"ติดไวรัส ดีกว่าอดตาย" พบคนไร้บ้านเพิ่ม พิษเศรษฐกิจโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ท่ามกลางนโยบาย Social Distancing เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากโควิด-19 ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เข้าไม่ถึงหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง กลุ่มคนเหล่านี้มีรายได้จากการรับจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ รายวันเพื่อแลกอาหารประทังชีวิต เรากำลังพูดถึง “คนไร้บ้าน” พวกเขาอยู่อย่างไรในสถานการณ์นี้

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 3 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 3 เม.ย. 63

หญิงไร้บ้านพูดกับทีมข่าวพีพีทีวีด้วยน้ำเสียงสิ้นหวัง เธอใช้พื้นหญ้าหน้าสวนลุมพินีเป็นที่พักมาได้ 10 วันแล้วหลังถูกเลิกจ้างกระทันหันโดยไม่ได้รับเงินเดือน ระหว่างรอเงินเยียวยาจากประกันสังคม ห้องพักเธอก็ถูกยึดเพราะไม่มีเงินจ่าย จึงต้องออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนเป็นครั้งแรกด้วยเงินติดตัวเพียง 100 บาท

เธอไม่ใช่คนเดียวที่มาอยู่ใหม่ แต่ในบรรดาคนไร้บ้านกว่า 10 คนที่นี่ ทีมข่าวพีพีทีวีพบ 5 คน ที่ได้สถานะใหม่ในชีวิต เป็นคนไร้บ้านเพราะพิษเศรษฐกิจจากโควิด-19 แต่ไม่ว่าจะหน้าใหม่หรือหน้าเก่า สิ่งที่คนเหล่านี้กังวลมากกว่าการติดเชื้อไวรัส คือ การอดตาย จากงานรับจ้างรายวันที่หดหาย และแหล่งอาหารฟรีที่มีน้อยลง

เอาจริงๆ นะ กังวลนะกังวล แต่ก็ไม่ได้ว่าแบบ ขนาดนั้น ก็ไม่ได้กลัวจนแบบเว่ออะไรอย่างนั้น ใจจริงพี่ยังอยากเป็นโควิดเลยนะ เพราะอะไรรู้ไหม มันยังมีที่อยู่ไง คือโรงพยาบาลบาล อย่างน้อยที่โรงพยาบาลเขาคงไม่ปล่อยให้เราอดตาย”

ขณะที่ “วิทยา” อยู่ที่นี่มากว่า 10 ปี เขาบอกว่า ตัวเองยังโชคดีที่มีงานรับจ้างเหลืออยู่ แม้จะขายดอกไม้ไม่ได้เหมือนก่อน แต่หลายคนที่นี่ขาดรายได้ไปเลยหลังสถานประกอบกิจการถูกปิด แค่หาอาหารประทังชีวิตก็ลำบากแล้ว นับประสาอะไรกับหน้ากากอนามัย

อย่างผลกระทบก็มีแน่ก็คือว่า หนึ่ง จากผมเคยได้กับข้าววัดมาเป็นถุงใหญ่ ๆ เคยแจกมาตั้งแต่พนักงานรถไฟใต้ดินสามย่าน แบ่งเขาไปกิน ซึ่งหลวงพี่กำชับมาว่าอย่าไปขาย ก็แบ่ง ๆ เขามา จากถุงหิ้วใบใหญ่ ๆผมเหลือวันละ 4 ถุง” 

“สิ่งที่รัฐทำอยู่น่าจะดีแล้ว แต่อยากจะให้ไวยิ่งกว่านี้หน่อย อย่างเช่นหน้ากาก อยากจะให้เหมือนกับว่า บางคนที่รายได้น้อยจริง ๆ อยู่แบบนี้เขาไม่รู้ว่าจะไปรับแจกตรงจุดไหน คือเขาเข้าไม่ถึง แต่ว่าคนที่นอนอยู่จุดนี้เขาก็กลัว ไม่ใช่ไม่กลัว แต่ไม่รู้ว่าจะเข้าไปตรงจุดไหน”

พบหญิงโดยสารขบวนรถไฟไม่สวมหน้ากาก ถ่มน้ำลายใส่ จนท.

จากการสำรวจของ สสส. ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อช่วงกลางปี 62 ที่ผ่านมา พบว่าคนไร้บ้านที่อาศัยในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้านแบบเปิด มีจำนวน 2,719 คน ในจำนวนนี้ ประมาณ 1,100 คนอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร

 ส่วนใหญ่มีงานทำ แต่ว่าเป็นงานรายวันที่รายได้น้อย ไม่มั่นคง ทำให้ยากต่อการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น คนไร้บ้านกว่า 1 ใน 4 ไม่มีเอกสารแสดงตัว ทำให้ตกหล่นสิทธิ์การรักษาพยาบาล

ไม่ใช่ว่าคนไร้บ้านจะไร้การช่วยเหลือสิ้นเชิง เพราะยังมีเครือข่ายภาคประชาสังคม อย่างเช่น มูลนิธิกระจกเงาที่กำลังรับบริจาคหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือเพื่อไปแจกจ่ายให้กลุ่มคนเหล่านี้ แต่นี่อาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

เปิดผลทดสอบฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 หวังใช้ใหม่หลังขาดแคลน!!

สิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า “มันอาจจะต้องมีทีมหรือว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยในการสอดส่องกลุ่มคนไร้บ้าน เพราะว่าหากกลุ่มคนไร้บ้านมีใครที่มีภาวะเสี่ยงบ้างหรือยัง มีอาการที่อาจมีอาการป่วยบ้างหรือยัง ถ้ามีก็อาจจะโน้มน้าวเขา หรือว่าลองพาเขาเข้าไปสู่ระบบการตรวจ แต่ตอนนี้ไม่มีลักษณะของการทำแบบนี้เลย ก็เลยเป็นปัญหาในเรื่องของ ถ้าเขาเป็น มีคนเป็นคนนึง สมมุตินะ มันสามารถที่จะระบาดติดในหมู่คนในบ้านคนอื่น ๆ ได้”

ทางออกที่หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา เสนอ  คือ การส่องไฟฉายไปที่กลุ่มคนไร้บ้าน สอดส่องดูแลพวกเขาเหมือนคนทั่วไป ในฐานะประชาชนไทย ไม่ใช่คนที่ถูกลืม

4 กลุ่มอาชีพผ่านคัดกรองเบื้องต้น "รับเงินเยียวยาโควิด-19 5,000 บาท"

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ