สถาบันชี้วัดและประเมินสุขภาพของมหาวิทยาวอชิงตันในสหรัฐฯเปิดเผบผลการศึกษาที่ประเมินว่าเมื่อถึงปี 2040 หรืออีก 22 ปีข้างหน้า อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกจะอยู่ที่ 77. 7 ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ซึ่งอยู่ที่ 73.8 ปี
โดย สเปนจะเป็นประเทศที่ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อถึงปี 2040 นั่นคือ 85.8ปี ซึ่งในปี 2016 ชาวสเปนมีอายุขัยเฉลี่ย 82.9 ปีสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ขณะที่แชมป์ปัจจุบันคือญี่ปุ่นซึ่งประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ย 83.7 ปีในปี 2016 จะตกไปเป็นอันดับ 2 ในปี 2040 โดยมีอายุขัยเฉลี่ย 85.7 ปี
ส่วนประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับ 3 ในปี 2040 คือ สิงคโปร์ ที่ประชาชนจะมีอายุขัยเฉลี่ย 85.4 ปี ตามมาด้วย สวิตเซอร์แลนด์ที่มีอายุขัยเฉลี่ย 85 .2 ปี ส่วนอันดับ 5 มีสองประเทศคือ อิตาลี และ โปรตุเกส ซึ่งจะมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 84.5 ปีเท่ากัน
สำหรับประเทศไทยเมื่อถึงปี 2040 ประชาชนจะมีอายุขัยเฉลี่ย 80.2 ปีอยู่ในอันดับที่ 56 ร่วงลงจากอันดับที่ 52 ในปี 2016 ซึ่งคนไทยมีอายุขัยเฉลี่ย 77.5 ปี
ส่วนปัจจัยหลักที่จะมีผลกระทบต่ออายุขัยของประชาชนทั่วโลกตลอด 20 ปีข้างหน้า ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน น้ำตาลในเลือดสูง การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ส่วนมลพิษทางอากาศก็ส่งผลกระทบเช่นกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าสาเหตุดังกล่าวทำให้ ประเทศจีนเพียงประเทศเดียวมีผู้เสียชีวิตนับล้านคน
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้