ผู้ปกครอง งง! การบ้านลูกป.4 ยากเกินวัย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดกรณีผู้ปกครองออกมาบ่นถึงการบ้านของลูกๆ ที่มีความยากเกินวัย ล่าสุดมีเพจเพจเฟซบุ๊กรักลูกคลับ โพสต์ตัวอย่างการบ้านของลูกซึ่งกำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พร้อมตั้งคำถามถึงว่า การบ้านที่คุณครูสั่งนักเรียนยากเกินไปกว่าระดับที่เรียนอยู่หรือไม่

ตัวอย่างการบ้านที่แอดมินเพจรักลูกคลับนำมาโพสต์ ระบุ ทำไมการบ้านเด็กป.4 และขอความช่วยเหลือให้มาช่วยหาคำตอบของการบ้านข้อนี้ โดยแอดมินของเพจได้ให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่า การบ้านที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของวิชา health and physical  ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง หลักสูตร EP หรือ English Program

จากโพสต์จะเห็นคำถาม และคำตอบเป็นภาษาอังกฤษ โดยคำถามเป็นภาษาอังกฤษหากแปลเป็นภาษาไทยคือ ส่วนประกอบใดที่เป็นแผ่นบางอยู่นอกกระดูกกะโหลกศีรษะ

เทียบ "การบ้าน" เด็กไทยกับต่างประเทศ

สพฐ. วางแนวทางลดการบ้านทั่วประเทศ สอบเขียนบรรยาย

ส่วนตัวเลือกช้อยข้อเอ แปลว่า เยื่อหุ้มกระดูก ช้อยข้อบี แปลว่า กระดูกเนื้อโปร่ง และช้อยข้อซี แปลว่า กระดูกส่วนแข็ง

ถัดมาเพจเฟซบุ๊ก infectious ง่ายนิดเดียว ออกมาระบุคำตอบที่ถูกต้องคือข้อเอ คือ เยื่อหุ้มกระดูก พร้อมบอกว่า ตัวอย่างการบ้านที่เห็นอยู่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ หรือ อนาโตมี ที่นักศึกษาแพทย์จะใช้เรียน และถือเป็นคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์

สอดคล้องกับข้อมูลจากนายอรรถวิท ปัญญาภิญโญผล หรือ ครูบาส ติวเตอร์วิชาชีววิทยา ซึ่งระบุว่า การบ้านของเด็กป.4 คนนี้ ทั้งคำถาม คำศัพท์นั้นอยู่ในหลักสูตรของวิชา กายวิภาคศาสตร์ หรือ อนาโตมี ของนักศึกษาแพทย์ปี 2 และมองว่า หากเป็นการศึกษาภาคบังคับ ทุกคนต้องเรียนเหมือนกันหมด ถือว่ายาก ไม่เหมาะ แต่หากเป็นความสนใจส่วนบุคคลก็ไม่เป็นไร

ครูบาสยังระบุว่า  การเรียนวิทยาศาสตร์อย่างในชั้นประถมปลาย เช่น ป.4 หากต้องเรียนเรื่องอวัยวะ แบบเรียนที่เหมาะสม อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดลึก

ด้านรศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาติ กุมารแพทย์ด้านเด็กและวัยรุ่นอธิบายถึงผลกระทบของเด็กที่ต้องทำข้อสอบ หรือทำการบ้านที่ยากเกินวัยว่า ในความเป็นจริงจะมีเด็กแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พยายามแล้วก็พอทำได้บ้าง กับเด็กอีกกลุ่มใหญ่ๆ ที่ทำไม่ได้  โดยเมื่อต้องเจอกับการบ้านยากๆแบบนี้บ่อยเข้า ก็จะทำให้เด็กรู้สึกถอดใจ ท้อแท้ ไม่รู้จะเรียนไปทำไม รู้สึกตัวเองยิ่งเรียนยิ่งโง่ และเครียดจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

นพ.สุริยเดว ระบุว่า ในเด็กเล็กซึ่งเป็นวัยที่สมอง และเส้นใยประสาทความคิดสร้างสรรค์กำลังพัฒนา การมีแบบเรียน และการเรียนให้เด็กเน้นการท่องจำ ถือว่า ไม่ตอบโจทย์ และไม่ช่วยพัฒนาทักษะ ส่วนการออกข้อสอบ หรือ หากมีความจำเป็นต้องวัดผล ยืดหยุ่นให้ออกข้อสอบที่ยากได้ แต่ต้องอยู่ในลักษณะที่ไม่ยากจนเกินไป เป็นข้อสอบที่หากนักเรียนตั้งใจเรียนในห้องสามารถที่จะทำได้

ด้าน ผศ.ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความชี้แจงว่า การบ้านดังกล่าว เป็นเนื้อหาในหลักสูตรของอังกฤษ ที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติ เป็นเรื่องโครงสร้างร่างกายและกระดูกกับกล้ามเนื้อ ซึ่งมีตำราประกอบว่า กระดูกส่วนไหนเรียกว่าอะไร

เปิดใจ! พ่อจูงมือลูกเข้าคลินิก ขอร้องหมอช่วยสอนการบ้านแทน

ลึกล้ำเหนือคำบรรยาย! เด็กชาย ป.3 วาดภาพออกซิเจน ส่งการบ้านครู

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ