สาระสำคัญของรายงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.แนวทางการป้องกัน แก้ไข เยียวยา ผู้เสียหาย และ 2.หาแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยข้อเสนอที่ที่สำคัญ ๆ มีหลายเรื่องด้วยกัน ทั้ง การตั้งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการเสนอให้เก็บดีเอ็นเอผู้กระทำผิดเป็นฐานข้อมูลเฝ้าระวังหลังพ้นโทษ
“เต้ มงคลกิตติ์” เสนอ รัฐบาล มีสวัสดิการบำบัดอารมณ์ทางเพศ แก้ปัญหาข่มขืน
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนวทางการฉีดยาปรับฮอร์โมนทางเพศผู้กระทำผิดคดีข่มขืนเพื่อให้อวัยวะเพศใช้การไม่ได้ ซึ่งประเด็นนี้มี ส.ส.ลุกขึ้นอภิปรายหลายคน ให้ความเห็นว่าแนวทางนี้จะเป็นการละเมิดสิทธิหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า การฉีดฮอร์โมนดังกล่าวไม่ใช่การฉีดให้ฝ่อแต่เป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดความรู้สึกทางเพศในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งวิธีการนี้ใช้ในเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม น.ส.พัชรินทร์ บอกว่า แนวทางที่เสนอนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทยซึ่งต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมว่าเหมาะสมกับสังคมไทยหรือไม่ ส่วนรายงานของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยทั้งรายงานและข้อสังเกตต่าง ๆ สภาฯ จึงส่งรายงานให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป
“สมศักดิ์” ไม่ขัด ส.ส.เสนอเพิ่มโทษข่มขืน ตัดอวัยวะเพศชาย
“มงคลกิตติ์” เสนอ เปิดสถานบริการทางเพศ-ร้านเซ็กซ์ทอย แก้ปัญหาข่มขืน
กมธ.แก้ปัญหาข่มขืน เสนอ ฉีดอวัยวะให้ฝ่อ คดีทางเพศ