กรมอุตุฯ แจง กมธ.ดีอีเอส เตรียมพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่าน แอปฯ-SMS  


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กมธ.ดีอีเอส เชิญ กรมอุตุฯ แจงความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ด้าน “อธิบดี” ยัน เตรียมพัฒนาระบบแจ้งเตือนผ่าน SMS และแอปพลิเคชั่น ย้ำ ต้องสร้างแพลตฟอร์มกลางเป็นของไทยเอง

วันนี้ (14 ส.ค.) น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมกมธ.ดีอีเอส ว่า ในการมีวาระพิจารณา การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาวาตภัยและอุทกภัยของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยมี น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เข้าชี้แจง ซึ่งจากการที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 7-8 ส.ค. ที่ผ่านมา กมธ. ได้ลงไปสำรวจสถานีกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร ซึ่งได้พบปัญหาความไม่พร้อมหลายๆอย่าง ทั้งด้านงบประมาณและอุปกรณ์ พบว่ามีอุปกรณ์บางอย่างเสียหาย ไม่พร้อมใช้งาน ซึ่งเราหวั่นว่าหากมีพายุ ซึ่งช่วงนี้เข้าสู่ช่วงหน้าฝนและมีมรสุมเข้า ถึงเวลาอาจจะเกิดการเตือนภัยกับประชาชนในพื้นที่ไม่ทันเวลา จะก่อให้เกิดความสูญเสียได้

กมธ.ดีอีเอส เตรียมพัฒนาเทคโนลยี แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความเสียหายปชช.

ด้านพ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะ รองประธานกมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปไกล ตนคิดว่าเราสามารถที่จะนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนได้ ซึ่งตนขอฝากไปยังกรมอุตุฯในการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยให้การแจ้งเตือนมีการสัมฤทธิ์ผลที่ดีขึ้น เพราะจะช่วยลดความเสียหายทั้งในชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมาก

ขณะที่น.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เราได้รับแจ้งจากสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพรว่า มีฟ้าลงทำให้ระบบมิกเซอร์ของเสียงเสียหายเท่านั้น แต่อุปกรณ์อื่นๆยังใช้การได้ตามปกติ ซึ่งจะทำให้การออกอากาศทางวิทยุเสียงไม่ชัดเจน ซึ่งทางกรมอุตุได้สั่งให้ดำเนินการแก้ไข โดยเรามีงบประมาณในการซ่อมอยู่แล้ว แต่อาจจะช้าเล็กน้อยเพราะต้องมีการเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการก่อน

กมธ.ดีอีเอส วาง 4 ยุทธศาสตร์ พัฒนาพื้นฐานดิจิทัล-ความปลอดภัยไซเบอร์

ทั้งนี้ทางกรมอุตุฯมีการออกอากาศรายงานสภาพอากาศผ่านวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์ และมีการประกาศแจ้งระวังภัยผ่านทางกระทรวงมหาดไทยอยู่แล้ว ส่วนวิทยุของกรมอุตุฯ คือการให้บริการแจ้งเตือนกับ ชาวบ้านที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือการออกอากาศเป็นภาษาท้องถิ่น เพื่อเป็นการอุดช่องโหว่เท่านั้น

นอกจากนี้ทางกรมอุตุฯกำลังพัฒนาระบบการแจ้งเตือนผ่าน SMS แก่ประชาชน รวมทั้งกำลังปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆพัฒนาระบบแอปพลิเคชั่น ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติด้วย แต่ทั้งนี้แอปฯ ดังกล่าวจะต้องมีรูปแบบที่หลากหลายสามารถแจ้งเตือนหลายอย่างในแอฟเดียวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนาแฟลตฟอร์มกลางของประเทศ ไม่ต้องพึ่งแฟลตฟอร์มของต่างประเทศ

กมธ.ดีอีเอส แนะ ปรับตัวสู่ Digital Startup เพื่อความอยู่รอด

 

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ