ผลวิจัย ชี้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกไม่ต้องพึ่งเคมีบำบัด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ข่าวดีสำหรับผู้หญิง เพราะล่าสุด แพทย์ในสหรัฐฯพบว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่แล้วไม่จำเป็นต้องพึ่ง “เคมีบำบัด” ที่ให้ผลข้างเคียงที่สุดแสนจะทรมาน

ตามปกติ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกแล้ว มักจะต้องรับยาคีโม เพื่อป้องกันการกลับมาของมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ยาเคมีบำบัด ไม่ได้ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงที่เซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติทั่วไปและการทำงานของอวัยวะอื่นๆในร่างกาย จึงมักทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แสนจะทรมานต่อผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง และชาตามปลายมือปลายเท้า

ล่าสุด ที่ประชุมใหญ่ของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในนครชิคาโก ของสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ มีเรื่องน่าตื่นเต้นเกิดขึ้น หลังมีการเปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้วิธีศึกษายีนของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงจะกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำอยู่ในระดับกลาง พบว่าร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ที่ผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว สามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้วิธีการรักษาด้วย “เคมีบำบัด” หรือ Chemotherapy ได้อย่างปลอดภัย โดยจะเปลี่ยนมารับการบำบัดโดยใช้ฮอร์โมนแทน   

ซึ่งอัตราการหายขาดจากโรค เมื่อเทียบระหว่างการใช้เคมีบำบัด กับการรักษาด้วยฮอร์โมน ก็อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน คือราว 93%

งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลมาจากการทดลองของทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จาก ศูนย์มะเร็งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในนครชิคาโก ซึ่งผ่านการรับรองจากสมาคมแพทย์เนื้องอกวิทยาแล้ว โดยประเทศอังกฤษจะประเดิมเริ่มใช้วิธีใหม่นี้กับผู้ป่วย นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ