
รองปลัดไอซีที แจงขั้นตอนแจ้งเตือน หลังเกิดแผ่นดินไหว
เผยแพร่
หลังจากมีรายงานว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ความลึก 10 กิโลเมตร มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจาก จ.ภูเก็ต 1,463 กิโลเมตร คาดว่ามีโอกาสเกิดสึนามิ เมื่อวานนี้ ( 3 มี.ค. 59 ) ก่อนจะมีประกาศยกเลิกเตือนภัยสึนามิในเขตประเทศไทย ต่อมา เหตุการณ์ที่ขึ้นมีประชาชนหลายคนบางส่วนยังวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
น.อ. สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บอกว่า สำหรับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย โดยที่ประเทศไทยนั้นไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด แต่พื้นที่ที่เกิด ถ้ามีผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นบริเวณประเทศอินโดนีเซียหรือที่ๆ ใกล้เคียงตรงบริเวณนั้น สำหรับประเทศไทยนั้นอยู่ห่างไกลเป็นพันกว่ากิโลเมตร จึงไม่ได้รับผลกระทบ แต่เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น หน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นต้องทำงานกันต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีผลต่อบ้านเราหรือไม่ อยากให้ทุกท่านฟังข้อมูลจากหน่วยงานของประเทศไทย เพราะตอนนี้ข่าวสารค่อนข้างเร็ว ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบต่อบ้านเราแต่อย่างใด
" สำหรับขั้นตอนการทำงานการแจ้งเตือนภัยในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อินเดีย หรือประเทศบริเวณนั้น เรามีอุปกรณ์ที่สามารถรับข้อมูลได้จากแหล่งเดียวกัน และทำงานร่วมกัน เป็นมาตรฐานสากลระหว่างประเทศ สำหรับเครื่องตรวจวัดของเรา เราได้รับมอบหมายจากสหรัฐอเมริกา ให้ดูแลซ่อมบำรุงจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะมีสัญญานเตือนให้กับประเทศอื่นๆ หลายครั้งที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ก็ได้รับการแจ้งเตือนจากตัวนี้ ซึ่งที่มีการบอกว่า อินโดนีเซียเป็นคนแจ้งเตือนนั้น คือ เขาก็ได้รับการแจ้งเตือนพร้อมเรา แต่เขาก็ต้องทำตาม ขั้นตอนของประเทศของเขา "
สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อได้รับข้อมูลมาแล้ว จะมี 4 ขั้นตอน คือ แจ้งข่าว เฝ้าระวัง เตือนภัย และยกเลิกสถานการณ์ โดยกรณีแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตราเมื่อวานนี้ อยู่ในขั้นตอนของการแจ้งข่าว ณ จุดเกิดเหตุ เมื่อแจ้งข่าวแล้ว ก็จะมีการเฝ้าระวัง และกระจายเป็นข้อความสั้นเพื่อให้รับรู็ และเพื่อเตรียมการรองรับและเตรียมการอพยพประชาชน ซึ่งเราไม่ได้บอกให้ประชาชนอพยพแต่อย่างใด จนรู้แน่ชัดว่า ว่าจะมีคลื่นมากระทบฝั่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้น เมื่อปี 11 เม.ย.55 ที่เคยเกิดขึ้น เราก็จะบอกหอกระจายข่าว สู่สถานีวิทยุโทรศัพท์ที่เป็นบรอสแคสในทันที เพื่อให้ประชาชนอพยพ ถ้าหากเป็นคลื่นสึนามิขนาดเล็ก เราก็จะยกเลิกสถานการณ์
น.อ.สมศักดิ์ วิเคราะห์ว่า ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 ตั้งแต่เกิดผลกระทบ การตื่นตัวของประชาชนนั้นดีมากขึ้น ใน 6จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล เรามีการเตรียมความพร้อม มีเส้นทางอพยพ มีการทำความเข้าใจ มากขึ้น ทำให้ครั้งนี้จะมีการรับฟังทำความเข้าใจอย่างดี ยกเว้นคนที่มาจากพื้นที่อื่น หรือ ชาวต่างชาติ ที่ไม่เข้าใจในพื้นฐาน ซึ่งในตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ได้มีการออกประกาศทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ให้ประชาชนที่ใกล้เคียงชายฝั่งให้เข้าใจสถานการณ์ ทำให้สถานการณ์ต่างๆ มีความเข้าใจดีขึ้น
สำหรับสถานการณ์ในบ้านเราถือว่าปกติ แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ก็จะมีอาฟเตอร์ช็อคตามมา เป็นปกติ แต่ไม่รุนแรงเท่าตอนเกิดเหตุแล้ว
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline