“ศักดิ์สยาม” เผย “บิ๊กตู่” เปิดมอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา–มาบตาพุด 24 ส.ค.นี้ พร้อมสร้างส่วนต่อขยาย สนามบินอู่ตะเภาเพิ่ม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ศักดิ์สยาม” เผย “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นประธานเปิดการใช้งาน คอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) 25 ส.ค.นี้ เผย แค่มีข่าวพิธีเปิด ราคายางพุ่งสูง ทำลายสถิติในรอบ 8 เดือน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 24 ส.ค.63 พล.อ.ประยทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมจะเดินทางไปเปิดการใช้งานโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยาย ช่วงพัทยา – มาบตาพุด อย่างเป็นทางการ โดยด่านทุกด่านพร้อมเปิดให้บริการ ประกอบไปด้วย ด่านห้วยใหญ่ ด่านเขาชีโอน และด่านมาบตาพุด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณรถมาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 36,000 คันต่อวัน ลดเวลาการเดินทางจาก มาบตาพุด – พัทยา ด้วยเวลาน้อยกว่า 30 นาที จึงเป็นถนนที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ ทำเงิน ทำทอง ให้กับพี่น้องประชาชน

เปิดด่านอู่ตะเภา ใช้ฟรี ถึงส.ค.63 มอเตอร์เวย์สาย 7 ส่วนต่อขยายพัทยา-มาบตาพุด

“โครงการได้ออกแบบงานระบบตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบระบบปิด คิดอัตราค่าผ่านทางตามระยะทางที่ใช้จริง ประกอบด้วย ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแบบเงินสด (MTC) และระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบอัตโนมัติ (ETC) ซึ่งในอนาคตสามารถพัฒนาสู่ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ตลอดสายทาง”

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กรมทางหลวง กำลังดำเนินการส่วนต่อขยาย ถึงสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีระยะทางเพิ่มเติมอีกประมาณ 7 กม. ทั้งนี้ เพื่อรองรับผู้โดยสารมาใช้บริการที่สนามบินอู่ตะเภาในอนาคต ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มเป็น 60 ล้านคนต่อปี รวมทั้งเติมเต็มโครงข่าย EEC อีกด้วย

ทั้งนี้ในวันที่ 25 ส.ค.63 หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จังหวัดระยอง พล.อ.ประยทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปที่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นประธานเปิดการใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP)เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ถือเป็นการปักหมุดโครงการนี้ ในประเทศไทย

“เมืองการบิน” จุดเปลี่ยนยกระดับการท่องเที่ยวไทย

รมว.คมนาคม กล่าวว่า จากความร่วมมือระหว่าง กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ช่วยกันผลิตคิดค้นตามโครงการ นำยางพารามาใช้ในประเทศ จนประสบความสำเร็จ ผ่านการทดสอบของสถาบัน National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) ประเทศเกาหลีใต้ ในมาตรฐานระดับโลก สำหรับความปลอดภัยในด้านการจราจร ถือเป็นความสำเร็จของนโยบาย Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน

ในพิธีจะมีนิทรรศการเสมือนจริง ในการสาธิต ขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด ตั้งแต่การผสมยาง การขึ้นแบบ การอบ จนถึงการทาสีอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด พร้อมรับชมการติดตั้งบนถนนจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าใช้เวลารวดเร็ว ใช้เพียง 1 ช่องทาง ในการทำงานเท่านั้น”

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า โครงการในช่วง 3 ปีแรกจะมีการใช้ยางพาราจำนวนไม่น้อยกว่า 1.007 ล้านตัน เกษตรกรชาวสวนยางพารา จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท และในช่วงปีที่ 3 วัสดุยางพาราจะเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งาน ในปีต่อไปจึงต้องใช้ยางพารา มาผลิตวัสดุยางพาราใหม่ หมุนเวียนไปทุก ๆ ปี ดังนั้นจึงจะทำให้เป็นการสร้างเสถียรภาพยางพาราอย่างยั่งยืน ”นายศักดิ์สยาม กล่าว

"ครบ 3 ปี จะต้องเปลี่ยน เฉพาะ Rubber Fender 1/3 เพราะ Rubber Fender มีอายุใช้งานกลางแจ้ง ได้ครั้งละ 3 ปี ซึ่งจะทำ ให้ ต้องมีการสร้าง Rubber Fender ทดแทนทุกปี เริ่มจากปี 2566 เป็นต้นไป ซื่งจะต้องใช้น้ำยางดิบ ปีละประมาณ 3.5 แสนตัน ในการผลิต Rubber Fender สำหรับ Concrete Barriers เมื่อ ดำเนินการติดตั้งแล้ว สามารถใช้เป็น อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนได้ตลอดไป"รมว.คมนาคม กล่าว

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังได้ค้นพบว่า วัสดุที่ทำจากยางพารา ในแต่ละปี มีการนำไปเผาทิ้งจำนวนมาก เช่นยางรถยนต์ ส่งผลต่อมลภาวะทางอากาศ ก๊าซพิษ และฝุ่นผง จำนวนมาก รวมถึง นำแผ่นยางธรรมชาติหุ้มคอนกรีต (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ที่หมดอายุ โดยมีข้อเสนอให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกว่า "การรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ใช้ในการขนส่ง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ" (BCG) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ เพื่อจะเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม อีกด้วย ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษารูปแบบ ความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ทราบข่าวจาก นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคายางพารา 3 ชนิด ณ วันที่ 13 ส.ค.63 ได้แก่ น้ำยางสด ราคา 43บาท/กิโลกรัม ยางแผ่นดิบ 46.05บาท/กิโลกรัม ยางแผ่นรมควันชั้น3 ราคา 48.70บาท/กิโลกรัม ถือว่าราคายางขยับพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 8 เดือน โดยมีปัจจัยจากข่าวสารเรื่อง ที่นายกรัฐมนตรี จะไปเป็นประธานในเปิดโครงการคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญ ของราคายางที่จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

กรมทางหลวง เคาะ ค่าทางด่วนใหม่ 2 เส้นทาง บางปะอิน-นครราชสีมาและบางใหญ่-กาญจนบุรี

 

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ