ซึ่งแนวทางการจ้างงานเด็กจบใหม่ 3 กลุ่ม ที่ ศบค. เสนอ คือ การจ้างงานเด็กจบใหม่ 3 กลุ่ม เบื้องต้น รัฐจะช่วยสนับสนุนเงินเดือนให้ 50% แต่ไม่เกิน 7,500 บาท เพื่อช่วยให้เกิดการจ้างงานและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ
โดยเป็นกลุ่มที่มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 25 ปี และสำเร็จการศึกษาในปี 2562 – 2563 ทั้งในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 260,000 คน วงเงินรวม 2.3 หมื่นล้านบาท ในส่วนของนายจ้าง ต้องอยู่ในระบบประกันสังคม
โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงินสมทบให้กับนายจ้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2563 – ตุลาคม 2564
ซึ่งอัตราค่าจ้างแบ่งตามวุฒิการศึกษา คือ ปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน ปวส. 11,500 บาทต่อเดือน และ ปวช. 9,400 บาทต่อเดือน รัฐบาลจะสนับสนุนเงินค่าจ้างร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม หากไปดูสถานการณ์การว่างงานช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ตามข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า สถานการณ์การว่างงาน พบผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นมาโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 7.5 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.95 เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราการว่างงานในช่วงปกติ และเป็นอัตราการว่างงานสูงที่สุดตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2552 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 64.2 เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำมาก่อน และมาจากสถานที่ทำงานเลิก หยุด ปิดกิจการ หรือหมดสัญญาจ้าง ส่วนผู้ว่างงานในช่วง 3 เดือนที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีทั้งสิ้น 3.6 แสนคน ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ว่างานทั้งหมด ( ร้อยละ 55.4)
เตือน บัณฑิตจบใหม่ปี 64 เสี่ยงตกงานถาวร เกือบ 500,000 คน
ขณะที่ สถานการณ์การจ้างงานในไตรมาสสอง ปี 2563 ปรับตัวลดลง ผู้มีงานทำจำนวนทั้งสิ้น 37.1 ล้ำนคน ลดลงร้อยละ 1.9 เป็นการลดลงทั้งผู้มีงานทำในภาคการเกษตรกรรมที่ลดลงร้อยละ 0.3 และนอกภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 2.5
สำหรับสาขาที่การจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ ก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 6.3 การผลิตร้อยละ 4.4 โรงแรม/ภัตราคาร ร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการขอความร่วมมือในการปิดสถานประกอบการและจำกัดการเดินทาง ส่วนสาขาการขายส่ง/ขายปลีก ลดลงเล็กน้อย เพียงร้อยละ 1.0 เพราะยังเปิดดำเนินการได้บางส่วน ขณะที่การขนส่งและเก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากการรณงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้การเดินทางเพื่อซื้อสินค้าบริการลดลง แต่การซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์รวมถึงการซื้ออาหารในรูปแบบบริการขนส่งระยะสั้น ที่ได้รับความนิยมสูงมาก
ส่วน สถานการณ์เด็กจบใหม่ สศช. คาดว่า แรงงานจบใหม่ในปีนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น ที่จะหางานยาก หรือไม่มีงานทำ ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย รวมถึงคาดการณ์โดยปีนี้จะมีคนไทยตกงานสูงถึง 2-5 ล้านคน แต่ขณะเดียวกันนี้ก็มีโอกาสใหม่ๆเกิดขึ้นด้วย
นอกจากนั้นแล้ว การแข่งขันในตลาดแรงงานยังทวีความดุเดือดขึ้น เพราะการแข่งขันของ “เด็กจบใหม่” ที่ต้องแข่งขันกับแรงงานในรุ่นเดียวกันเอง ที่เข้ามาเพิ่มในระบบเฉลี่ย 5 แสนคนต่อปี ผนวกกับแรงงานเดิมที่ตกงาน
นายกฯ ประชุม ศบศ. นัดแรก หารือ “เด็กจบใหม่ว่างงาน”
GEN Z กำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 มากที่สุด