ผลสอบคดี​ 'บอส'​ ชี้ 'เพิ่มพูน' ไม่รอด 'จักรทิพย์​'รับผิดชอบด้วย ชงคดีพิเศษให้ดีเอสไอ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือคดีที่นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ขับรถชนด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิต

"นายวิชา มหาคุณ" เผยแพร่รายงานบทสรุป การตรวจสอบข้อเท็จจริง ความยาว 7 หน้ากระดาษ ระบุอักษรย่อชื่อ ระบุตำแหน่งบุคคลที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสอบและพิจารณาโทษทางวินัย และอาญาฯ

ไม่รู้ 'วรยุทธ อยู่วิทยา' คือใคร! 'เพิ่มพูน​ ชิดชอบ'​ ยันพิจารณาคดีตามกระบวนการ

ตอนหนึ่ง ระบุว่า คณะกรรมการเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการ แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ) ในการสั่งไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการมีความบกพร่อง เนื่องจากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ฟ้องของนาย น. ด้วยความรอบคอบ การอ้างว่าการออกคำสั่งเกิดจากการพิจารณาสั่งการตามความห็นของเจ้าพนักงานตำรวจตามลำดับชั้นและเข้าใจว่าเป็นการสั่งคดีความผิดเกี่ยวกับจราจรธรรมดาทั่วไปนั้น เป็นข้ออ้างที่คณะกรรมการเห็นว่าฟังไม่ขึ้น

ในขณะที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา) ก็ไม่อาจปฏิเสธ ความรับผิดชอบในฐานะผู้มอบอำนาจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจและให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 การมอบอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่ชาติโดยมิได้มีการกำกับดูแลติดตาม ผลการปฏิบัติราชการในคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเช่นนี้ เป็นความบกพร่องที่ทำให้เกิดผลเสียหาย แก่การบริหารราชการแผ่นดิน และกระทุบต่อความศรัทธาขององค์กร

จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งปวง คณะกรรมการเห็นว่า การตั้งข้อหา การสอบสวน การร้องขอความเป็นธรรม การกลับคำสั่งฟ้องเป็นสั่งไม่ฟ้อง การไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ เป็นขบวนการดำเนินคดีที่เชื่อได้ว่ามีการร่วมมือสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการ ยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งมีการสมยอมกันโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงให้ผู้ต้องหาหลุดพันจากความรับผิดในทางอาญาทั้งในชั้นพนักงานสอบสวนและในชั้นพนักงานอัยการ กระบวนการทั้งสิ้นนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่646-647/2510 คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 6446/2547 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 9334/2538 ที่ได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐนแล้ว คณะกรรมการจึงมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้

1. ต้องเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องในข้อหาที่ยังไม่ขาดอายุความ โดยเฉพาะข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษ ข้อหาขับขี่รถในขณะเมาสุรและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

2.จะต้องมีการดำเนินกรทางวินัยและทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่น ที่ร่วมในขบวนการนี้ คือ

2.1 พนักงานสอบสวนซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนวน

2.2 พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

2.3 ผู้บังคับบัญชาซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่

2.4 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่

2.5ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งแทรกแชงการปฏิบัติหน้าที่

2.6ทนายความซึ่งกระทำผิดกฎหมาย

2.7 พยานซึ่งให้การเป็นเท็จ

2.8ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนในการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว

คณะกรรมการเห็นว่า พันตำรวจเอก ธ. และรองศาสตราจารย์ ส. ได้สมัครใจให้การเป็นประโยชน์โดยเฉพาะพยานหลักฐานทางนิติวิทยศาสตร์ จึสมควรกันไว้เป็นพยานและให้ความคุ้มครอง พยานในการดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลตามข้อ 2.1 ถึง 2.8

3.จะต้องมีการดำเนินการทางจริยธรรม จรรยาบรรณ มรรยาท โดยหน่วยงานหรือองค์กร วิชาชีพที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่วตามข้อ 2.1 ถึง 2.8 อย่างจริงจังและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง

4.สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มอบอำนาจต้องกำกับ ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจให้ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม หากผู้บังคับบัญชา

ละเลยให้ถือว่าเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่

'วิชา'​ เผย​ 'จักรทิพย์'​ รับผิด​ ไม่ตรวจงาน​ 'เพิ่มพูน'ไม่ฟ้อง​ 'บอส'​ ให้สัญญาหาช่องกลับผลคดี!

5.เนื่องจากคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยละเอียดต่อไป ในชั้นนี้ คณะกรรมการเห็นว่าสมควรเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย และระเบียบในประเด็นต่อไปนี้

 - แก้ไขเพิ่มติระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา ของพนักงานอัยการ ในเรื่องการร้องขอความเป็นธรรม โดยกำหนดให้การร้องขอความเป็นธรรม ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาต้องมาร้องด้วยตนเอง การร้องขอความป็นธรรมจะต้องระบุเหตุและพยานหลักฐานให้ครบถ้วน การร้องขอความเป็นธรรมเกินกว่าหนึ่งครั้งจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยนำเสนอมาก่อน

- แก้ไขเพิ่มเติมระเบีบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการมอบอำนาจ โดยกำหนดให้การมอบอำนจให้รองอัยการสูงสุดพิจารณาเรื่องขอความเป็นธรรมและการมอบอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องต้อง เป็นการมอบให้แก่รองอัยการสูงสุดต่างคนกัน และไม่ว่าจะสั่งยุติเรื่องหรือสั่งให้ความเป็นธรรมตามการร้องขอ อธิบดีอัยการหรือรองอัยการสูงสุดผู้มีอำนาจต้องรายงานให้อัยการสูงสุดทราบทุกกรณี

- วางระเบียบในการมอบอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นไป มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติฯ และในกรณีที่สั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของอัยการ ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทราบทุกครั้ง

-แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความ ในทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา และให้ฟ้องคดีโดยไม่ต้องมีตัวผู้ต้องหได้และมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ

อนึ่ง เนื่องจากการดำเนินการของคณะกรรมการมีระยะเวลาที่จำกัด ประกอบกับมีพยานหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลและพยานเอกสารเป็นจำนวนมาก

จึงเห็นควรที่จะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ส่งเรื่องนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการ ป.ป.ช คณะกรรมการ ป.ป.ท.คณะกรรมการ ป.ป.ง. คณะกรรมการอัยการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ เพื่อให้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป กับเห็นสมควรดำเนินการให้คดีอาญาในเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นัดหมายสื่อมวลชนแถลงข่าวเรื่องนี้ในเวลา 10.30 น.วันนี้( 2 กันยายน 2563)

เผยเบื้องหลังนำ 2 พยานพลิกคดี“บอส อยู่วิทยา” เข้าสำนวนผ่านกมธ.สนช.

 

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ