กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 ต.ค. 64 ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 56.172 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,442 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 16 แห่ง
กอนช. เผยสถานการณ์น้ำท่วม กลับสู่ภาวะปกติแล้ว 11 จังหวัด แต่ยังเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง 24 ชม.
อุตุฯ เตือนภัย ฉบับที่ 7 พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก”
บึงบอระเพ็ด อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯ ทับเสลา อางฯ กระเสียว อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ช่วงระหว่างวันที่ 6 –10 ต.ค.64 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม และน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
2. เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ลำตะเพิน จ.กาญจนบุรี และแม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% ของความจุ เสี่ยงน้ำล้นทางระบายน้ำล้น อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณท้ายน้ำ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน อ่างเก็บน้ำพุตะเคียน จ.กาญจนบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด จ.ราชบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ่างเก็บน้ำคลองหยา และอ่างเก็บน้ำคลองแห้ง จ.กระบี่
จากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่ามีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค.64 รวมทั้งพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 10 - 11 ต.ค.64 ส่งผลให้แม่น้ำมูลมีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 0.50-1.0 เมตร และตามที่ กอนช.คาดการณ์ว่ามวลน้ำสูงสุดจะไหลผ่านจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 16 - 20 ต.ค.64 โดยมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังระดับน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณริมแม่น้ำมูล ในเขต อ.เขื่องใน อ.เมือง อ.ดอนมดแดง อ.ม่วงสามสิบ อ.วารินชำราบ และ อ.สว่างวีระวงศ์
ทั้งนี้กรมชลประทานได้เตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลโดยตั้งศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการ ประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขและบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินและวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์อย่างทันท่วงที
น้ำชีทะลักท่วมฟาร์มหมู เร่งขนย้ายนับพันตัว