งานวิจัยแพทย์ ชี้ “เด็กต่ำกว่า 6 ขวบ ไม่ควรนั่งจักรยานยนต์”
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษารายละเอียดพบว่า นอกจากผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่มีภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการไม่สวมหมวกกันน็อก หรือ หมวกนิรภัย ยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ เช่นกัน

ทีมข่าวพีพีทีวี ลงพื้นที่สำรวจย่านบางเขน พบผู้หญิงคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มีเด็กซ้อนท้ายไม่ได้สวมหมวกกันน็อก
เมื่อทีมข่าวได้สอบถาม จึงทราบว่า ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ผู้หญิงคนดังกล่าว จะขี่จักรยานยนต์รับส่งหลานวัย 5 ขวบเศษ โดยโรงเรียนอยู่ห่างจากบ้านพักไม่ถึง 1กิโลเมต ด้วยระยะทางที่ไม่ไกล ทำให้ตัดสินใจไม่สวมหมวกกันน็อก ส่วนหมวกกันน็อกที่พกมาด้วย จะหยิบขึ้นมาใช้ก็ต่อเมื่อพบตำรวจ
เหตุผลของหญิงคนดังกล่าวไม่ต่างจากครอบครัวอื่นๆ ที่ใช้รถจักรยานยนต์รับส่งบุตรหลานเดินทางไปกลับโรงเรียนใกล้บ้าน แม้ทุกคนจะรู้ดีว่า การไม่สวมหมวกกันน็อกให้กับตัวเองและเด็ก จะมีความผิดตามกฎหมาย และมีความเสี่ยงสูงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับบุตรหลาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจและเห็นความสำคัญของการสวมใส่หมวกกันน็อก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีความจำเป็นต้องใช้รพจักรยานยนต์ โดยมูลนิธิไทยโรดส์ สำรวจพบว่า มีเด็กเพียงร้อยละ 7 ที่ผู้ปกครองจัดหาหมวกกันน็อก สวมใส่ให้อย่างถูกต้อง
ด้าน นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ด้วยสรีระของเด็กเล็กเมื่อประสบอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซค์และไม่สวมใส่หมวกกันน็อก “มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ใหญ่” เพราะศีรษะของเด็กมีน้ำหนักมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนอื่นของร่างกาย ลักษณะคล้าย “ลูกแบดมินตัน” เมื่อเด็กกระเด็นจากรถ ศรีษะจะเป็นส่วนที่พุ่งไปกระแทกเป็นลำดับแรก
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้