เผยไทยมีนักดำน้ำ ผ่านหลักสูตรกู้ภัย “ในถ้ำ-ใต้น้ำ” เพียง 5 คน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

จากภารกิจค้นหา 13 ชีวิต ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จะสังเกตได้ว่านักกู้ภัยในถ้ำใต้น้ำชาวอังกฤษ ใช้ถังอากาศ 2 ถังติดข้างลำตัว นักกู้ภัยใต้น้ำไทยระบุว่าเป็นการติดถังแบบไซด์ เมาต์ ซึ่งต้องผ่านการอบรมหลักสูตรกู้ภัยใต้น้ำสากล ขณะที่ไทยมีแค่หลักสูตรดำน้ำแบบนันทนาการเท่านั้น

วันนี้ (6 ก.ค.61 ) นายไชยเชษฐ์ พัดสี ผู้เชี่ยวชาญด้านกู้ภัยใต้น้ำ 1 ใน 5 ผู้ผ่านหลักสูตรกู้ภัยในถ้ำใต้น้ำของไทย ระบุว่า การอบรมหลักสูตรกู้ภัยในไทยมีสวนมาก มีแค่ผิวน้ำ ไม่มีถึงระดับการกู้ภัยในถ้ำใต้น้ำ มีแต่คอร์สสอนดำน้ำแบบนันทนาการ เพียง 3 ระดับ คือ ระดับโอเพ่นความลึกไม่เกิน 18 เมตร ระดับแอดวานซ์ ความลึกไม่เกิน 30 เมตร และเรสคิว ที่จะสอนการช่วยเพื่อน บัดดี้ และช่วยตัวเองใต้น้ำ

ส่วนหลักสูตรกู้ภัยใต้น้ำที่สามารถดำในถ้ำได้จะอยู่ในหลักสูตรเรียกว่า PSD หรือ Public safety diving ซึ่งเป็นหลักสูตรสากล ในไทยมีนักดำน้ำเพียง 5 คนที่ผ่านหลักสูตรนี้ ซึ่งการกู้ภัยในถ้ำใต้น้ำต้องใส่ชุด dry suite เพราะน้ำในถ้ำช่วงกลางคืนจะเย็นมาก อาจเกิดอาการช็อกน้ำ และติดถังอากาศข้างลำตัว หรือ ไซด์ เมาต์ เพื่อสะดวกในการปลดถังอากาศมาไว้ข้างหน้าช่วงที่ผ่านช่องแคบ ปัจจุบันนายไชยเชษฐ์ เป็นครูสอนกู้ภัยใต้น้ำให้กับอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่กู้ภัย แต่หลักสูตรนี้มีใบอนุญาตที่ใช้ได้ในไทยเท่านั้น

ด้านนายพุทธคุณ ปรุงคณานนท์ ครูสอนดำน้ำที่ผ่านหลักสูตรกู้ภัยในถ้ำใต้น้ำอีกคน ของไทย บอกว่า หลักสูตรนี้ มีค่าใช้จ่ายในการอบรมเกือบ 1 แสนบาท โดยสถาบัน Emergency Response diving International หรือ ERDI จะสอนการดำน้ำกู้ภัยในที่มืด น้ำขุ่น น้ำเย็นมาก โดยว่าจ้างครูดำน้ำจากสหรัฐอเมริกา มาฝึกสอน

สำหรับในไทยขณะนี้ หลักสูตรกู้ภัยใต้น้ำ คือ UER ที่มีนายไชยเชษฐ์ เป็นผู้ฝึกสอน จะสอนการกู้ภัยในระดับดำน้ำจืด น้ำขุ่น ดำเวลากลางคืน แต่สอนการกู้ภัยในถ้ำ ไม่ได้

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ