แพทย์รามาฯ เชื่อ โควิด-19 ระบาดยาว 1-2ปี
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้น ประเทศไทยเริ่มพบผู้ติดเชื้อคนแรกในประเทศ กลางเดือนม.ค. หมายความว่าจนถึงตอนนี้ โควิด-19 แพร่ระบาดในประเทศไทยมาแล้วกว่า 2 เดือน และยังไม่มีทีท่าว่าการระบาดจะยุติลงเมื่อไหร่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดวิทยา มองว่า การระบาดน่าจะกินเวลาต่อเนื่อง 1-2 ปี

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 3 เม.ย. 63
อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 3 เม.ย. 63
กราฟแสดง 3 ฉากทัศน์การระบาดของโควิด-19 ที่กรมควบคุมโรคจัดทำขึ้น ก่อนหน้านี้ สะท้อนว่า โควิด-19 จะระบาดไปเป็นเวลานานแค่ไหน ประชาชนสามารถเลือกได้ ด้วยการช่วยกันเว้นระยะห่างทางสังคมและมาตรการต่างๆที่ภาครัฐแนะนำ
ผศ.นพ.บวรศม ลีระพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันสาขาระบาดวิทยา และนักวิจัยระบบสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลให้ข้อมูลว่า หลังประชาชนร่วมกันเว้นระยะห่างทางสังคม ฉากทัศน์แรกที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อ 16.7 ล้านคน จะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยแล้ว
ส่วนฉากทัศน์ที่ 2 ที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9.9 ล้านคน โดยตัวเลขจะสูงขึ้นในช่วง ปลายปี 2563 จนถึง ต้นปี 2564 และ ฉากทัศน์ที่ 3 ที่จะมีผู้ติดเชื้อ 4 แสนคน แต่การระบาดของโรค จะทอดยาวไปจนปลายปี 2564 ยังมีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 โมเดล นั่นหมายความว่า ไทยอาจต้องอยู่กับโรคโควิด-19 ไปอีกอย่างน้อย 1- 2ปี หรือจนกว่าจะมียารักษาโรค หรือ วัคซีน ป้องกัน
พบหญิงโดยสารขบวนรถไฟไม่สวมหน้ากาก ถ่มน้ำลายใส่ จนท.
ส่วนที่มีการเปิดเผยว่าตามหลักการระบาดวิทยา โรคโควิด-19 มีระยะเวลา ฟักตัว 14 วัน และ แพร่เชื้อ 7 วัน รวมเป็น 21 วันสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ผศ.นพ. บวรศม ระบุว่า ในทางปฎิบัติไม่สามารถทำได้ 100% เพราะ การแพร่เชื้อมีโอกาสเกิดขึ้นต่อเนื่อง แม้แต่ในครัวเรือน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งจะเห็นว่าแม้ปิดเมืองก็ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ต่ออีกระยะหนึ่ง รวมถึง ขณะนี้ โควิด-19 ไม่ใช่โรคประจำถิ่นในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว แต่เป็นโรคระบาดทั่วโลก การปิดเมืองเพื่อป้องกันการระบาดของโรค จึงไม่ใช่ทางออกเดียวที่ควร แต่ควรมีมาตรการอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะ หากปิดเมืองอย่างเดียว เมื่อเปิดเมืองใหม่การแพร่ระบาดก็มีโอกาสแพร่ระบาดใหม่ได้เช่นกัน
ด้านนายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะรุนแรงแค่ไหน ท้ายที่สุด รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในมิติสาธารณสุข และ มิติเศรษฐกิจ สังคม เนื่องจากปัจจุบัน งบประมาณไม่เพียงพอกับการเตรียมพร้อมรับมือโควิด-19
สาเหตุที่มองว่า ต้องกู้เงิน แน่นอน เนื่องจาก นโยบาย แจกเงิน 5000 บ. 3 เดือน ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ว่า จากข่าวที่ปรากฎ คาดการณ์ว่า รัฐทำงบกลางที่เหลือ 45,000 ล้านบาท มาใช้จ่ายให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งจากเดิมกำหนดว่า จะจ่ายให้แรงงาน 3 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่า จะใช้เงินครบ 45,000 ล้านบาท ในเวลา 3 เดือน แต่หลังมีแรงงานนอกระบบ ลงทะเบียนจำนวนมาก รัฐเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเป็น 9 ล้านคน หมายความว่า รัฐจะใช้เงินงบกลาง 45,000 ล้านบาท หมด ใน 1 เดือน
อบต.คลองสามพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ หลังผู้ป่วยโควิดเสียชีวิต
ส่วนตัวเลขเงินที่รัฐบาลต้องกู้จะสูงมากน้อยแค่ไหน นายวิโรจน์ ประเมินว่า หากไทยต้องเผชิญ สถานการณ์โควิด-19 ไปอีก 1-2 ปี มี 2 โมเดลที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ การแพร่ระบาดวิกฤตหนักในระยะ3-6เดือนแรก แนวทางนี้ รัฐบาลจะต้องหาเงินเพิ่มเติม ประมาณ 1 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้ นายวิโรจน์ คาดการณ์มาจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยระบุว่า GDP ในปี 2563 มีโอกาสติดลบสูงถึง -5.3% ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 8-9 แสนล้านบาท แต่หากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มีช่วงที่วิกฤต 1-2ปี อาจต้องใช้เงินมากถึง 2 ล้านล้านบาท
เมื่อถามว่า การท้ายที่สุด ไทยต้องกู้เงิน ควรกู้เมื่อใดถึงจะเหมาะสม นายวิโรจน์ ระบุว่า การมีเงินในมือถือว่าเป็นเรื่องดีกว่า เพราะ เมื่อออกมาตรการใดมา รัฐสามารถใช้เงินได้ทันที แต่ก็ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย และต้องมีความรับผิดชอบ
นายวิโรจน์ ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีความรุนแรงคิดเป็นครึ่งหนึ่งของวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งหลังกู้เงินมา ไทยต้องใช้เวลาอีก3-6ปี ในการคืนเงิน ขณะที่สภาพเศรษฐกิจ หลังจากนี้ก็จะซบเซาต่อเนื่อง เพราะ ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และ การส่งออก
เปิดผลทดสอบฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 หวังใช้ใหม่หลังขาดแคลน!!
การปิดเมืองเพื่อป้องกันการระบาดของโรค จึงไม่ใช่ทางออกเดียวที่ควร แต่ควรมีมาตรการอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะ หากปิดเมืองอย่างเดียว เมื่อเปิดเมืองใหม่การแพร่ระบาดก็มีโอกาสแพร่ระบาดใหม่ได้เช่นกัน
ด้านนายวิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI วิเคราะห์ว่า ไม่ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะรุนแรงแค่ไหน ท้ายที่สุด รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในมิติสาธารณสุข และ มิติเศรษฐกิจ สังคม เนื่องจากปัจจุบัน งบประมาณไม่เพียงพอกับการเตรียมพร้อมรับมือโควิด-19
สธ.ย้ำผู้ป่วยโควิด-19 ต้องอยู่รพ. ห้ามให้กลับบ้าน ลั่นการรักษาไม่แบ่งแยกใครวีไอพี
สาเหตุที่มองว่า ต้องกู้เงิน แน่นอน เนื่องจาก นโยบาย แจกเงิน 5000 บ. 3 เดือน ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ว่า จากข่าวที่ปรากฎ คาดการณ์ว่า รัฐทำงบกลางที่เหลือ 45,000 ล้านบาท มาใช้จ่ายให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งจากเดิมกำหนดว่า จะจ่ายให้แรงงาน 3 ล้านคน ซึ่งเท่ากับว่า จะใช้เงินครบ 45,000 ล้านบาท ในเวลา 3 เดือน แต่หลังมีแรงงานนอกระบบ ลงทะเบียนจำนวนมาก รัฐเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเป็น 9 ล้านคน หมายความว่า รัฐจะใช้เงินงบกลาง 45,000 ล้านบาท หมด ใน 1 เดือน
ส่วนตัวเลขเงินที่รัฐบาลต้องกู้จะสูงมากน้อยแค่ไหน นายวิโรจน์ ประเมินว่า หากไทยต้องเผชิญ สถานการณ์โควิด-19 ไปอีก 1-2 ปี มี 2 โมเดลที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ การแพร่ระบาดวิกฤตหนักในระยะ3-6เดือนแรก แนวทางนี้ รัฐบาลจะต้องหาเงินเพิ่มเติม ประมาณ 1 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้ นายวิโรจน์ คาดการณ์มาจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยระบุว่า GDP ในปี 2563 มีโอกาสติดลบสูงถึง -5.3% ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 8-9 แสนล้านบาท แต่หากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มีช่วงที่วิกฤต 1-2ปี อาจต้องใช้เงินมากถึง 2 ล้านล้านบาท
4 กลุ่มอาชีพผ่านคัดกรองเบื้องต้น "รับเงินเยียวยาโควิด-19 5,000 บาท"
เมื่อถามว่า การท้ายที่สุด ไทยต้องกู้เงิน ควรกู้เมื่อใดถึงจะเหมาะสม นายวิโรจน์ ระบุว่า การมีเงินในมือถือว่าเป็นเรื่องดีกว่า เพราะ เมื่อออกมาตรการใดมา รัฐสามารถใช้เงินได้ทันที แต่ก็ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย และต้องมีความรับผิดชอบ
นายวิโรจน์ ยังวิเคราะห์ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มีความรุนแรงคิดเป็นครึ่งหนึ่งของวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งหลังกู้เงินมา ไทยต้องใช้เวลาอีก3-6ปี ในการคืนเงิน ขณะที่สภาพเศรษฐกิจ หลังจากนี้ก็จะซบเซาต่อเนื่อง เพราะ ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และ การส่งออก
"บางกอกแอร์เวย์ส" ส่งจดหมายขอบคุณผู้โดยสารร่วมฝ่าวิกฤตโควิด-19
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้