แม้จะเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงสัปดาห์ที่ต้องตัดสินใจ แต่ประชาชนจำนวนหนึ่ง ยอมรับอย่างไม่เขินอายว่า ยังไม่เข้าใจความหมายของคำถามพ่วงอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะการใช้คำว่า รัฐสภา มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี แตกต่างอย่างไรกับวิธีการเดิม
การตั้งคำถามพ่วง “นายวันชัย สอนศิริ” สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นหัวหอกในการนำเสนอ โดยอ้างเป้าหมายว่า ต้องการให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ วุฒิสภา หรือ สว. ที่มาจากการสรรหา สามารถลงคำแนนเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งได้ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีแรกของการคืนอำนาจ
เมื่อถามว่า ทำไม ไม่ใช่คำว่า สว. แทน รัฐสภา ซึ่งเข้าใจง่ายกว่า ผู้มีบทบาทสำคัญชงคำถามพ่วงอย่างนายวันชัย ได้มีการชี้แจง และได้ยืนยันว่า การตั้งคำถามพ่วงลักษณะนี้ ไม่มีนัยยะซ่อนเร้น และเชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะทำความเข้าใจได้ทันก่อนวันที่ 7 สิงหาคม เพราะนอกจากจะไม่ใช่เรื่องซับซ้อน ก็ยังมีเวทีให้ข้อมูลและทำความเข้าใจ ที่สนช. จัดมาแล้วส่วนหนึ่ง และกกต. อยู่ระหว่างจัดเพิ่มเติม แม้การให้อำนาจ ส.ว.สรรหาเลือกนายกรัฐมนตรี จะเป็นของใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยก็ตาม
นิกร เลิศพิสิฐฐากูร รายงาน