เตือนภัยหลายโรคที่มากับคำว่า 'อ้วน'


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปัจจุบันภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน เป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง

นพ. จีรวัส ศิลาสุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไท 2 เปิดเผยว่า ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในปัจจุบัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนเป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก และอัตราการเสียชีวิตก็ยังคงสูงต่อเนื่อง

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ให้นิยามภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน ว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า ‘น้ำหนักตัวเกิน’ แต่ถ้ามีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า ‘เป็นโรคอ้วน’

สำหรับอ้วนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ เพื่อบอกความรุนแรงของภาวะหรือของโรคว่า ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก โดยระดับความรุนแรงมากตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก คือ ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป หรือตั้งแต่ 30 ขึ้นไป โดยเฉพาะสำหรับชาวเอเชียที่รูปร่างโดยเฉลี่ยมีขนาดเล็กกว่าชาวตะวันตก

ขณะที่ ‘ดัชนีมวลกาย’ คือ ค่าสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ว่าใครอ้วนหรือผอม ใครน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ค่า BMI คำนวณได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย   

นอกจากนี้ “Food Coma”อาการง่วงหลังกินที่ทำให้เราอ้วนลงพุง โดยร่างกายเราใช้แรงไปกับการย่อยอาหารเยอะและมีพลังงานให้ส่วนอื่นๆ น้อยลง ทุกครั้งที่เราทานอาหารจำนวนมาก เราจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ซึ่งเป็นระบบประสาทที่คอยรักษาสภาวะของร่างกายให้สมดุล ทำให้เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายของเราจะสั่งให้รีบย่อยอาหาร จึงส่งผลให้เลือกและพลังงานที่จะถูกนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ ของร่างกายน้อยลง ทำให้เรารู้สึกอยากที่จะพักผ่อน 

ขณะเดียวกัน ยังมีตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อร่างกายย่อยอาหารให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและซูโคส ทำให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายเราสูงขึ้น ร่างกายของเราจึงหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลในร่างกายไปเป็นไขมันลดระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ กรรมวิธีเหล่านี้ทำให้ร่างกายหลั่งสาร เซโรโทนิน สารซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความสงบจากคาร์โบไฮเดรต และสารเซโรโทนินส่งต่อไปยังต่อมไพเนียลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลางที่ช่วยการกระตุ้นสารเมลาโทนินอันเป็นสารแห่งการนอนหลับออกมาปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย เราจึงรู้สึกง่วงนอนแม้ในเวลากลางวัน

สำหรับวิธีการแก้ปัญหา Food Coma ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักๆ ใน 1 มื้อ ลดอาหารจำพวกแป้งย่อยยาก ของหวานและเครื่องดื่มรสหวานเติมน้ำตาล หันมารับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เช่น ข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลวีท, รับประทานผักและไขมันชนิดดีทดแทนการสร้างพลังงานและควรเคี้ยวให้ละเอียดเพื่อเก็บพลังงานสะสมในร่างกาย  และควรงดทำกิจกรรมที่ใช้ความคิด เช่น การประชุม การสัมมนา เปลี่ยนมาทำกิจกรรมเบาๆ ที่ได้ขยับเนื้อเขยื้อนตัวหรือมีการสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลา ร่างกายของเราก็จะรู้สึกตื่นตัวกลับมากระฉับกระเฉงพร้อมที่จะทำกิจกรรมทั้งงานและการออกกำลังกาย 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ