นพร้อมใจช่วยโควิด-19

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ